กระบวนการแก้ปัญหาการอ่าน การเขียนของนักเรียนโรงเรียนแม่คือวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 1 : การศึกษาจากทฤษฎีฐานราก

Main Article Content

ปณิธิ ทองคำ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ไพศาล วรคำ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปิยะธิดา ปัญญา

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้ทฤษฎีฐานราก มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษากระบวนการการแก้ปัญหาการอ่าน การเขียนของนักเรียนโรงเรียนแม่คือวิทยา สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 1 โดยมีจุดประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหา สาเหตุของปัญหา การอ่าน การเขียนของนักเรียนโรงเรียนแม่คือวิทยา สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 1 2) เพื่อศึกษากระบวนการการแก้ปัญหาการอ่าน การเขียนของครูผู้สอนโรงเรียนแม่คือวิทยา 3) เพื่อศึกษาผลจากการใช้ระบวนการแก้ปัญหาการอ่าน การเขียนของครูผู้สอนโรงเรียนแม่คือวิทยา


           ผลการวิจัยพบว่า


           1. สภาพปัญหาการอ่าน ได้แก่ ปัญหาด้านการสะกดพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ และปัญหาด้านการอ่านคำ ปัญหาการเขียน ได้แก่ ปัญหาด้านการสะกดพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ ด้านลักษณะการเขียน ด้านการสะกดคำ และด้านการแต่งประโยค สาเหตุของปัญหาพบว่า มี 3 ด้าน คือ สาเหตุจากผู้เรียน ครูผู้สอน และผู้ปกครอ'


            2. กระบวนการแก้ปัญหาพบว่า มี 10 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ออกคำสั่งมอบหมายหน้าที่ให้แก่ผู้เกี่ยวข้องเป็นทีมดำเนินการแก้ไขปัญหา 2) สอบวัดแยกผู้เรียนตามข้อสอบการอ่าน การเขียน 3) สร้างเครือข่ายกับผู้ปกครอง 4) ออกแบบบทเรียน 5) จัดทำตารางสอนทั้งหมด 12 สัปดาห์ รวม 48 ชั่วโมง 6) เตรียมสื่อการสอน โดยทำการประดิษฐ์สื่อ หรือหาวิดิทัศน์การสอน เข้ามาบูรณาการในการสอน 7) ลงมือทำการสอน 8) ติดตามการสอน กับผู้ปกครอง เพื่อประสานติดตามดูพัฒนาการของผู้เรียน 9) ประชุมรายงานพัฒนาการกับผู้อำนวยการ และทีมวิจัย ในทุก ๆ 3 สัปดาห์ เพื่อสรุปพัฒนาการ ปัญหา อุปสรรคต่าง ๆ เพื่อร่วมกันหาวิธีการในการพัฒนาต่อไป 10) ใช้แบบทดสอบฉบับเดิมตามข้อ 2 มาทดสอบเพื่อวัดผลสัมฤทธิ์อีกครั้ง


           3. ผลจากการใช้กระบวนการ พบว่า ผู้เรียนสามารถจำพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ ส่งผลให้สะกดคำได้ถูกต้องมากขึ้น และสามารถแต่งประโยคได้ โดยตัวชี้วัดการพัฒนาอีกทางหนึ่งคือ คะแนนการทดสอบหลังผ่านกระบวนการเฉลี่ยภาพรวมอยู่ที่ร้อยละ 38.54 เป็นการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนี้ กระบวนการที่สร้างความร่วมมือกับผู้ปกครอง ทำให้ผู้เรียนได้รับการกวดขัน ฝึกฝน เมื่ออยู่ที่บ้าน เป็นอีกปัจจัยที่ส่งผลให้ผู้เรียนมีพัฒนาการ และผลสัมฤทธิ์ด้านการอ่าน การเขียนที่ดีขึ้น

Article Details

How to Cite
ทองคำ ป., วรคำ ผ. ด., & ปัญญา ผ. ด. (2018). กระบวนการแก้ปัญหาการอ่าน การเขียนของนักเรียนโรงเรียนแม่คือวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 1 : การศึกษาจากทฤษฎีฐานราก. วารสารมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด, 8(2), 87–99. สืบค้น จาก https://so01.tci-thaijo.org/index.php/AJMBU/article/view/228777
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

จิตราภรณ์ ด้วงจุมพล. (2543). ผลของการใช้กระบวนการสอนอ่านแบบปฏิบัติการที่มีต่อความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจภาษาไทย และทัศนคติต่อการอ่านภาษาไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต (การสอนภาษาไทย). บัณฑิตวิทยาลัย : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธนาภรณ์ ผาดไธสง และสมปัต ตัญตรัยรัตน. (2556). ผลการพัฒนาความเข้าใจในการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนด้วยนวัตกรรมกระบวนการอ่าน 5 ขั้น. วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา. 7(3. 42-49.

พระสมาน ฉนฺทกาโม(จำวัน). (2557). ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการศึกษาของนักเรียนโรงเรียนท่าตูมประชาเสริมวิทย์ ตำบลท่าตูม อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์. วารสารมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด. 3(2). 199-219.

พูนพงษ์ งามเกษม และคณะ (2559) กระบวนการแก้ปัญหาอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้อย่างยั่งยืน : กรณีศึกษาโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนเบ็ตตี้ดูเมน. วารสารรมยสาร. 14(2). 233-242.

ไพศาล วรคํา. (2558). การวิจัยทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 7. มหาสารคาม : ตักสิลาการพิมพ์.

มณีรัตน์ กันหาวรรณะ. (2557). การพัฒนาการอ่านและการเขียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่อ่านและเขียนไม่คล่อง โดยใช้ชุดฝึกแจกลูกและสะกดคำ โรงเรียนบ้านโคกใหญ่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1. วารสารวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏเลย. 9(28). 48-58.

สหัทยา สิทธิวิเศษ ปฏิพันธ์ อุทยานุกูล, แสวง เครือวิวัฒนกุล และมณี จำปาแพง. (2560). นักเรียนบนพื้นที่สูงกับการอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ : สาเหตุ ปัญหาและแนวทางแก้ไข. วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 2(1). 100 – 110.