การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 30

Main Article Content

แสงดาว คงนาวัง
แสงเดือน คงนาวัง
สำเร็จ คำโมง
วิมลพร สุวรรณแสนทวี

บทคัดย่อ

           งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานและศึกษาระดับความคิดเห็นการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 30 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 30 จำนวน 317 คนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.98 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ ด้วยวิธีการวิเคราะห์องค์ประกอบหลัก และหมุนแกนองค์ประกอบแบบตั้งฉาก ด้วยวิธีแวริแมกซ์ ผลการวิจัย พบว่า 1)องค์ประกอบการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 30 มี 5 องค์ประกอบ คือ (1) การคืนอำนาจการจัดการศึกษาให้แก่ประชาชน (2) การบริหารแบบพึ่งตนเอง (3) การบริหารแบบมีส่วนร่วม (4) การกระจายอำนาจและ (5) ความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้สามารถอธิบายองค์ประกอบการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 30 ได้ร้อยละ 81.21  2) ระดับความคิดเห็นการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 30 โดยรวมอยู่ในระดับมาก

Article Details

How to Cite
คงนาวัง แ., คงนาวัง แ., คำโมง ส., & สุวรรณแสนทวี ว. (2019). การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 30. วารสารมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด, 8(2), 391–400. สืบค้น จาก https://so01.tci-thaijo.org/index.php/AJMBU/article/view/229200
บท
บทความวิจัย

References

จรรยา แนะกระโทก. (2556). การปฏิบัติ ปัญหา และข้อเสนอแนะในการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 3. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ทวีสิทธิ์ โลไธสง. (2552). สภาพการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 1. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

ธวัชชัย รัตตัญญู. (2551). การพัฒนารูปแบบการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยสยาม.

วัลภา พูนชัย. (2550). การศึกษาปัญหาและแนวทางพัฒนาการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนเอกชนในจังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

วาสนา สายทอง. (2553). แนวทางการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของสถานศึกษาในอำเภอแม่วงก์สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครสวรรค์เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

สัมมา รธนิธย์. (2556). หลัก ทฤษฎี และปฏิบัติการบริหารการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร : ข้าวฟ่าง.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2550). แนวทางการกระจายอำนาจบริหารและการจัดการศึกษาให้คณะกรรมการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาตามกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษา พ.ศ. 2550. กรุงเทพมหานคร : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศ.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2554). การกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาตามกฎกระทรวงว่าด้วยระบบ หลักเกณฑ์ และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2553. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตร แห่งประเทศไทย.

สำนักนโยบายและแผนการอุดมศึกษา. (2551). แผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา ฉบับที่ 10 พ.ศ. 2551 –2554. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.

เอมอร วิริยะขันติกุล. (2555). สภาพและแนวทางการพัฒนาการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มกรุงเทพกลาง. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. 4(1). 102-111.

Agustinus Bandur. (2012). School-based Management Developments : Challenges and Impacts. International Journal of Educational Administration. 50(6) 845 – 873.