การประยุกต์หลักสังคหวัตถุ 4 ไปใช้ในการให้บริการของสำนักงานขนส่งจังหวัดร้อยเอ็ด สาขาอำเภอโพนทอง

Main Article Content

สุวันนา คำบุศย์
ดร.ไพรัช พื้นชมภู

บทคัดย่อ

         สารนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพี่อศึกษาความคิดเห็นของประชาชนต่อการประยุกต์หลักสังคหวัตถุ 4 ไปใช้ในการให้บริการของสำนักงานขนส่งจังหวัดร้อยเอ็ด สาขาอำเภอโพนทอง 2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนต่อการประยุกต์หลักสังคหวัตถุ 4 ไปใช้ในการให้บริการของสำนักงานขนส่งจังหวัดร้อยเอ็ด สาขาอำเภอโพนทอง ที่มี เพศ อายุ ระดับการศึกษา และประกอบอาชีพ ต่างกัน และ 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะของประชาชนเกี่ยวกับการประยุกต์หลักสังคหวัตถุ 4 ไปใช้ในการให้บริการของสำนักงานขนส่งจังหวัดร้อยเอ็ด สาขาอำเภอโพนทองประชากร และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ประชาชนผู้มาใช้บริการของสำนักงานขนส่ง   จังหวัดร้อยเอ็ด สาขาอำเภอโพนทอง จำนวน 550 คน กำหนดกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้สูตรการคำนวณของทาโร่ ยามาเน่ (Taro Yamane) ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 232 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่าห้าระดับ มีค่าความเชื่อมั่น  (Reliability)  ทั้งฉบับเท่ากับ 0.93 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอนุมานหรืออ้างอิง ได้แก่ การทดสอบค่าที (t-test) การทดสอบความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA : F-test) 


          ผลการวิจัยพบว่า 1) การประยุกต์หลักสังคหวัตถุ 4 ไปใช้ในการให้บริการของสำนักงานขนส่งจังหวัดร้อยเอ็ด สาขาอำเภอโพนทอง โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน อยู่ในระดับมากทั้งสี่ด้าน เรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยมากที่สุดไปหาน้อยที่สุด ได้แก่ ด้านอาคารสถานที่ ด้านเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ ด้านการอำนวยความสะดวก และด้านการให้บริการอย่างเท่าเทียม ตามลำดับ 2) ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ประชาชน ที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา และประกอบอาชีพ ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการประยุกต์หลักสังคหวัตถุ 4 ไปใช้ในการให้บริการของสำนักงานขนส่งจังหวัดร้อยเอ็ด สาขาอำเภอโพนทอง โดยรวม และรายด้าน ไม่แตกต่างกัน ซึ่งไม่เป็นไปตามสมมติฐานของการวิจัยที่ตั้งไว้ และ 3) ประชาชนได้ให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการประยุกต์หลักสังคหวัตถุ 4 ไปใช้ในการให้บริการของสำนักงานขนส่งจังหวัดร้อยเอ็ด สาขาอำเภอโพนทอง เรียงลำดับจากความถี่สูงไปหาต่ำ สามอันดับแรก ได้แก่ ควรมีการประยุกต์หลักสังคหวัตถุ 4 (สมานัตตตา) ไปใช้ในการบริการเพื่อให้ดำเนินการในขั้นตอนมีความรวดเร็ว มากยิ่งขึ้น ควรมีการประยุกต์หลักสังคหวัตถุ 4 (สมานัตตตา)  ไปใช้ในการบริการ เพื่อให้บริการกับทุกคนอย่างเท่าเทียม อยู่เสมอ มากยิ่งขึ้น และควรมีการประยุกต์หลักสังคหวัตถุ 4 (สมานัตตตา) ไปใช้ในการบริการเพื่อให้เจ้าหน้าที่มีน้ำใจ เต็มใจให้บริการ มากยิ่งขึ้น

Article Details

How to Cite
คำบุศย์ ส., & พื้นชมภู ด. (2018). การประยุกต์หลักสังคหวัตถุ 4 ไปใช้ในการให้บริการของสำนักงานขนส่งจังหวัดร้อยเอ็ด สาขาอำเภอโพนทอง. วารสารมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด, 8(2), 69–77. สืบค้น จาก https://so01.tci-thaijo.org/index.php/AJMBU/article/view/228766
บท
บทความวิจัย

References

บุญสิริ ชวลิตธำรง. (2529). ธรรมโอสถ. กรุงเทพมหานคร : อมรินทร์การพิมพ์.

พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2543). ธรรมนูญชีวิต. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.

พระประทวน จนฺทสาโร(ศรีโยธี). (2558). ความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการตามหลักสังคหวัตถุ 4 ขององค์การบริหารส่วนตำบลแสนชาติ อำเภอจังหาร จังหวัดร้อยเอ็ด.วารสารมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด. 4(2). 143-155.

พระมหาบุญเพียร ปุญฺวิริโย. (2544). แนวคิดและวิธีการขัดเกลาทางสังคมในสถาบันครอบครัวตามแนวพระพุทธศาสนา. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาพระพุทธศาสนา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระวาทิน กนฺตสีโล (บัวบุญ). (2558). การประยุกต์ใช้หลักสังคหวัตถุ 4 ในการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองทุ่ม อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม. วารสารมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด. 4(1). 143-155.

ยุทธพงษ์ กัยวรรณ์. (2543). พื้นฐานการวิจัย. กรุงเทพมหานคร : สุริยาสาสน์.
สรชัย พิศาลบุตร. (2548). เรียนรู้สถิติและการวิจัยด้วยกรณีศึกษา. กรุงเทพมหานคร : บริษัทจูนพับลิซซิ่ง จำกัด.

สุนารี แสนพยุห์. (2557). ความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการให้บริการสาธารณะของเทศบาลตำบลโพธิ์ทอง อำเภอโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด. สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์การปกครอง. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหากุฏราชวิทยาลัย.

อนงค์นาฏ แก้วไพทูรย์. (2554). ความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการตามหลักสังคหวัตถุ4 ของฝ่ายทะเบียนที่ว่าการอำเภอเมืองจังหวัดนครสวรรค์. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาพระพุทธศาสนา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.