การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำการเรียนรู้ของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาองค์ประกอบและตัวชี้วัดภาวะผู้นำการเรียนรู้ของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3 2)เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นของภาวะผู้นำการเรียนรู้ของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3 และ 3)เพื่อพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำการเรียนรู้ของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3 จำนวน 304 คน ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามแบบสัมภาษณ์ และแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของโปรแกรมสถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีความต้องการจำเป็น
ผลการวิจัยพบว่า 1. ภาวะผู้นำการเรียนรู้ของครูประกอบด้วยองค์ประกอบ 5 ด้าน ได้แก่ 1)องค์ประกอบด้านการบูรณาการ 2)องค์ประกอบด้านความคิดสร้างสรรค์ 3)องค์ประกอบด้านการมีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ 4)องค์ประกอบด้านการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการปฏิบัติงานและการจัดการเรียนรู้ และ 5)องค์ประกอบด้านการเรียนรู้เป็นทีม 2. สภาพปัจจุบันของภาวะผู้นำการเรียนรู้ของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3 โดยรวมอยู่ในระดับน้อย ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านการมีความคิดสร้างสรรค์ สภาพที่พึงประสงค์ของภาวะผู้นำการเรียนรู้ของครูโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการมีความคิดสร้างสรรค์ ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาภาวะผู้นำการเรียนรู้ของครูเรียงลำดับความต้องการจำเป็นจากมากไปหาน้อย ได้แก่ การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการปฏิบัติงานและการจัดการเรียนรู้การบูรณาการการเรียนรู้เป็นทีมการมีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ และ การมีความคิดสร้างสรรค์ 3. โปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำภาวะผู้นำการเรียนรู้ของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3ประกอบด้วย 1)หลักการ 2)วัตถุประสงค์ 3)เนื้อหาสาระ 4)วิธีการพัฒนา 5)การวัดและประเมินผล เนื้อหาสาระประกอบด้วย 5 Module ได้แก่ Module 1 การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการปฏิบัติงานและการจัดการเรียนรู้ Module 2 การบูรณาการ Module 3 การเรียนรู้เป็นทีม Module 4 การมีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้และ Module 5 การมีความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งผลการประเมินโปรแกรมโดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กานต์สุดา มาฆะศิรานนท์. (2557). การพัฒนาองค์การแห่งการเรียนรู้. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร : เอ็กซ์เปอร์เน็ท.
ปริญญา มีสุข. (2552). ผลของการออกแบบโปรแกรมการพัฒนาทางวิชาชีพแบบมีส่วนร่วมของครู. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิธีวิทยาการวิจัยการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิจารณ์ พานิช. (2556). ครูเพื่อศิษย์สร้างห้องเรียนกลับทาง. สงขลา : บริษัท เอส.อาร์.พริ้นติ้งแมสโปรดักส์ จำกัด.
วิโรจน์ สารรัตนะ. (2548). การบริหารการศึกษา : หลักการ ทฤษฎี หน้าที่ ประเด็นและบทวิเคราะห์. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร : ทิพยวิสุทธิ์.
สุธรรม ธรรมทัศนานนท์. (2561). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. มหาสารคาม : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
อภิศญารัศมิ์ ประราศรี. (2561). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำการเรียนรู้ของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์ : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
Kenneth Leithwood, Alma Harris & David Hopkins. (2008). Seven strong claims about successful school leadership. School Leadership & Management. 28(1). 27-42.