การประยุกต์หลักอิทธิบาท 4 ไปใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ของบุคลากรเทศบาลตำบลเกษตรวิสัย อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด

Main Article Content

พันจ่าเอก ณรงค์ ก้านจักร
ดร.ไพรัช พื้นชมภู

บทคัดย่อ

          สารนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการประยุกต์หลักอิทธิบาท 4 ไปใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ของบุคลากรเทศบาลตำบลเกษตรวิสัย อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด 2) เพื่อเปรียบเทียบการประยุกต์หลักอิทธิบาท 4 ไปใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ของบุคลากรเทศบาลตำบลเกษตรวิสัย อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด ที่มีเพศ อายุ และระดับการศึกษา ต่างกัน และ 3) เพื่อรวบรวมข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการประยุกต์หลักอิทธิบาท 4 ไปใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ของบุคลากรเทศบาลตำบลเกษตรวิสัย อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ บุคลากรเทศบาลตำบลเกษตรวิสัย อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด จำนวน 114  คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้สูตรการคำนวณของทาโร่  ยามาเน่  (Taro Yamane) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่าห้าระดับความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.92 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอนุมานหรืออ้างอิง  ได้แก่ การทดสอบค่าที (t-test) การทดสอบความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA : F-test) 


          ผลการวิจัยพบว่า 1) การประยุกต์หลักอิทธิบาท 4 ไปใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ของบุคลากรเทศบาลตำบลเกษตรวิสัย อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน อยู่ในระดับมากทั้งสี่ด้าน เรียงลำดับจากด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดไปหาน้อยที่สุด ได้แก่ด้านการปฏิบัติหน้าที่ในการบริหารราชการ ด้านการปฏิบัติหน้าที่ในภารกิจการงาน ด้านการปฏิบัติหน้าที่ในการให้บริการ และด้านการปฏิบัติหน้าที่ในประชาชน ตามลำดับ 2) ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า บุคลากรเทศบาลตำบลเกษตรวิสัย อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด ที่มีเพศ อายุ และระดับการศึกษา ต่างกัน มีการประยุกต์หลักอิทธิบาท 4 ไปใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ โดยรวม และรายด้าน ไม่แตกต่างกัน ซึ่งไม่เป็นไปตามสมมติฐานของการวิจัยที่ตั้งไว้ และ 3) บุคลากรเทศบาลตำบลเกษตรวิสัย อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด ได้ให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการประยุกต์หลักอิทธิบาท 4  ไปใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ ทั้งสี่ด้าน ลำดับตามความถี่สูงไปหาต่ำ สามอันดับแรก ได้แก่ ควรประยุกต์หลักอิทธิบาท 4 (วิมังสา) ไปใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ของบุคลากร เพื่อให้เกิดความพยายามปรับปรุงการปฏิบัติหน้าที่ต่อประชาชนให้ดีขึ้นอยู่เสมอ ควรประยุกต์หลักอิทธิบาท 4 (จิตตะ) ไปใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ของบุคลากร เพื่อให้เกิดการเอาใจใส่จดจ่อ จริงจังอยู่กับการปฏิบัติหน้าที่การให้บริการอยู่เสมอ และควรประยุกต์หลักอิทธิบาท 4 (วิริยะ) ไปใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ของบุคลากร เพื่อให้เกิดความขยันมั่นเพียร และอดทนต่อการปฏิบัติหน้าที่ในภารกิจการงานที่ได้รับมอบหมาย มากยิ่งขึ้น

Article Details

How to Cite
ก้านจักร พ. ณ., & พื้นชมภู ด. (2018). การประยุกต์หลักอิทธิบาท 4 ไปใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ของบุคลากรเทศบาลตำบลเกษตรวิสัย อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด, 8(2), 49–57. สืบค้น จาก https://so01.tci-thaijo.org/index.php/AJMBU/article/view/229265
บท
บทความวิจัย

References

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย. (2550). แนวทางการเสริมสร้างความพร้อมในการจัดการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพมหานคร : กรมส่งเสริม การปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย.

เจริญ เจษฏาวัลย์. (2554). การวางมาตรฐานธรรมาภิบาล. กรุงเทพมหานคร : บริษัทพอดีจำกัด.

ณัฐนี เลิศเรืองเจริญ. (2551). การใช้อิทธิบาท 4 ในการปฏิบัติหน้าที่ของบุคลากรโรงพยาบาลมหาชัย 2 อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร. สารนิพนธ์ศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. สาขารัฐศาสตร์การปกครอง. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

เทศบาลตำบลเกษตรวิสัย. (2560). แผนพัฒนาเทศบาลตำบลเกษตรวิสัย. ร้อยเอ็ด : เทศบาลตำบลเกษตรวิสัย.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร : สุวีริยาสาส์น.

พระถวิล ยสินฺธโร (แสงสุด). (2558). การประยุกต์ใช้อิทธิบาท 4 ในการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลหนองพอก อำเภอหนองพอก จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด. 4(1). 104-118.

พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2543). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 12. กรุงเทพมหานคร : สหธรรมมิก.

พระธัชพล สิริภทฺโท (งามแพง). (2558). การประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาทในการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบล อำเภออาจสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด. 4(1). 158-172.

พระปลัดสายชล จิตฺตกาโร (อาจปักษาส์). (2555). การบริหารงานบุคคลตามหลักอิทธิบาท 4 ขององค์การบริหารส่วนตำบล อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์ พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการเชิงพุทธ. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สำนักงาน ก.พ.ร.. (2547). มาตรฐานทางคุณธรรมและจริยธรรมของข้าราชการและลูกจ้างสำนักงาน ก.พ.ร.. กรุงเทพหานคร : สำนักงาน ก.พ.ร..

สำนักงานคณะกรรมการการพัฒนาระบบราชการ. (2550). คู่มือการบริหารการเปลี่ยนแปลงเพื่อเสริมสร้างความเป็นเลิศในการปฏิบัติราชการของหน่วยงานภาครัฐ. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานคณะกรรมการการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.).