การสังเคราะห์ระบบการบริหารจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

Main Article Content

จิตติมา พิศาภาค
วิภารัตน์ แสงจันทร์
นาตยา ปิลันธนานนท์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เปรียบเทียบระบบการบริหารจัดการศึกษา สำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานของต่างประเทศกับประเทศไทย  และ 2. สร้างและประเมินคุณภาพรูปแบบการบริหารจัดการศึกษา สำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานของประเทศไทย เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบประเมินคุณภาพรูปแบบการบริหารจัดการศึกษา กลุ่มตัวอย่าง คือ 1. ประเทศที่ใช้ศึกษาข้อมูล 7 ประเทศ โดยเลือกแบบเจาะจง 2. ผู้ทรงคุณวุฒิ 12 คน ที่ประเมินคุณภาพรูปแบบการบริหารจัดการ ระยะที่ศึกษา พ.ศ. 2558 - 2564 โดยเลือกแบบเจาะจง สถิติที่ใช้คือ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1. ประเทศที่ศึกษาส่วนใหญ่รวมทั้งประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายเฉพาะสำหรับเด็กที่มี ความบกพร่องทางการเรียนรู้ มาตรฐานการเรียนรู้ที่ใช้กับเด็กที่บกพร่องทางการเรียนรู้ใช้แบบเดียวกับเด็กปกติ หน่วยงานที่รับผิดชอบเป็นหน่วยงานระดับชาติ ซึ่งมีแนวทางการบริหารจัดการที่แตกต่างกันคือ แบบเขตพื้นที่การศึกษารับนโยบายตรงจากส่วนกลาง และแบบส่วนกลางมอบอำนาจให้เขตพื้นที่ดำเนินการเอง 2. รูปแบบการบริหารจัดการสำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ของประเทศไทยที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 2 ประเด็นหลัก คือ 1. การกำหนดนโยบายการบริหารจัดการศึกษา และ 2. การกำหนดมาตรฐานการเรียนรู้สำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ซึ่งผู้เชี่ยวชาญประเมินคุณภาพรูปแบบการจัดการศึกษาโดยรวมแล้วเห็นด้วยมากที่สุดทั้ง 2 ประเด็น สรุปได้ว่ามีกฎหมายเฉพาะสำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ซึ่งมีหน่วยงานหลักเป็นสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ โดยรับนโยบายหลักจากส่วนกลางกระจายสู่ระดับเขตพื้นที่การศึกษาเพื่อนำลงสู่การปฏิบัติระดับโรงเรียน และกำหนดมาตรฐานการเรียนรู้เฉพาะสำหรับเด็กที่บกพร่องทางการเรียนรู้ควบคู่กับมาตรฐานการเรียนรู้สำหรับเด็กปกติ

Article Details

How to Cite
พิศาภาค จ., แสงจันทร์ ว. ., & ปิลันธนานนท์ น. . (2022). การสังเคราะห์ระบบการบริหารจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี, 13(1), 31–48. สืบค้น จาก https://so01.tci-thaijo.org/index.php/truhusocjo/article/view/248225
บท
Research Article

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. สืบค้น พฤษภาคม 18, 2557 จาก http://www.moe.go.th/main2/plan/p-r-b42-01.htm.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). พระราชบัญญัติการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ พ.ศ. 2551 และอนุบัญญัติตามพระราชบัญญัติฯ จำนวน 6 ฉบับ. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และสาระภูมิศาสตร์ ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. สืบค้น กรกฎาคม 25, 2562 จาก https://drive.google.com/file/d/1MDQEDkqGs01PnyzqEnyTVVNTS776ObCz/view.

บุญเชิด ภิญโญอนันตพงษ์. (2545) การวัดประเมินการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

เบญจพร ปัญญายง. (2545). คู่มือช่วยเหลือเด็กบกพร่องด้านการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

ปาฏิโมกข์ พรหมช่วย. (2555). ความบกพร่องทางการเรียนรู้ Learning Disorders; LD. การศึกษา...กับท้องถิ่นไทย. สืบค้น พฤษภาคม 18, 2557 จาก http://storage.ning.com/topology/rest/1.0/file/get/2015807371?profile=original.

ผดุง อารยะวิญญู. (2544). เด็กที่มีปัญหาในการเรียนรู้ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: แว่นแก้ว.

ศันสนีย์ ฉัตรคุปต์. (2543). ความบกพร่องในการเรียนรู้หรือแอลดี: ปัญหาการเรียนรู้ที่แก้ไขได้. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.

. (2555). บทที่ 1 รู้จักแอลดี. สร้างด้วยใจเพื่อเด็กแอลดี. สืบค้น ธันวาคม 2, 2557 จาก http://www.braille-cet.in.th/Braille-new/content-files/books/LD/LD.pdf.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2552). แนวปฏิบัติการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 สืบค้น พฤษภาคม 18, 2557 จาก http://www.curriculum51.net/upload/measurment.pdf.

Al-Shareef, L. (2017). A Study of Provision for Specific Learning Difficulties (Dyslexia) in Primary Education in The Kingdom of Saudi Arabia. Retrieved September 20, 2020, from https://www.semanticscholar.org/paper/A-study-of-provision-for-specific-learning-in-in-of-Al-Shareef/1fd17692660876b25f175a36b2314ea0f825623e.

Alshenaifi, A. (2018). The Policy and Practice of Inclusion of Children with Specific Learning Difficulties in Mainstream Primary Girls' Schools in Riyadh, Saudi Arabia: Exploring the Attitudes and Experiences of Teachers. Retrieved September 20, 2020, from https://pearl.plymouth.ac.uk/bitstream/handle/10026.1/12231/2018Alshenaifi10257323PhD.pdf?sequence=3&isAllowed=y.

Du Plessis, P. (2013). Legislation and Policies: Progress Towards the Right to Inclusive. Retrieved May 31, 2021, from http://www.scielo.org.za/scielo.php?script=sci_arttext&pid=S2225-71602013000100006.

Hurt, J. M. (2012). A Comparison of Inclusion and Pullout Programs on Student Achievement for Students with Disabilities. Retrieved May 18, 2021, from https://dc.etsu.edu/cgi/viewcontent.cgi?article=2680&context=etd.

Korb, K. A. (2010). Learning Disabilities as Educational Research Disabilities: Setting Educational Research Standards. Retrieved May 18, 2021, from http://korbedpsych.com/LinkedFiles/Disabilities.pdf.

Okolo, C. N. (2001). Primary School Children with Learning Difficulties in Lagos State: Teachers' Perception of Provision and Practice. Retrieved May 18, 2021, from https://bura.brunel.ac.uk/bitstream/2438/5317/1/FulltextThesis.pdf.

Omoke, C. M. (2011). Quality of Education offered to Children with Special Educational Needs (SEN) in the Era of Free Primary Education (FPE) in Rural Kenya: Perspectives of Educationists, Teachers and Parents. Doctor of Philosophy Thesis in Education, Victoria University of Wellington.

Suleymanov, F. (2014). Academic Achievements of Students with Special Needs in Inclusive Education: A Case Study of One Primary School in Azerbaijan. Doctor of Philosophy Thesis, University of Oslo.

Tesemma, S. T. (2012). A Critical Analysis of Law and Policy on The Education of Disabled Children in South Africa. Doctor of Education Thesis, University of South Africa.