การศึกษาปัญหาการขาดเรียนของนักศึกษาในห้องปฏิบัติการทางภาษา มหาวิทยาลัยศรีปทุม

ผู้แต่ง

  • ณรงค์ชัย ปินทรายมูล คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม

คำสำคัญ:

การขาดเรียน, ห้องปฏิบัติการทางภาษามหาวิทยาลัยศรีปทุม, อุปกรณ์คอมพิวเตอร์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสาเหตุการขาดเรียนของนักศึกษาในห้องปฏิบัติการ ทางภาษามหาวิทยาลัยศรีปทุม ประชากรที่ใช้ในการวิจัยคือนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ในภาคเรียนที่ 2/2552 จำนวน 171 คน สุ่มเป็นกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย จำนวน 42 คน เครื่องมือที่ใช้เป็น แบบสอบถาม 2 ฉบับ คือ แบบสอบถามนักศึกษาที่ขาดเรียนทั่วไป แบบสอบถามสัมภาษณ์นักศึกษาที่ ขาดเรียนเป็นประจำและนักศึกษาที่ขาดเรียนเป็นครั้งคราว จากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ โดยการ หาค่าความถี่และร้อยละ

ผลการศึกษา พบว่า สาเหตุของการขาดเรียนซึ่งแบ่งออกเป็น 4 ด้าน ได้แก่ 1. สาเหตุด้านตัวผู้ เรียนเองเช่นติดเพื่อนชักชวน 2.ด้านการเงินเช่นไม่มีทุนทรัพย์ 3.ด้านกฎระเบียบในห้องปฏิบัติการ ทางภาษา เช่น กฎระเบียบเข้มงวดเกินไป อาจารย์เข้มงวด 4. อุปกรณ์และสิ่งแวดล้อม เช่น อุปกรณ์ ชำรุด คอมพิวเตอร์ไม่เพียงพอ ไม่ชอบโปรแกรมในห้องปฏิบัติการ สรุปแนวทางการแก้ไขปัญหาการขาดเรียนของนักศึกษา คือ 1. มหาวิทยาลัยมีการอบรมเป็น กลุ่มหรือรายบุคคลเกี่ยวกับผลเสียของการขาดเรียน 2. มหาวิทยาลัยขอความร่วมมือกับผู้ปกครองช่วย เหลือในการแก้ปัญหาการขาดเรียน 3. มหาวิทยาลัยมีโครงการอบรมครูปฏิบัติให้ปฏิบัติต่อนักศึกษา ทุกคนในแนวทางเดียวกันในเรื่องกฎระเบียบ 4. จัดเตรียมอุปกรณ์การเรียนให้สมบูรณ์

Downloads

Download data is not yet available.

References

จรัล นิลพลับ. (2541). แนวทางการพัฒนางานปกครองนักเรียน โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์เชียงใหม่.

ชูศักดิ์ ทองนา. (2542). การปรับปรุงงานปกครองนักเรียน-นักศึกษาบ้านใหม่ ตำบลหนองบัว อำเภอ ไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่.” การศึกษาค้นคว้าอิสระ ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหาร การศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ทัศนีย์ เจนจิจะ. (2541). ปัจจัยที่เกี่ยวกับการขาดเรียนของนักเรียนชาวเขาเผ่าม้ง โรงเรียนบ้านน้ำ สอด อำเภอทุ่งช้าง จังหวัดน่าน.

พัฒนะ สารวิทย์. (2548). การแก้ปัญหาในการเข้าชั้นเรียนไม่ตรงตามเวลาเรียนของนักเรียน ชั้น ปวช. วิทยาลัยเทคนิคชลบุรี.

ภิญโญ ขำประดิษฐ์. (2549). การแก้ปัญหาการขาดเรียนของนักเรียนชั้น ปวช. 2 วิชางานผลิตภัณฑ์ และโลหะแผ่น 1 วิทยาลัยเทคนิคชลบุรี.

บังอร สง่าวงษ์. (2549). การศึกษาสาเหตุ และแนวทางแก้ไขปัญหาการชาดเรียนของนักศึกษา โรงเรียนเทคโนโลยีสยาม.

ประสิทธิ์ สุวรรณมิสระ. (2550). การประเมินโครงการการแก้ปัญหาการขาดเรียน ออกกลางคัน เพราะอ่านหนังสือไม่ได้ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนด่านมะขามเตี้ยวิทยาคม.

มหศักดิ์ ร่วมรักษ์. (2540). แนวทางการพัฒนางานปกครองนักเรียน นักศึกษา โรงเรียนลำปางเทคโนโลยี. การค้นคว้าแบบอิสระ ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สมพร สุทัศนีย์. (2541). จิตวิทยาการปกครองชั้นเรียน.กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย

สุภาพ กาละปลูก. (2544). แนวทางการแก้ไขการขาดเรียนของนักเรียน นักศึกษา โรงเรียนลำปาง เทคโนโลยี.

สุวิกา สุทธิ. (2550). การขาดเรียนของนักศึกษา.วิทยาลัยการอาชีพนาทวี จังหวัดสงขลา.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2013-10-11

ฉบับ

บท

บทความวิจัย