การใช้ภาษาในการพาดหัวข้อข่าวหลังสถานกาณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19)ของหนังสือพิมพ์และสื่อออนไลน์ในช่วงเวลาปัจจุบัน พ.ศ. 2565
คำสำคัญ:
ความเปลี่ยนแปลงด้านภาษา, การใช้ภาษาในการพาดหัวข่าว นสพ.ออนไลน์, COVID-19บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.) เพื่อศึกษาวิเคราะห์การใช้ภาษาในการพาดหัวข่าวหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID) 2019 จากหนังสือพิมพ์และสื่อออนไลน์ในช่วงปัจจุบัน พ.ศ. 2565 และ 2.) เพื่อศึกษาความเปลี่ยนแปลงด้านภาษาของการใช้ภาษาในการพาดหัวข่าวจากหนังสือพิมพ์และสื่อออนไลน์ (COVID – 19) ในช่วงปัจจุบัน ผลการศึกษาพบว่า การพาดหัวข่าว การแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19) ของหนังสือพิมพ์ออนไลน์นั้นใช้ภาษาหลากหลายลักษณะ ได้แก่ การใช้คำทับศัพท์ที่ยังไม่มีการบัญญัติศัพท์ การใช้คำทับศัพท์ที่มีคำไทยใช้อยู่แล้วหรือมีการบัญญัติศัพท์แล้ว มีการใช้คำไทยผสมคำทับศัพท์ รวมถึงสร้างคำใหม่หรือนำคำที่ใช้งานอยู่แล้วมาใช้ในความหมายใหม่หรือใช้ให้ตรงกับสถานการณ์และวัตถุประสงค์
ข้อสังเกตการใช้ภาษาไทยในการพาดหัวข่าวในหนังสือพิมพ์ออนไลน์พบว่ามีการใช้คำที่ทำให้มีใจความต่าง ๆ กัน ได้แก่ การพาดหัวที่ให้ข้อมูลและข้อเท็จจริง การพาดหัวข่าวที่ใช้ภาษาที่ใส่อารมณ์ความรู้สึกหรือความคิดเห็น การพาดหัวข่าวแบบสรุปใจความสำคัญ พาดหัวโดยใช้ประโยคคำสั่งและการพาดหัวแบบการตั้งคำถาม โดยลักษณะของการใช้ภาษา ได้แก่ การใช้คำตัดสั้นหรือกร่อนคำ ขึ้นต้นด้วยคำกริยาเพื่อบอกผู้อ่านว่าเกิดอะไรขึ้นโดยละประธานของประโยค ละเว้นคำเชื่อม คำสันธาน มักจะใช้ประโยคความเดียวสั้น ๆ มาเรียงต่อกัน การใช้คำสแลง เพื่อให้ผู้อ่านเกิดจินตภาพหรือภาพลักษณ์เกินจริง การใช้คำทับศัพท์และการใช้อักษรย่อ
Downloads
References
Angsuviriya, C. (2016). Discourse on violence in southern border provinces of Thailand in local and major newspapers. Humanities & Social Seciences, 13(1), 27 -37. (In Thai)
Chiewchan, S. (2021). Language Usage in the News of the COVID-19 Pandemic from Online Newspapers. The Academic Journal Faculty of Humanities and Social Sciences Nakhon Sawan Rajabhat University, 11(1), 27 – 37. (In Thai)
Chobsri, S. (2021). Ministry of Public Health’s Communication in the Situation of Coronavirus Disease (COVID-19) Pandemic. Journal of Communication Arts of STOU, 11(10), 15 – 29. (In Thai)
Hongladarom , K. & Hongladarom, S. (2016). Southern Discourse and Violence in Thai Society. Bangkok: Chulalongkorn University (In Thai)
Mosomsakul, A. (2018). Crisis Communication : case study Compare SARS to Bird Flu of Public Health Ministry. Bangkok: Thammasat University. (In Thai)
Phiphitkul, W. (2019). Mass Communication Media, Culture and Society .3rd th. Bangkok: Chulalongkorn University. (In Thai)