ความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมองค์การกับการเป็นชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพในสถานศึกษา สังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดขอนแก่น

Main Article Content

เจษฎาภรณ์ สีสุริยา
จิรวัฒน์ วรุณโรจน์

บทคัดย่อ

          บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)ศึกษาวัฒนธรรมองค์การในสถานศึกษาสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดขอนแก่น 2)ศึกษาการเป็นชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพในสถาน ศึกษาสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดขอนแก่น 3)ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมองค์การกับชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพในสถาน ศึกษาสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดขอนแก่นกลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริหารและครูผู้สอน จำนวน 270 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสหสัมพันธ์อย่างง่ายโดยวิธีของเพียร์สัน


           ผลการวิจัยพบว่า1) วัฒนธรรมองค์การในสถานศึกษาสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดขอนแก่น โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีระดับการปฏิบัติสูงสุดคือ ด้านความมุ่งประสงค์ของสถานศึกษา รองลงมาคือ ด้านความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งขององค์การ ส่วนด้านที่มีระดับการปฏิบัติต่ำสุดคือด้านความไว้วางใจ 2)การเป็นชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพในสถานศึกษาสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดขอนแก่น โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีระดับการปฏิบัติสูงสุดคือ ด้านค่านิยมและวิสัยทัศน์ร่วม รองลงมาคือ ด้านแบ่งปันประสบการณ์ ส่วนด้านที่มีระดับการปฏิบัติต่ำสุด คือด้านร่วมกันเรียนรู้สู่การปฏิบัติ3) ความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมองค์การกับการเป็นชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพในสถาน ศึกษาสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดขอนแก่น โดยภาพรวมมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ในทิศทางบวก และมีความสัมพันธ์กันในระดับมาก

Article Details

How to Cite
สีสุริยา เ., & วรุณโรจน์ จ. (2020). ความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมองค์การกับการเป็นชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพในสถานศึกษา สังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดขอนแก่น. วารสารมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด, 9(2), 484–494. สืบค้น จาก https://so01.tci-thaijo.org/index.php/AJMBU/article/view/244728
บท
บทความวิจัย

References

จุลลี่ ศรีษะโคตร. (2557). บรรยากาศองค์การที่ส่งผลต่อชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพของครูในสังกัดเทศบาลนครขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์ : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ณัฐสิฏ รักษ์เกียรติวงศ์. (2559). การปฏิรูปอาชีวศึกษาของประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร : สถาบันวิจัยเพื่อพัฒนาประเทศไทย TDRI.

เทียนชัย ไชยเศรษฐ .(2552). ค่านิยมคืออะไรและสำคัญอย่างไร. Spirit บ้านเรา. 25(475). 8-13.

นพรัตน์ แบบกัน. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมองค์การกับองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนบางบ่อวิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6. งานนิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์ : มหาวิทยาลัยบูรพา.

ปวีณา เจริญภูมิ. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมองค์การกับการเป็นชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25. วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา : มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 11(4). 55-62.

ปิยะมาศ วงศ์แสน. (2560). วัฒนธรรมคุณภาพที่ส่งผลต่อการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพในโรงเรียนมาตรฐานสากล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด. 11(1) 130-138.

เพ็ชรี รูปะวิเชตร์. (2554). การเรียนรู้ลักษณะการจัดการ : การจัดการข้ามวัฒนธรรม. กรุงเทพมหานคร : ดวงกมลพับลิชชิ่ง.

ราชกิจจานุเบกษา. (2551). พระราชบัญญัติการอาชีวศึกษา พ.ศ. 2551. เล่ม 125 ตอนที่ 43ก ราชกิจจานุเบกษา 5 มีนาคม 2551.

วิจารณ์ พานิช. (2559). บันเทิงชีวิตครูสู่ชุมชนการเรียนรู้. กรุงเทพมหานคร : มูลนิธิสยามกัมมาจล.

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์กรมหาชน). (2560). รายงานประจำปี 2560. กรุงเทพมหานคร : สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์กรมหาชน).

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2560). แนวทางการขับเคลื่อนกระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ(Professional Learning Community : PLC) สำนักงานคณะ
กรรมการการอาชีวศึกษา). กรุงเทพมหานคร : กระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2560). แผนพัฒนาการอาชีวศึกษา พ.ศ. 2560-2579.กรุงเทพมหานคร : กระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2560). รายงานประจำปี 2560. กรุงเทพมหานคร : กระทรวงศึกษาธิการ.

สุพัฒน์ศร ศรีรุ่งเรือง. (2554). ความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมองค์การกับการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 2. งานนิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์ : มหาวิทยาลัยบูรพา.

สุรีวัลย์ แก้วไชยะ. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมองค์การกับความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จังหวัดเลย. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม. 9(1). 131-144.

อัญชลี ปรีชายศ. (2554). ความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมองค์การกับองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนในกลุ่มบ่อทอง 1 อำเภอบ่อทอง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 2. งานนิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์: มหาวิทยาลัยบูรพา.

Cameron, K. (2008). A process for changing organization culture. In Handbook of organization development. Los Angeles : Sage.

Patterson. J. L. & Parker, J. V. (1986). Productive school system for a nonrational world. Alexandria. VA : Association for Supervision and Curriculum Development.

Robbins and DeCenzo. (2001). Fundamentals of Management Essential Concept and Applica. 4th ed. Upper Saddle River. N. J : Pearson.

Schein, E. H. (2010). Organization culture and leadership. 4thed. San Francisco, CA : Wiley.