การใช้นิยายภาษาอังกฤษของนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
คำสำคัญ:
นิยายภาษาอังกฤษ, การอ่านบทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยเรื่อง “การใช้นิยายภาษาอังกฤษของนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์” มีวัตถุประสงค์พื่อศึกษาการใช้นวนิยายภาษาอังกฤษของนักศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ในรูปแบบของการวิจัยเชิงสํารวจ (Survey Research) จากกลุ่มตัวอย่างนักศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่เคยอ่าน นวนิยายภาษาอังกฤษ ตั้งแต่ชั้นปีที่ 1-4 จํานวน 60 คน โดยการใช้แบบสอบถามทางออนไลน์ (Online Questionnaire) เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลในช่วงเดือนตุลาคม – พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 โดย ขอความร่วมมือผู้ตอบแบบสอบถามตามช่องทาง Line Application และตามสถานที่ต่าง ๆ ภายใน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต
ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มี วัตถุประสงค์ในการอ่านนวนิยายภาษาอังกฤษ เพื่อความเพลิดเพลิน พักผ่อนหย่อนใจ รองลงมาคือ อ่านเพื่อ เพิ่มทักษะด้านภาษาอังกฤษ ประเภทเนื้อหานวนิยายภาษาอังกฤษที่กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ชอบอ่านมากที่สุด คือ นวนิยายแฟนตาซี รองลงมาคือ นวนิยายแฟนฟิคชัน (Fanfiction) และ ส่วนใหญ่สถานที่ที่อ่านนวนิยาย ภาษาอังกฤษคือ ที่บ้านหรือหอพัก โดยช่องทางที่กลุ่มตัวอย่างใช้เข้าถึงนวนิยายภาษาอังกฤษมากที่สุดคือ Application รองลงมาคือ หอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในด้านความถี่ในการอ่านนวนิยาย ภาษาอังกฤษ น้อยกว่า 1 วันต่อสัปดาห์มากที่สุด รองลงมาอ่าน 1-2 วันต่อสัปดาห์ และมีระยะเวลาที่ใช้ในการ อ่านนวนิยายภาษาอังกฤษ 1-3 ชั่วโมงต่อครั้ง ช่วงเวลาที่อ่านนวนิยายภาษาอังกฤษมากที่สุดคือ ช่วงเวลา พักผ่อน หรือ วันหยุด โดยหตุผลสําคัญในการอ่านนวนิยายภาษาอังกฤษเรื่องหนึ่ง ๆ เพราะเป็นนวนิยายแนว (เนื้อหา) ที่ชื่นชอบมากที่สุด รองลงมาคือ ชื่อเรื่อง หน้าปก หรือเนื้อหามีความดึงดูดและน่าสนใจปัญหาที่พบจากการใช้นวนิยายภาษาอังกฤษที่มีให้บริการในห้องสมุดพบว่า กลุ่มตัวอย่างประสบปัญหานวนิยายภาษาอังกฤษที่เป็นที่นิยมหรือเป็นที่ต้องการ ไม่มีให้บริการในห้องสมุด” มากที่สุด รองลงมา คือ นวนิยายภาษาอังกฤษที่มีให้บริการในห้องสมุดไม่มีความหลากหลายของเนื้อหา
Downloads
References
Bamrungthai, W. (2001). The science and art of fiction. Bangkok: Suweeriyasan. (In Thai)
Chuamsrichan, K. (2009). Benefits of reading. Retrieved November 5, 2022, from http://www.thaigoodview.com (In Thai)
Hunrod, P. (2016). The reading behaviors and satisfaction of period Chinese romance story reader. Master of Arts, Mass Communication Administration. Thammasat University, Thailand. (In Thai)
Namsuk, B. (2012). Uses and gratification of Thai youth toward online novels reading behavior. Master of Arts, Mass Communication. Thammasat University, Thailand. (In Thai)
Nantariyawat, C. (2016). Uses and Gratification in Thai novels Books of people in Bangkok. Retrieved November 20, 2022, from http://ethesisarchive.library.tu.ac.th /thesis/2015/TU_2015_5707030051_3453_3022.pdf (In Thai)
Uthaipayak, D. (2012). What is the reading behavior of early childhood children?. Retrieved November 5, 2022, from https://www.gotoknow.org/posts/452264 (In Thai)
Yee, C. (2022). reader influencer #booktok trend reviews on TikTokSurge in book sales. Retrieved October 24, 2022, from https://www.springnews.co.th/lifestyle/inspiration/831845 (In Thai)