คุณภาพการให้บริการที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของผู้ใช้บริการหน่วยงานปกครองในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
##plugins.themes.bootstrap3.article.main##
摘要
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาคุณภาพการให้บริการและความพึงพอใจของผู้ใช้บริการหน่วยงานปกครอง 2. เพื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจของผู้ใช้บริการหน่วยงานปกครอง จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 3. เพื่อศึกษาคุณภาพการให้บริการที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของผู้ใช้บริการหน่วยงานปกครอง เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัย คือ ผู้ที่ใช้บริการหน่วยงานปกครองในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบไม่ใช้ความน่าจะเป็น โดยสุ่มแบบตามความสะดวก จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม จำนวน 34 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่า T-test F-test และ Multiple Regression Analysis ผลการวิจัยพบว่า 1. คุณภาพการให้บริการของผู้ใช้บริการหน่วยงานปกครอง ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และความพึงพอใจของผู้ใช้บริการหน่วยงานปกครอง ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2. การเปรียบเทียบความแตกต่างความพึงพอใจของผู้ใช้บริการหน่วยงานปกครองในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ที่มีอายุ ระดับการศึกษา อาชีพ ต่างกัน มีความพึงพอใจแตกต่างกัน ในขณะที่เพศต่างกัน มีความพึงพอใจไม่แตกต่างกัน และ 3. ผลการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ พบว่า ด้านความน่าเชื่อถือส่งผลต่อความพึงพอใจมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านการตอบสนองผู้ใช้บริการ ด้านความไว้วางใจ ด้านการเข้าใจและการรู้จักผู้ใช้บริการ และด้านความเป็นรูปธรรมของการบริการ ตามลำดับ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05 และ 0.01
##plugins.themes.bootstrap3.article.details##
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่าหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนาญาตจากวารสารวิชาการ ฯ ก่อนเท่านั้น
参考
กรณ์ ธาดาฐิติกรณ์. (2562, กันยายน - ธันวาคม). คุณภาพการให้บริการที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของผู้เสียภาษีป้ายในพื้นที่สำนักงานเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร. วารสารบริหารธุรกิจและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคําแหง, 2(3), 14 - 27.
กาญจนา ทวินันท์, มนตรี ธรรมพัฒนากูล, สิทธิชัย ชูสุวรรณ์, และสุกัญญา โตแทนสมบัติ. (2562, มกราคม - มิถุนายน). คุณภาพการให้บริการและความรับผิดชอบต่อสังคมที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของลูกค้าร้านกาแฟสตาร์บัคส์สาขาเซ็นทรัลพลาซ่า จังหวัดพิษณุโลก. วารสารธุรกิจปริทัศน์, 11(1), 35 – 54.
ฉัตรชัย เหล่าเขตการณ์, กนก จุฑามณี, คงฤทธิ์ จันทริก, สุรินทร์ สายสิน, ปิติคนธ์ วิเชียร, และวรางค์ศิริ เนียมตุ. (2561, กรกฎาคม - ธันวาคม). คุณภาพการให้บริการด้านสวัสดิการรถรับ – ส่งพนักงานที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการใช้บริการรถรับ-ส่งพนักงาน: กรณีศึกษา บริษัท STTC จํากัด. วารสารวิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน, 4(2), 4 - 18.
ฐาณพัฒฌ์ ภูแดนกลาง, และชิณโสณ์ วิสิฐนิธิกิจา. (2564, มกราคม - เมษายน). คุณภาพการให้บริการที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของผู้ใช้บริการขนส่ง บริษัท แฟลช เอ็กซ์เพรส จำกัด. วารสารศิลปการจัดการ, 5(1), 17 - 29.
นริลสรา ลาลี, ประนอม คำผา, และกิตติมา จึงสุวดี. (2564, พฤษภาคม - สิงหาคม). การศึกษาคุณภาพการให้บริการที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของผู้รับบริการจากองค์การบริหารส่วนตำบลในเขตพื้นที่อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย พิชญทรรศน์, 16(2), 215 - 230.
ปฐมพงค์ กุกแก้ว, และวัชรพงษ์ เงินเรืองโรจน์. (2563, ตุลาคม - ธันวาคม). คุณภาพการให้บริการที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของผู้ใช้บริการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารวิชาการศรีปทุม ชลบุรี, 7(2), 55 - 63
ปริญ จิวชยาภัก, ชาญเดช เจริญวิริยะกุล, วิชิต สุรดินทร์กูร, กฤษณา ฟองธนกิจ, และสโรชินี ศิริวัฒนา. (2564, กันยายน - ธันวาคม). คุณภาพการให้บริการที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของผู้รับบริการสมาคมกีฬายิงปืน รณยุทธแห่งประเทศไทย. วารสารรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 4(3), 155 - 167.
พัชนี อัศวเหม, และชิณโสณ์ วิสิฐนิธิกิจ. (2564, กันยายน - ตุลาคม). คุณภาพการให้บริการที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของผู้โดยสารรถไฟฟ้า MRT สายฉลองรัชธรรม. วารสารการบริหารและสังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 4(3), 61 - 72.
รุ่งอรุณ กระแสร์สินธุ์, และคนอื่น ๆ. (2565, มกราคม - มิถุนายน). ความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการให้บริการของสำนักงานทะเบียนและประมวลผล สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น (ในช่วงเวลาการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019). วารสารวิชาการสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย (สสอท.), 28(1), 80 - 97.
ลัดดาวัลย์ สำราญ, โสรยา สุภาผล, อมรรัตน์ ทัดจันทึก, และลัทธวรรณ ขำแสง. (2563, มกราคม - มีนาคม). ปัจจัยสภาพแวดล้อมและปัจจัยคุณภาพการให้บริการที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของผู้ใช้บริการกลุ่มงาน ไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาทศาลแขวงสุพรรณบุรี. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 9(1), 280 - 295.
ศิริชัย สมิทธิปรีชาวงษ์, และปัญญา ศรีสิงห์. (2563, กันยายน-ธันวาคม). คุณภาพการให้บริการที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของผู้ใช้บริการรถโดยสารประจำทางขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารสมาคมนักวิจัย, 25(3), 226 - 241.
ศิริวัณ แจ้งใจดี, และบุญญรัตน์ สัมพันธ์วัฒนชัย. (2560, กันยายน - ธันวาคม). ปัจจัยด้านคุณภาพบริการและความพึงพอใจของสมาชิกต่อการให้บริการของศูนย์ The Style by TOYOTA. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 7(3), 356 - 365.
สำนักบริการวิชาการและจัดหารายได้ มหาวิทยาลัยราชภัฏกําแพงเพชร. (2561). คู่มือเทคนิคการบริการที่ดี. (ม.ป.ท.).
อารี พันธ์มณี. (2546). จิตวิทยาสร้างสรรค์การเรียนการสอน. กรุงเทพฯ: ใยไหม.
Cochran, W. G. (1953). Sampling Techniques. New York: John Wiley & Sons.
Parasuraman, A., Zeithaml, V. A., & Berry, L. L. (1988). SERVQUAL: A Multiple-item Scale for Measuring Consumer Perception of Service Quality. Journal of Retailing, 64(1), 12 - 40.