คุณภาพการให้บริการที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของผู้ใช้บริการหน่วยงานปกครองในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

Main Article Content

ธีระศักดิ์ ทรัพย์ประเสริฐ
พงศกร เอี่ยมสอาด
อภิชยา นิเวศน์
อดิศัย วรรธนะภูติ
ภิญญดา รื่นสุข
จันทนา แสนสุข
เกวลิน พลูติญา

บทคัดย่อ

  การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาคุณภาพการให้บริการและความพึงพอใจของผู้ใช้บริการหน่วยงานปกครอง 2. เพื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจของผู้ใช้บริการหน่วยงานปกครอง จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 3. เพื่อศึกษาคุณภาพการให้บริการที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของผู้ใช้บริการหน่วยงานปกครอง เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัย คือ ผู้ที่ใช้บริการหน่วยงานปกครองในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบไม่ใช้ความน่าจะเป็น โดยสุ่มแบบตามความสะดวก จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม จำนวน 34 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่า T-test F-test และ Multiple Regression Analysis  ผลการวิจัยพบว่า 1. คุณภาพการให้บริการของผู้ใช้บริการหน่วยงานปกครอง ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และความพึงพอใจของผู้ใช้บริการหน่วยงานปกครอง ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2. การเปรียบเทียบความแตกต่างความพึงพอใจของผู้ใช้บริการหน่วยงานปกครองในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ที่มีอายุ ระดับการศึกษา อาชีพ ต่างกัน มีความพึงพอใจแตกต่างกัน ในขณะที่เพศต่างกัน    มีความพึงพอใจไม่แตกต่างกัน และ 3. ผลการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ พบว่า ด้านความน่าเชื่อถือส่งผลต่อความพึงพอใจมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านการตอบสนองผู้ใช้บริการ ด้านความไว้วางใจ ด้านการเข้าใจและการรู้จักผู้ใช้บริการ และด้านความเป็นรูปธรรมของการบริการ ตามลำดับ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05 และ 0.01

Article Details

How to Cite
ทรัพย์ประเสริฐ ธ. . ., เอี่ยมสอาด พ. ., นิเวศน์ อ. ., วรรธนะภูติ อ. ., รื่นสุข ภ. ., แสนสุข จ. . ., & พลูติญา เ. . (2023). คุณภาพการให้บริการที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของผู้ใช้บริการหน่วยงานปกครองในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี, 14(1), 31–48. สืบค้น จาก https://so01.tci-thaijo.org/index.php/truhusocjo/article/view/258219
บท
Research Article

References

กรณ์ ธาดาฐิติกรณ์. (2562, กันยายน - ธันวาคม). คุณภาพการให้บริการที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของผู้เสียภาษีป้ายในพื้นที่สำนักงานเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร. วารสารบริหารธุรกิจและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคําแหง, 2(3), 14 - 27.

กาญจนา ทวินันท์, มนตรี ธรรมพัฒนากูล, สิทธิชัย ชูสุวรรณ์, และสุกัญญา โตแทนสมบัติ. (2562, มกราคม - มิถุนายน). คุณภาพการให้บริการและความรับผิดชอบต่อสังคมที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของลูกค้าร้านกาแฟสตาร์บัคส์สาขาเซ็นทรัลพลาซ่า จังหวัดพิษณุโลก. วารสารธุรกิจปริทัศน์, 11(1), 35 – 54.

ฉัตรชัย เหล่าเขตการณ์, กนก จุฑามณี, คงฤทธิ์ จันทริก, สุรินทร์ สายสิน, ปิติคนธ์ วิเชียร, และวรางค์ศิริ เนียมตุ. (2561, กรกฎาคม - ธันวาคม). คุณภาพการให้บริการด้านสวัสดิการรถรับ – ส่งพนักงานที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการใช้บริการรถรับ-ส่งพนักงาน: กรณีศึกษา บริษัท STTC จํากัด. วารสารวิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน, 4(2), 4 - 18.

ฐาณพัฒฌ์ ภูแดนกลาง, และชิณโสณ์ วิสิฐนิธิกิจา. (2564, มกราคม - เมษายน). คุณภาพการให้บริการที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของผู้ใช้บริการขนส่ง บริษัท แฟลช เอ็กซ์เพรส จำกัด. วารสารศิลปการจัดการ, 5(1), 17 - 29.

นริลสรา ลาลี, ประนอม คำผา, และกิตติมา จึงสุวดี. (2564, พฤษภาคม - สิงหาคม). การศึกษาคุณภาพการให้บริการที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของผู้รับบริการจากองค์การบริหารส่วนตำบลในเขตพื้นที่อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย พิชญทรรศน์, 16(2), 215 - 230.

ปฐมพงค์ กุกแก้ว, และวัชรพงษ์ เงินเรืองโรจน์. (2563, ตุลาคม - ธันวาคม). คุณภาพการให้บริการที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของผู้ใช้บริการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารวิชาการศรีปทุม ชลบุรี, 7(2), 55 - 63

ปริญ จิวชยาภัก, ชาญเดช เจริญวิริยะกุล, วิชิต สุรดินทร์กูร, กฤษณา ฟองธนกิจ, และสโรชินี ศิริวัฒนา. (2564, กันยายน - ธันวาคม). คุณภาพการให้บริการที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของผู้รับบริการสมาคมกีฬายิงปืน รณยุทธแห่งประเทศไทย. วารสารรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 4(3), 155 - 167.

พัชนี อัศวเหม, และชิณโสณ์ วิสิฐนิธิกิจ. (2564, กันยายน - ตุลาคม). คุณภาพการให้บริการที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของผู้โดยสารรถไฟฟ้า MRT สายฉลองรัชธรรม. วารสารการบริหารและสังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 4(3), 61 - 72.

รุ่งอรุณ กระแสร์สินธุ์, และคนอื่น ๆ. (2565, มกราคม - มิถุนายน). ความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการให้บริการของสำนักงานทะเบียนและประมวลผล สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น (ในช่วงเวลาการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019). วารสารวิชาการสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย (สสอท.), 28(1), 80 - 97.

ลัดดาวัลย์ สำราญ, โสรยา สุภาผล, อมรรัตน์ ทัดจันทึก, และลัทธวรรณ ขำแสง. (2563, มกราคม - มีนาคม). ปัจจัยสภาพแวดล้อมและปัจจัยคุณภาพการให้บริการที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของผู้ใช้บริการกลุ่มงาน ไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาทศาลแขวงสุพรรณบุรี. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 9(1), 280 - 295.

ศิริชัย สมิทธิปรีชาวงษ์, และปัญญา ศรีสิงห์. (2563, กันยายน-ธันวาคม). คุณภาพการให้บริการที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของผู้ใช้บริการรถโดยสารประจำทางขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารสมาคมนักวิจัย, 25(3), 226 - 241.

ศิริวัณ แจ้งใจดี, และบุญญรัตน์ สัมพันธ์วัฒนชัย. (2560, กันยายน - ธันวาคม). ปัจจัยด้านคุณภาพบริการและความพึงพอใจของสมาชิกต่อการให้บริการของศูนย์ The Style by TOYOTA. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 7(3), 356 - 365.

สำนักบริการวิชาการและจัดหารายได้ มหาวิทยาลัยราชภัฏกําแพงเพชร. (2561). คู่มือเทคนิคการบริการที่ดี. (ม.ป.ท.).

อารี พันธ์มณี. (2546). จิตวิทยาสร้างสรรค์การเรียนการสอน. กรุงเทพฯ: ใยไหม.

Cochran, W. G. (1953). Sampling Techniques. New York: John Wiley & Sons.

Parasuraman, A., Zeithaml, V. A., & Berry, L. L. (1988). SERVQUAL: A Multiple-item Scale for Measuring Consumer Perception of Service Quality. Journal of Retailing, 64(1), 12 - 40.