การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning เรื่อง ชนิดของคำ เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

ผู้แต่ง

  • นาตยา มะเส็ง โรงเรียนเทศบาลเขาท่าพระ

คำสำคัญ:

การเรียนรู้แบบ Active Learning, ทักษะการอ่านและการเขียน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการในการพัฒนาการจัด การเรียนรู้แบบ Active Learning เรื่อง ชนิดของคำ เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียน 2) เพื่อร่างรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning เรื่อง ชนิดของคำ เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียน 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning เรื่อง ชนิดของคำ เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียน 4) เพื่อประเมินผลและถอดบทเรียนรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning เรื่อง ชนิดของคำ เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนเทศบาลเขา ท่าพระ ซึ่งได้จากการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) โดยสุ่มห้องเรียนมาจำนวน 1 ห้องเรียน คือ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 นักเรียนจำนวน 18 คน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning เรื่อง ชนิดของคำ เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียน แบบประเมินความเหมาะสมของรูปแบบ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบประเมินทักษะการอ่าน การเขียน และแบบประเมินความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติ t – test การวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า  1) การศึกษาข้อมูลพื้นฐานพบว่า ควรเร่งพัฒนาความรู้นักเรียนสาระที่ 1 การอ่านและสาระที่ 2 การเขียน เพื่อแก้ไขปัญหาอ่านไม่ออก ปัญหาการอ่านออกเสียงผิด ปัญหา การอ่านจับใจความสำคัญของเรื่องไม่ได้ และปัญหาทักษะการเขียน โดยใช้การเรียนแบบ Active Learning  2) รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning เรื่อง ชนิดของคำ เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียน ใช้รูปแบบ “PCAT Model” ประกอบด้วย (1) การเตรียมความพร้อมสำหรับการเรียนรู้ (Preparing : P)  (2) เรียนแบบร่วมมือ (Cooperative  Learning : C)  (3) การเรียนรู้แบบลงมือปฏิบัติจริง (Active Learning : A) และ (4) การถ่ายโยงความรู้ (Transportability Knowledge : T) การประเมินการกำหนดองค์ประกอบรูปแบบมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก และการทดสอบหาค่าประสิทธิภาพกับนักเรียน 30 คน พบว่ามีค่า 80.22/81.78   3) การทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning เรื่อง ชนิดของคำ เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนพบว่าค่าประสิทธิภาพ 82.64/83.70  4) การประเมินผลและปรับปรุงแก้ไขรูปแบบการจัดการเรียนรู้  (1) การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนพบว่ามีคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนเท่ากับ 11.61 และหลังเรียนเท่ากับ 25.11 และเมื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน พบว่ามีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01  (2) การประเมินทักษะการอ่าน การเขียน ในภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก  (3) การประเมินความพึงพอใจของนักเรียนในภาพรวมอยู่ในระดับมาก

References

Abu, F. (2019). The Development of Learning Management Model based on the Concepts of Active Learning to Develop Thai Reading and Writing Skills through Series of book, “Having fun with vowels” for Prathomsuksa 1 students, Bankayee 5 Municipal School. Academic Journal of Mahamakut Buddhist University Roi Et Campus, 9(2), 344-357. (in Thai)

Columbia University. (2017). Active Learning. New York : Sciences Teaching Center, Columbia University.

Panich, W. (2012). Methods for creating learning for students in the 21st century. Bangkok : Tathata Publication. (in Thai)

Promwong, C. (2011). Educational technology and communications. 4th Edition. Nonthaburi: Sukhothai Thammathirat Open University. (in Thai)

Pruettikul, S. (2015). Quality of Students derived from Active Learning Process. Journal of Educational Administration Burapha University, 6(2), 1-13. (in Thai)

Ruangsuwan, C. (2010). Active Learning. Chiang Mai : Faculty of Pharmacy, Chiang Mai University. (in Thai)

Sawekngam, W. (2016). Teaching and Learning Management by Active Learning Process. Lectures Material. Songkla : Faculty of Liberal Arts, Prince of Songkla University. (in Thai)

Silberman, M. (1996). Active Learning. Boston: Allyn & Bacon.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-29