คำแนะนำสำหรับผู้แต่ง

การเตรียมบทความสำหรับวารสารวิจัยราชภัฏกรุงเก่า

สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

          วารสารวิจัยราชภัฏกรุงเก่า เป็นวารสารสื่อกลางในการเผยแพร่ความรู้ทั้งบทความวิจัยและบทความวิชาการในสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ซึ่งทางสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา บทความที่จะผ่านการพิจารณาตีพิมพ์จะต้องผ่านการพิจารณา จากผู้ทรงคุณวุฒิไม่น้อยกว่า 2 ท่าน บทความชุดนี้เป็นตัวอย่างในการจัดรูปแบบบทความเพื่อจัดพิมพ์ในวารสารวิจัยราชภัฏกรุงเก่า ผู้เขียนบทความสามารถจัดรูปแบบบทความตามตัวอย่างที่แสดงในบทความนี้ ซึ่งทางวารสารได้ทำการตั้งค่าขนาดหน้ากระดาษ รูปแบบหน้าแรก รูปแบบและขนาดตัวอักษร คำอธิบายสำหรับการเขียนบทความ วิธีการเขียนเนื้อเรื่อง รวมถึงเอกสารอ้างอิงรูปแบบ ตัวอักษรต่าง ๆ วิธีการใส่รูปภาพ ตาราง ผู้เขียนบทความสามารถดาวน์โหลดเอกสารชุดนี้ได้จากเว็บไซต์ของวารสาร หรืออีเมล์ติดต่อกองบรรณาธิการที่ อีเมล krungkao.arursjournal @gmail.com

1.คำแนะนำในการส่งผลงานเพื่อตีพิมพ์

     1.1 วารสารเปิดรับบทความวิจัยแบบเต็มรูปแบบ (Research Article) และบทความวิชาการ (Academic Articles) จากภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย โดยบทความดังกล่าวจะต้องไม่เคยเผยแพร่ในวารสารอื่นใดมาก่อน และเป็นข้อคิดเห็นของผู้ส่งบทความเท่านั้น    

     1.2 วารสารเปิดรับบทความวิจัย และบทความวิชาการ ในสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์    โดยครอบคลุม ด้านบริหารธุรกิจ ด้านการศึกษา ด้านรัฐศาสตร์ ด้านนิติศาสตร์ ด้านวัฒนธรรม สังคม เศรษฐกิจ และประวัติศาสตร์

     1.3 เกณฑ์การพิจารณาบทความ

     บทความจะผ่านการประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิในสาขานั้น จำนวน 3 ท่าน ซึ่งกองบรรณาธิการอาจให้ผู้เขียนปรับปรุงให้เหมาะสมยิ่งขึ้น และทรงไว้ซึ่งสิทธิ์ในการตัดสินตีพิมพ์ให้หรือไม่ก็ได้

2. บทความที่รับพิจารณาลงพิมพ์

     2.1 บทความวิจัย

          มีความยาวไม่ต่ำกว่า 8 หน้ากระดาษ แต่ไม่เกิน 15 หน้ากระดาษ B5 ประกอบด้วย ชื่อเรื่อง ชื่อผู้เขียน (Title) สถานที่ทำงาน (Work place of author & co-authors) การติดต่อผู้เขียน (Contact address of correspondence) บทคัดย่อ (Abstract) และคำสำคัญ (Keywords ไม่เกิน 5 คำ) โดยเนื้อหาดังกล่าวทั้งหมดข้างต้นต้องมีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

          บทความวิจัยเนื้อเรื่องจะประกอบด้วย 

          บทนำ

               - ความเป็นมาและความสำคัญของงานวิจัย

               - วัตถุประสงค์ของการวิจัย

               - ขอบเขตของการวิจัย

               - สมมติฐานการวิจัย (ถ้ามี)

               - กรอบแนวคิดในการวิจัย (ถ้ามี)

          วิธีดำเนินการวิจัย

          สรุปผลการวิจัย

          อภิปรายผล

          ข้อเสนอแนะ

          การอ้างอิงใช้แบบ APA

     2.2 บทความวิชาการ

          มีความยาวไม่ต่ำกว่า 8 หน้ากระดาษ แต่ไม่เกิน 15 หน้ากระดาษ B5 เป็นบทความที่รวบรวมหรือเรียบเรียงจากหนังสือ เอกสาร ประสบการณ์หรือเรื่องแปล เพื่อเผยแพร่ความรู้ในสาขาต่าง ๆ หรือแสดงข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์มีคุณค่าทางวิชาการ

          บทความวิชาการ มีความยาวไม่เกิน 15 หน้ากระดาษ B5 ประกอบด้วย ชื่อเรื่อง          ชื่อผู้เขียน (Title) สถานที่ทำงาน (Work place of author & co-authors) การติดต่อผู้เขียน (Contact address of correspondence) บทคัดย่อ (Abstract) และคำสำคัญ (Keywords ไม่เกิน 5 คำ) โดยเนื้อหาดังกล่าวทั้งหมดข้างต้นต้องมีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ         

          บทความวิชาการเนื้อเรื่องจะประกอบด้วย 

               - บทนำ

               - เนื้อหา

               - บทสรุป

               - การอ้างอิงใช้แบบ APA

  1. การส่งต้นฉบับ

     ผู้เขียนต้องส่งต้นฉบับบทความพร้อมกรอกแบบฟอร์มนำส่งบทความวิจัย/บทความวิชาการ   ซึ่งระบุวิธีการจัดส่งในเอกสารแบบฟอร์มดังกล่าว

  1. รูปแบบบทความวิจัยและการพิมพ์เนื้อหาของเรื่อง

     เพื่อความสะดวกในการแก้ไข ควรใช้โปรแกรม Microsoft Word for windows พิมพ์บนกระดาษ B5 โดยตั้งหน้ากระดาษดังนี้ ขอบกระดาษด้านบน – ล่าง 1.5 ซม. ขอบกระดาษด้านซ้ายและขวา 1.5 ซม.

     4.1 รูปแบบและขนาดอักษร

          ตัวอักษรทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษให้ใช้ตัวอักษรแบบ TH SarabunPSK สีดำเท่านั้นโดยกำหนดรูปแบบ ขนาด และรายละเอียดดังนี้

รูปแบบ (Types of texts)

บทความภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ

(ตัวอักษรแบบ TH SarabunPSK)

ขนาด (Size)

ตัวพิมพ์อักษร (Typeface)

ชื่อบทความทั้งภาษาไทยและอังกฤษ (Title)

18

ตัวหนา (Bold)

ชื่อผู้เขียน (Author & co-authors)

16

ตัวหนา (Bold)

การติดต่อผู้เขียน (Contact address of correspondence)

12

ตัวธรรมดา (Normal)

หัวเรื่องบทคัดย่อ (Abstract heading)

16

ตัวหนา (Bold)

บทคัดย่อและเนื้อเรื่องหลัก (Abstract & main texts)

14

ตัวธรรมดา (Normal)

หัวข้อคำสำคัญ (Keywords)

14

ตัวหนา (Bold)

หัวข้อเรื่องหลักและตัวเลข (Section heading & number)

16

ตัวหนา (Bold)

หัวข้อเรื่องรองและตัวเลข (Subsection heading & number)

14

ตัวหนา (Bold)

     4.2 หน้าแรก

          หน้าแรกของบทความจะประกอบด้วย ชื่อเรื่อง ชื่อผู้เขียนและผู้เขียนร่วม บทคัดย่อ และเชิงอรรถบ่งบอกตำแหน่งและสถานที่ทำงานของผู้เขียนและผู้เขียนร่วม ให้พิมพ์หน้าแรกทั้งแบบภาษาไทยและภาษาอังกฤษเรียงตามลำดับ

          4.2.1 ชื่อเรื่อง พิมพ์อยู่กึ่งกลางหน้ากระดาษ เริ่มจากชื่อภาษาไทยแล้วตามด้วยชื่อภาษาอังกฤษ  ขนาดและตัวพิมพ์อักษร และรายละเอียดไฟล์รูปแบบบทความ

          4.2.2 ชื่อผู้เขียน พิมพ์อยู่กึ่งกลางหน้ากระดาษ ไว้หลังชื่อเรื่อง และเว้น 1 บรรทัด ทั้งด้านบน และใต้ชื่อผู้เขียน ถ้ามีมากกว่า 1 คนให้พิมพ์คำว่า “และ” หน้าชื่อคนสุดท้าย ไม่ต้องใส่คำนำหน้าชื่อใด ๆ ทั้งสิ้น และให้ใช้ตัวเลขอารบิคพิมพ์แบบตัวยกต่อท้ายชื่อ เพื่อแสดงความแตกต่างของสถานที่ทำงานดังตัวอย่างประกอบหน้าแรก

           4.2.3 บทคัดย่อ (Abstract) ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ พิมพ์หัวเรื่องคำว่า “บทคัดย่อ” สำหรับบทคัดย่อภาษาไทย และ “Abstract” สำหรับบทคัดย่อภาษา-อังกฤษ โดยจัดให้อยู่กึ่งกลางหน้ากระดาษ สำหรับคำว่า “Abstract” เฉพาะตัวอักษร “A” เท่านั้นที่ใช้ตัวพิมพ์ใหญ่ ส่วนเนื้อความ ให้จัดพิมพ์เป็นแบบ 1 คอลัมน์ โดยบรรทัดแรกให้ย่อหน้า 1.5 ซม. และมีอย่างละย่อหน้าเดียว ทั้งนี้บทคัดย่อไม่ควรใส่เอกสารอ้างอิงใด ๆ ทั้งสิ้น และมีจำนวนคำไม่เกินอย่างละ 360 คำ

          4.2.4 คำสำคัญ (Keywords) ภาษาไทยและภาษา-อังกฤษ พิมพ์หัวเรื่องคำว่า “คำสำคัญ” โดยพิมพ์ไว้ใต้บทคัดย่อภาษาไทย เว้น 1 บรรทัด และจัดชิดซ้ายของคอลัมน์ คำสำคัญในแต่ละบทความควรจะมีประมาณไม่เกิน 5 คำ ให้พิมพ์หัวเรื่องคำว่า “Keywords” (เฉพาะตัวอักษร “K” เท่านั้นที่ใช้ตัวพิมพ์ใหญ่) โดยพิมพ์ไว้ใต้ บทคัดย่อภาษาอังกฤษ และให้ใช้ตัวอักษรภาษาอังกฤษตัวพิมพ์ใหญ่เฉพาะตัวแรกของคำแรกของแต่ละคำสำคัญเท่านั้น

          4.2.5 ตำแหน่ง และสถานที่ทำงาน ให้พิมพ์สถานที่ทำงานของผู้เขียนทุกคน โดยเรียงตามหมายเลข และ Email address จากชื่อผู้เขียน โดยอยู่ด้านล่างของหน้าแรก

     4.3 ส่วนอื่น ๆ ของบทความ

          เนื้อเรื่อง ได้แก่ บทนำ ขอบเขตการวิจัย วัสดุ-อุปกรณ์และวิธีการวิจัย/ทดลอง ผลการวิจัย/ทดลอง วิจารณ์/อภิปรายผล บทสรุป กิตติกรรม-ประกาศ (ถ้ามี) เอกสารอ้างอิง และภาคผนวก (ถ้ามี) โดยไม่ต้องเว้นบรรทัด เมื่อจะขึ้นหัวข้อใหม่ให้เว้น 1 บรรทัด การพิมพ์หัวข้อให้พิมพ์ชิดซ้ายของแต่ละคอลัมน์ ส่วนของเนื้อเรื่องให้ย่อหน้า 5 เคาะ

          การลำดับหัวข้อในเนื้อเรื่อง ให้ใส่เลขกำกับ โดยให้บทนำเป็นหัวข้อหมายเลขที่ “1.” และหากมีการแบ่งหัวข้อย่อย ก็ให้ใช้ระบบเลขทศนิยมกำกับหัวข้อย่อย เช่น 1.1, 1.1.1, 1.2, 1.2.1 เป็นต้น

     4.4 การจัดรูปภาพ ตาราง และการเขียนสมการ

          รูปภาพทุกรูปและตารางจะต้องมีหมายเลข และคำบรรยายอย่างชัดเจน

          4.4.1 รูปภาพ

               รูปภาพที่เตรียมควรมีขนาดความกว้างไม่เกิน 15 ซม. และความละเอียดที่เหมาะสม โดยตัวอักษรที่ปรากฏในรูปภาพจะต้องมีขนาดใหญ่สามารถอ่านได้สะดวก โดยทุกรูปภาพที่ใส่ไว้ท้ายบทความจะต้องมีการกล่าวอ้างในเนื้อบทความทุกรูปภาพ และรูปภาพทั้งหมดควรมองเห็นชัดเจนเมื่อบทความถูกพิมพ์ด้วยเครื่องพิมพ์

               การเขียนคำบรรยายใต้ภาพ ให้ใช้ TH SarabunPSK ขนาด 14 โดยพิมพ์ตัวหนาสำหรับหัวเรื่องและหมายเลขของรูป และพิมพ์ตัวธรรมดาสำหรับคำอธิบายรูปภาพ จัดพิมพ์ไว้กึ่งกลางคอลัมน์

               รูปลายเส้นของรูปภาพจะต้องเป็นเส้นสีดำ ส่วนรูปถ่ายควรจะเป็นรูปขาวดำที่มีความคมชัด รูปสีอนุโลมให้ได้ รูปภาพควรจะมีรายละเอียดเท่าที่จำเป็นเท่านั้น และ เพื่อความสวยงามให้เว้นบรรทัดเหนือรูปภาพ 1 บรรทัด และเว้นใต้คำบรรยายรูปภาพ 1 บรรทัด

          4.4.2 ตาราง

              ตารางทุกตารางจะต้องมีหมายเลข และคำบรรยายกำกับเหนือตาราง โดยปกติให้ใช้ตัวอักษร TH SarabunPSK ขนาด 14 Point โดยพิมพ์ตัวหนาสำหรับหัวเรื่องและหมายเลขของตาราง และพิมพ์ตัวธรรมดาสำหรับคำอธิบายตาราง ถ้ามีข้อมูลฟุตโน้ตด้านล่างของตารางให้ใช้ตัวหนังสือเป็นแบบเดียวกันหากแต่ขนาดตัวอักษรเป็น 12 Point ให้จัดพิมพ์ชิดซ้ายของคอลัมน์ เพื่อความสวยงาม ให้เว้นบรรทัดเหนือคำบรรยายตาราง 1 บรรทัด และเว้นบรรทัดใต้ตาราง 1 บรรทัด

      5.  เอกสารอ้างอิง

     การอ้างอิงใช้แบบ APA 7th (หัวข้อใช้ TH SarabunPSK 16 Point ตัวหนา) ทุกการอ้างอิงที่ปรากฏในข้อการอ้างอิง จะต้องมีในส่วนเอกสารอ้างอิงในเนื้อบทความ และห้ามใส่เอกสารอ้างอิงโดยปราศจากการอ้างอิงในเนื้อบทความ

      5.1. การอ้างอิงในเนื้อหา โดยอ้างอิงแบบนาม-ปี ระบุชื่อผู้เขียน ปีที่พิมพ์ และเลขหน้าเอกสารไว้ท้ายของ

ข้อความที่ต้องการอ้างอิง (TH SarabunPSK 14 Point)

    5.2. การอ้างอิงท้ายบทความ ทุกการอ้างอิงที่ปรากฏในเนื้อหาจะต้องมีในส่วนเอกสารอ้างอิงในเนื้อบทความและห้ามใส่เอกสารอ้างอิงโดยปราศจากการอ้างอิงในเนื้อบทความ การขึ้นบรรทัดที่สองให้เคาะเจ็ดเคาะ (TH SarabunPSK 14 Point)

ตัวอย่าง

หนังสือ

ชื่อผู้แต่ง./(ปีพิมพ์)./ชื่อหนังสือ/(พิมพ์ครั้งที่)./สำนักพิมพ์.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ไม่มี DOI

ภาษาไทย >> ชื่อผู้แต่ง./(ปีพิมพ์)./ชื่อหนังสือ./(พิมพ์ครั้งที่)./URL

บทความในหนังสือ

ชื่อผู้แต่ง./(ปีพิมพ์)./ชื่อบทหรือชื่อบทความ./ใน/ชื่อบรรณาธิการ/(บ.ก.), ชื่อหนังสือ/(น./x-xx)./สำนักพิมพ์.

บทความวารสาร

ชื่อผู้แต่ง./(ปีพิมพ์)./ชื่อบทความ./ชื่อวารสาร,/ปีที่(ฉบับที่),/หน้าแรก-หน้าสุดท้าย.

บทความในวารสารอิเล็กทรอนิกส์ (มีเลข DOI)

ชื่อผู้แต่ง./(ปีพิมพ์).ชื่อบทความ./ชื่อวารสาร,/เลขปีที่(ฉบับที่),/เลขหน้า./http://doi.org/เลข doi

 หนังสือพิมพ์และหนังสือพิมพ์ออนไลน์

ชื่อผู้แต่ง./(ปี,/วัน/เดือน)./ชื่อคอลัมน์./ชื่อหนังสือพิมพ์,/เลขหน้า.

วิทยานิพนธ์

ชื่อผู้แต่ง./(ปีที่เผยแพร่)./ชื่อวิทยานิพนธ์/(หมายเลข UMI หรือ เลขลำดับอื่น ๆ)/[วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต หรือวิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, ชื่อมหาวิทยาลัย]/ชื่อฐานข้อมูล.

เอกสารประชุมวิชาการ

ชื่อผู้แต่ง./(วัน,/เดือน,/ปี)./เรื่องที่ประชุม./ใน/ชื่อ/(ประธาน),/ชื่อการประชุม/[Symposium]./ชื่องานที่จัดประชุม,/สถานที่ประชุม

ข้อมูลสืบค้นที่ได้จากอินเตอร์เน็ต

ชื่อ-สกุลผู้เขียน./(ปี/วัน/เดือนที่เผยแพร่)./ชื่อบทความ./ชื่อเว็บไซต์./URL

การสัมภาษณ์

ชื่อผู้ให้สัมภาษณ์./(ปี, วัน เดือน)./ตำแหน่ง(ถ้ามี)./[บทสัมภาษณ์.]

วิธีเรียงการอ้างอิงให้หลักการเดียวกับการเรียงคำในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน