ภาวะผู้นำตามหลักสัปปุริสธรรม 7 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาภาวะผู้นำตามหลักสัปปุริสธรรม 7 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด 2)เพื่อเปรียบเทียบภาวะผู้นำตามหลักสัปปุริสธรรม 7 3)เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะและแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำตามหลักสัปปุริสธรรม 7กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ดจำนวน 330 คน และกลุ่มผู้ให้ข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ทดสอบสมมติฐานโดยใช้ t-test และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวโดยใช้สถิติ F-test
ผลการวิจัยพบว่า 1. ภาวะผู้นำตามหลักสัปปุริสธรรม 7 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ดโดยรวมอยู่ในระดับมาก 2. การเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นของครูผู้สอนต่อภาวะผู้นำตามหลักสัปปุริสธรรม 7 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด จำแนกตามระดับการศึกษา และประสบการณ์การทำงานไม่แตกต่างกัน ส่วนขนาดโรงเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. ผลการศึกษาข้อเสนอแนะและแนวทางการพัฒนา ควรยึดหลักการและบริหารสถานศึกษาอย่างเป็นระบบเป็นขั้นตอนมีกระบวนการการทำงานที่ดี ส่งเสริมความสัมพันธ์แบบกัลยาณมิตร และทำให้ผู้ร่วมงานเห็นความสำคัญกับประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตนแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้ทันต่อเหตุการณ์และเวลาและ ควรให้โอกาสและสนับสนุนคนที่มีความรู้ความสามารถให้ดำรงตำแหน่งที่เหมาะสม
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กมลมาลย์ ไชยศิริธัญญา. (2558). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารที่ส่งผลต่อสมรรถนะหลักของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2. Veridian E-Journal, Silpakorn University. 9(2). 1510-1525.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพุทธศักราช 2542 แกไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2545. กรุงเทพมหานคร : คุรุสภา.
กัลยา อาทรกิจ และรุ่งชัชดาพร เวหะชาติ. (2560). ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 1. การประชุมวิชาการระดับชาติ “วลัยลักษณ์วิจัย” ครั้งที่ 10. 27-28 มีนาคม 2561. 145-159.
จรุงจิต สมบัติวงศ์. (2561). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา. Journal of Roi Kaensarn Academi. 3(2). 17-35.
พยุงศักดิ์ นันทรักษา. (2558). การศึกษาภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.
พระปลัดอภิสิทธิ์ ธีรปญฺโญ(เล็กภิญโญ). (2560). การศึกษาภาวะผู้นำตามหลักสัปปุริสธรรม7ในโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษาของผู้บริหารและบุคลากรทางการศึกษาในจังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย :มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาเจริญชัย จนฺทสาโร(ตาลพันธุ์). (2561). ภาวะผู้นำเชิงพุทธของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา จังหวัดกาฬสินธุ์. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย :มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.
พระมหาภาณุวัฒน์ แสนคํา. (2558). การบริหารตามหลักสัปปุริสธรรม 7 ของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา จังหวัดลำปาง. รายงานสืบเนื่องจากการประชุมสัมมนาวิชาการการนำเสนอการวิจัยระดับชาติและนานาชาติเครือข่ายบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ ครั้งที่ 15. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์. 875-885.
สมคิด มาวงศ์. (2554). การศึกษาการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารโรงเรียนตามความคิดเห็นของครู สังกัดโรงเรียนเทศบาลในจังหวัดระยอง จันทบุรี และตราด. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย :มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
Bass, B., Waldman, D., Avolio, B., and Bebb, M. (1987).Transformational Leadership and The Falling Dominoes Effect. Group & Organization Studies. 12(1). 73–87.
Krejcic, R., & Morgan, D.W. (1970). Determining sample size for research activities. Journal of Educational and Psychological Measurement. 30(3). 607-610.