การพัฒนาทักษะการเขียนอักษรจีนตามลำดับขีด โดยใช้แบบฝึกทักษะการเขียนตัวอักษรจีน
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ โดยใช้แบบฝึกทักษะการเขียนตัวอักษรจีน ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการเขียนอักษรจีนตามลำดับขีด โดยใช้แบบฝึกทักษะการเขียนตัวอักษรจีน ของนักศึกษาก่อนและหลังเรียนด้วยแบบฝึก และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อกิจกรรมการเรียนรู้ทักษะการเขียนตัวอักษรจีน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักศึกษาสาขาวิชาการสอนภาษาจีนชั้นปีที่ 1 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 30 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ทักษะการเขียนตัวอักษรจีน จำนวน 3 แผน 2) แบบทดสอบวัดทักษะการเขียนอักษรจีนตามลำดับขีด โดยใช้แบบฝึกทักษะการเขียนตัวอักษรจีน และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อกิจกรรมการเรียนรู้การเขียนอักษรจีนตามลำดับขีด โดยใช้แบบฝึกทักษะการเขียนตัวอักษรจีน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า 1) การพัฒนาทักษะการเขียนอักษรจีนตามลำดับขีด โดยใช้แบบฝึกทักษะการเขียนตัวอักษรจีน มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 78.10/83.67 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด 2) ความสามารถในการเขียนอักษรจีนตามลำดับขีด โดยใช้แบบฝึกทักษะการเขียนตัวอักษรจีนของของนักศึกษาหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน ตามเกณฑ์ร้อยละ 75 และ 3) ความพึงพอของนักศึกษาที่มีต่อกิจกรรมการเรียนรู้ทักษะการเขียนตัวอักษรจีน โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
จาง จิ้ง. (2552). ไม่ยาก...จดจำอักษรจีน. กรุงเทพมหานคร : ซีเอ็ดยูเคชั่น.
ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2556). การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย. 5(5). 7-20.
นภัสสร พรหมทา. (2560). การพัฒนาทักษะการเขียนตัวอักษรจีนโดยใช้แบบฝึกเขียนตัวอักษร และการ 听写 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนศรีตระกูลวิทยา. กรุงเทพมหานคร : กระทรวงศึกษาธิการ.
นารีรัตน์ วัฒนเวฬุ. (2561). การศึกษาข้อผิดพลาดการเขียนอักษรจีนของผู้เรียนชาวไทย: กรณีศึกษานักศึกษาชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาภาษาจีนคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. วารสารจีนศึกษ มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์. 11(1). 283-314.
บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพมหานคร : สุวีริยาสาส์น.
ภูมรินทร์ ภิรมย์เลิศอมร. (2555). ข้อผิดพลาดในการเขียนตัวอักษรจีนของนิสิตเอกภาษาจีน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. ชลบุรี : มหาวิทยาลัยบูรพา.
สุกัญญา ทองแห้ว. (2564). การพัฒนาการจำอักษรจีน โดยใช้ชุดฝึกทักษะการเขียนอักษรจีนโครงสร้างอักษรเดี่ยวของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาจีน มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.วารสารลวะศรี. 5(1). 117-126.
สุธาสินี, ยันตรวัฒนา. (2555). ผลการพัฒนาทักษะการเขียนตัวอักษรภาษาจีน โดยใช้ชุดฝึกทักษาการเขียนตัวอักษรภาษาจีน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนชุมชนบ้านฟ่อนวิทยา จังหวัดลำปาง. เชียงใหม่ : สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
เหยินจิ่งเหวิน. (2558). รอบรู้ภาษาจีน: จุ๊กจิ๊กจอจีน เล่ม 1 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2. นนทบุรี : สหมิตรพริ้นติ้งแอนด์พับลิสซิ่ง.
Mo Caifeng. (2016). Stroke order is something that cannot be ignored in Chinese language teaching. Retrieved 27 March 2023. From https://www.yixuelunwen.com
Skehan. (1998). Task based instruction. Cambridge : Cambridge University Press.
Xin Jiang. (2007). An Experimental Study on Effect of the Method of ‘Teaching the Learner to Recognize Characters More Than Writing. Retrieved 30 March 2023. From https://xueshu.baidu.com/usercenter/paper/show?paperid=2f687fb73 7e4dcfa38c 9805aa96c4e2a
Zhan A – hui. (2014). Strategies to solve the reasons why students do not write in stroke order. Retrieved 29 March 2023. From https://www.yixuelunwen.com