กลยุทธ์การเสริมสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3

Main Article Content

ศิริพร แสงตาดโตน
สินธะวา คามดิษฐ์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นของการเสริมสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 และ 2) เพื่อพัฒนากลยุทธ์การเสริมสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3              กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 101 คน และครูผู้สอน จำนวน 240 คน รวมจำนวน 341 คน กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูหัวหน้าฝ่ายบริหารงานวิชาการ จำนวน 6 คน ใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจงและผู้ทรงคุณวุฒิประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของกลยุทธ์ จำนวน 5 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แบบสอบถาม ซึ่งสภาพปัจจุบันมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .977 และสภาพที่พึงประสงค์มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .961 2) แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง และ 3) แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีความสอดคล้อง สัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค และค่าดัชนีจัดเรียงลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น (PNImodified


           ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันของการเสริมสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพในสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมาก สภาพที่พึงประสงค์ของของการเสริมสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพในสถานศึกษาโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และลำดับความต้องการจำเป็นในการเสริมสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพในสถานศึกษา เรียงลำดับความต้องการจำเป็นจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านการเรียนรู้และพัฒนาวิชาชีพ ด้านทีมร่วมแรงร่วมใจและด้านชุมชนกัลยาณมิตร ด้านภาวะผู้นำร่วม ด้านโครงสร้างสนับสนุนชุมชนและด้านวิสัยทัศน์ร่วม ตามลำดับ 2) กลยุทธ์การเสริมสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 ประกอบด้วย กลยุทธ์ด้านวิสัยทัศน์ร่วม 7 กลยุทธ์ กลยุทธ์ด้านภาวะผู้นำร่วม 8 กลยุทธ์ กลยุทธ์ด้านโครงสร้างสนับสนุนชุมชน 8 กลยุทธ์ กลยุทธ์ด้านทีมร่วมแรงร่วมใจ                  10 กลยุทธ์ กลยุทธ์ด้านชุมชนกัลยาณมิตร 7 กลยุทธ์ และกลยุทธ์ด้านการเรียนรู้และพัฒนาวิชาชีพ   7 กลยุทธ์ รวมทั้งสิ้น 6 ด้าน 47 กลยุทธ์ ผลการประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของกลยุทธ์การเสริมสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 พบว่ามีความเหมาะสมและความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

How to Cite
แสงตาดโตน ศ., & คามดิษฐ์ ส. (2024). กลยุทธ์การเสริมสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3. วารสารมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด, 13(2), 142–154. สืบค้น จาก https://so01.tci-thaijo.org/index.php/AJMBU/article/view/269600
บท
บทความวิจัย

References

ธีรยุทธ รุจาคม. (2561). การดำเนินงานชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ของครูโรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดสมุทรปราการ กลุ่ม 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6. การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยพะเยา.

พงษ์ศักดิ์ สาลีกงชัยและศศิรดา แพงไทย. (2562). กลยุทธ์การพัฒนาสถานศึกษาสู่ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. 6(8). 4133 -4148.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3. (2564). เอกสารแผนปฏิบัติการประจำปี

งบประมาณ 2565. สุรินทร์ : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560-2579. กรุงเทพมหานคร : พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

Stoll, L., Bolam, R., McMahon, A., Wallance, M. & Thomas, S. (2006). Professional

learning communities : A review of the literature. Journal of Education

Change. 7. 221-258.

Verbiest, E. (2008). Sustainable school development : Professional learning

communities. Netherland : Fontys University.