สภาพและปัญหาการมีส่วนร่วมในการบริหารวิชาการของโรงเรียนมัธยมศึกษา เขต 20 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จังหวัดอุดรธานี

Main Article Content

บัณฑิต หาญธงชัย

บทคัดย่อ

          บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบสภาพและปัญหาการมีส่วนร่วมในการบริหารวิชาการของโรงเรียนมัธยมศึกษา เขต 20 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดอุดรธานี  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้ปฏิบัติการสอน และกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 576 คน เลือกโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นตามขนาดของโรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ การวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ค่าความถี่  ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีการของเซฟเฟ่ (Scheffe’s Method) โดยใช้โปรแกรมสถิติสำเร็จรูปทางสังคมศาสตร์ 


          ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้ปฏิบัติการสอนมีความคิดเห็นว่าโรงเรียนมีสภาพการมีส่วนร่วมในการบริหารวิชากาอยู่ในระดับมาก ส่วนกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีความคิดเห็นว่าโรงเรียนมีสภาพการมีส่วนร่วมในการบริหารวิชาการอยู่ในระดับปานกลาง 2)ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้ปฏิบัติการสอน มีความคิดเห็นว่าโรงเรียนมีปัญหาการมีส่วนร่วมอยู่ในระดับน้อย  ส่วนกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีความคิดเห็นว่าโรงเรียนมีปัญหาการมีส่วนร่วมอยู่ในระดับปานกลาง ทั้งผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้ปฏิบัติการสอน และกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีความคิดเห็นว่าโรงเรียนมีปัญหาการมีส่วนร่วมไม่แตกต่างกันทั้งโดยภาพรวมและรายด้าน 3)ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้ปฏิบัติการสอนกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในโรงเรียนทั้ง 3 ขนาด มีความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพการมีส่วนร่วมในภาพรวม ไม่แตกต่างกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). ทิศทางการมีส่วนร่วมทางวิชาการในโรงเรียนมัธยมศึกษา. กรุงเทพมหานคร : กระทรวงศึกษาธิการ.

นงคราญ ดวงอนนท์ และคณะ. (2561). การบริหารงานวิชาการโรงเรียนเครือข่ายเมืองสาเกต สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 1. วารสารมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด. 7(2). 65-75.

ปรัชญา เวสารัชช์. (2545). หลักการจัดการศึกษา. กรุงเทพมหานคร : ภาพพิมพ์.
ภูมินทร์ วงศ์พรหม และคณะ. (2561). การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด. 7(1). 187-200.

วิไรวรรณ รสชา และคณะ. (2561). การบริหารงานแบบมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาอำเภอโพนทราย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2. วารสารมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด. 7(2). 76-87.

สมยศ แสงผุย และคณะ. (2561). การบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมของครู โรงเรียนในศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาที่ 14 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2. วารสารมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด. 7(2). 31-41.