สภาพการรู้สารสนเทศ : กรณีศึกษาทหารกองประจำการ มณฑลทหารบกที่ 29

ผู้แต่ง

  • เดือนเพ็ญ หัสขันธ์ -
  • รดาณัฐ ภูสมนึก

คำสำคัญ:

การรู้สารสนเทศ, ทหารกองประจำการ

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการรู้สารสนเทศของทหารกองประจำการ มณฑลทหารบกที่ 29 2) เพื่อเสนอแนะแนวทางในการพัฒนาทักษะการรู้สารสนเทศของทหารกองประจำการ  มณฑลทหารบกที่ 29  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้คือ  ทหารกองประจำการมณฑลทหารบกที่ 29  ที่เข้าร่วมในโครงการติวสอบคัดเลือกบุคคลเข้าปฏิบัติงานในกองทัพบก ประจำปี  2566 ที่หน่วยมณฑลทหารบกที่ 29 จัดขึ้น จำนวน  50  คน  เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้คือ  แบบสอบถามสภาพการรู้สารสนเทศของทหารกองประจำการ มณฑลทหารบกที่ 29  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้  ค่าเฉลี่ย  ค่าร้อยละ

ผลการศึกษาวิจัยพบว่า 1)  สภาพการรู้สารสนเทศของทหารกองประจำการ มณฑลทหารบกที่ 29 ในภาพรวมอยู่ในระดับน้อย  คิดเป็นร้อยละ  38.2   และ เมื่อพิจารณารายมาตรฐานพบว่า  ระดับการรู้สารสนเทศมาตรฐานที่  1  ด้านการกำหนดขอบเขตความต้องการสารสนเทศ  อยู่ในระดับปานกลาง  (ร้อยละ  44)  มาตรฐานที่  2  ด้านการเข้าถึงสารสนเทศที่ต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล  อยู่ในระดับปานกลาง  (ร้อยละ  41)  มาตรฐานที่  3 การประเมินสารสนเทศ และแหล่งที่ผลิตสารสนเทศได้อย่างมีวิจารณญาณ  อยู่ในระดับน้อย  (ร้อยละ  31)  มาตรฐานที่  4  ด้านการใช้สารสนเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้  อยู่ในระดับน้อย  (ร้อยละ  38)  และ  มาตรฐานที่  5   ด้านการใช้และเข้าถึงสารสนเทศอย่างถูกต้องทางจริยธรรมและกฎหมาย  อยู่ในระดับน้อย   (ร้อยละ  37)

           ข้อเสนอแนะแนวทางในการพัฒนาการรู้ทักษะสารสนเทศของทหารกองประจำการจากการวิจัยครั้งนี้คือ 

  1. มณฑลทหารบกที่ 29 ควรกำหนดนโยบายให้มีการส่งเสริมทักษะการรู้สารสนเทศให้กับทหารกองประจำการ
  2. ควรจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมการรู้สารสนเทศให้กับทหารกองประจำการอย่างสม่ำเสมอ
  3. ควรมีการจัดโครงการอบรมระยะสั้นในการส่งเสริมทักษะการรู้สารสนเทศให้กับทหารกองประจำการ  โดยสามารถบูรณาการความร่วมมือกับสถาบันการศึกษาหรือเครือข่ายวิชาชีพทางด้านสารสนเทศ

References

American Library Association. (1989). President committee on information literacy / competency. Retrieved December 7,2008 from http://www.2/2.org/nil/ilit lst.html

American Library Association (ALA), Association for College and Research Libraries (ACRL). (2000). Information Literacy Competency Standards for Higher Education 2000. The University of Arizona Libraries.

Bellanca ,J & Brandt,R. (2011). New future abilities : Education for the 21st Century translated from 21st Century skills : Rethinking How Students. Bangkok: open worlds

Bykaikhom, S. (2007). Information Literacy of Undergraduate students Kasetsart University

Sriracha Campus. Master’s thesis, Burapha University. Thailand (In Thai)

Dechkerd, N. (2016). Information Literacy of Undergraduate students Surat Thani Rajabhat University. Master’s thesis, Thani Rajabhat University. Thailand (In Thai)

Jiaokok, P. (2004) .Information literacy of undergraduate students Srinakharinwirot Master’s thesis, Srinakharinwirot University, Thailand (In Thai)

Kulrat, S. (2013). Guidelines for developing cooperation between instructors and librarians inpromoting information literacy of undergraduate students of Rajabhat University .Master's thesis, Khon Kaen, Thailand (In Thai)

Loipha, S. (2001). Information literacy:Necessary skills for information society.Humanities and Information Sciences,19(1),1-6.

Office of the National Economics and Social Development Council. (1997). The 8th National Economic and Social Development Plan. Bangkok :Office of the National Economics and Social Development Council.

. (2002). The 9th National Economic and Social Development Plan. Bangkok :Office of the National Economics and Social Development Council.

. (2007). The 10th National Economic and Social Development Plan. Bangkok :Office of National Economic and Social Development Council.

. (2012). The 11th National Economic and Social Development Plan. Bangkok :Office of National Economic and Social Development Council.

. (2016). The 12th National Economic and Social Development Plan. Bangkok :office of National Economic and Social Development Council.

Sirichai,S. (2009). Development of information literacy skills of students in public higher education institutions. Doctor Thesis, Khon Kaen University, Thailand (In Thai)

Siritat, S. (2011). Information Literacy of Undergraduate students, Master’s thesis. Sukhothai Thammathirat University, Thailand (In Thai)

Srisudta, S. (2006). Information literacy of Nursing Students. Khon Kaen University, Master’s thesis, Khon Kaen University. Thailand (In Thai)

Sukmak,K. (2004). Information Knoledge of Chulalongkorn University 1th year students. Master’s thesis, Chulalongkorn University. Thailand (In Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-07-12