ศักยภาพการให้บริการไปรษณีย์ไทยยุคดิจิทัลในจังหวัดขอนแก่น
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาศักยภาพการให้บริการไปรษณีย์ไทยยุคดิจิทัลในจังหวัดขอนแก่น 2)เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อศักยภาพการให้บริการไปรษณีย์ไทยยุคดิจิทัลในจังหวัดขอนแก่น และ 3)เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาศักยภาพการให้บริการไปรษณีย์ไทยยุคดิจิทัลในจังหวัดขอนแก่น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ประชาชน หน่วยงานภาครัฐ ผู้ประกอบการในเขตพื้นที่จังหวัดขอนแก่น จำนวน 400 คน กลุ่มผู้ให้ข้อมูลจากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลภาครัฐ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลจากเจ้าหน้าที่รัฐและประชาชนผู้มารับบริการ จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณโดยใช้วิธีการคัดเลือกตัวแปรแบบเป็นลำดับขั้นและการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับศักยภาพการให้บริการไปรษณีย์ไทยยุคดิจิทัลในจังหวัดขอนแก่น ตัวแปรตาม โดยรวมทุกด้านอยู่ในระดับปานกลาง 2. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อศักยภาพการให้บริการไปรษณีย์ไทยยุคดิจิทัลในจังหวัดขอนแก่นด้านความต้องการ อย่างมีนัยสำคัญ ได้แก่ด้านความสะดวกสบาย(X4) ด้านความปลอดภัย(X3) และด้านการประหยัด(X1) ตัวแปรอิสระทั้ง 3 ตัวมีค่าสัมประสิทธิ์ของตัวพยากรณ์ในคะแนนดิบ เท่ากับ .416 .276 และ .040 ตามลำดับ 3. แนวทางการพัฒนาศักยภาพการให้บริการไปรษณีย์ไทยยุคดิจิทัลในจังหวัดขอนแก่น ควรมีการให้บริการศักยภาพการให้บริการมีวัฒนธรรมองค์กรปลูกฝังให้พนักงานมีการรับประกันการให้บริการ และสร้างวิสัยทัศน์และประสบการณ์ในการบริหารงานสร้างอัตราค่าบริการเหมาะสมกับบริการความสะดวกในที่ทำการที่มีเพียงพอต่อความต้องการโดยจัดการบริการลูกค้ามีความเท่าเทียมกันเพื่อสร้างศักยภาพการให้บริการที่มีระยะประหยัดเวลาในการจัดส่งที่สามารถประหยัดต้นทุนที่ตอบสนองความต้องการความเชื่อถือได้ตามที่สัญญาไว้อย่างมีความเสมอภาคเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าอย่างมีประสิทธิภาพสร้างความปลอดภัยความสะดวกในการติดต่อและสร้างมาตรฐานในการให้บริการที่มีความเร่งด่วนต่อความประทับใจลูกค้าที่ตอบโจทก์ในการใช้บริการอย่างประทับใจ และสร้างระบบการบริการเพื่อความปลอดภัยต่อสินค้าในการใช้ระยะเวลาในการรอเพื่อความแน่ใจว่าปลอดภัยอย่างสะดวกสบายให้เกิดความพึงพอใจในการใช้ช่องทางการติดต่อในการบริการอย่างมีประสิทธิภาพต่อทรัพย์สินหรือความปลอดภัยและสามารถป้องกันอันตรายที่อาจจะเกิดในการบริการเพื่อสร้างความปลอดภัยกับลูกค้า
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรรณิการ์ วงศ์โพธิสาร. (2561). การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการขนส่ง เอ็กซ์เพรสในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2560). การวิเคราะห์สถิติชั้นสูงด้วย SPSS for Window. พิมพ์ครั้งที่ 12. กรุงเทพมหานคร : ห้างหุ้นส่วนจํากัด สามลดา.
จิตระวี ทองเถา. (2562). พฤติกรรมและความพึงพอใจในการใช้บริการ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัดสาขาซีคอนบางแค. วารสารรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. 2(2). 105-114.
บุญเพ็ง สิทธิวงษา และคณะ. (2565). กลยุทธ์การพัฒนานวัตกรรมความได้เปรียบเชิงการแข่งขันทางธุรกิจสู่ประเทศไทย 4.0. วารสารมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด. 11(1). 749-762.
อนุพงษ์ วงษ์พจนี. (2559). กลยุทธ์การพัฒนาศักภาพการบริหารกลุ่มลูกค้าอิคอมเมิร์ซ กรณีศึกษา :บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด. สารนิพนธ์การจัดการมหาบัณฑิต. วิทยาลัยการจัดการมหาวิทยาลัยมหิดล.
Choocheard S. (2018). To improve work performance. Available : Retrieved 2 August 2022. From http://wwwthailandindustry.com/onlinemag/view2.php?id=771
Taro Yamane. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. 3rd ed. New York : Harper and Row Publications.
Vaisamruat K. (2012). Two Tools for 21st Century Schools and Districts. Retrieved 2 August 2022. From http://thirteencelebration.org/blog/edblog/ edblog-two-tools-for-21-stcentury- schools-and-districts-by-den-kay/2903/