คำแนะนำในการเตรียมบทความ 

1.รับพิจารณาบทความทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยขอบเขตเนื้อหาทางด้านสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ทางด้านการศึกษา ครุศาสตร์ ศึกษาศาสตร์และศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง โดยรับบทความวิจัย (Research articles) บทความวิชาการ (Academic articles) บทความปริทัศน์ (Review articles) ภายใต้เงื่อนไขที่ว่าจะต้องไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสาร เอกสารการประชุมทางวิชาการหรือสิ่งพิมพ์ใดมาก่อน (ยกเว้นรายงานการวิจัยและวิทยานิพนธ์/สารนิพนธ์) และไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณารอตีพิมพ์ในวารสารอื่น

2.บทความที่รับพิจารณาตีพิมพ์ต้องผ่านการกลั่นกรองจากผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้อง (Peer Review) อย่างน้อย 3 ท่าน และได้รับความเห็นชอบจากกองบรรณาธิการ

3.ผู้เขียนต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กองบรรณาธิการวารสารกำหนด และยินยอมให้บรรณาธิการแก้ไขบทความเพื่อความสมบูรณ์ได้ในขั้นตอนสุท้ายก่อนเผยแพร่

-------------------------------------------------------------------------------------------------

1.บทความ

มีความยาวไม่เกิน 8-15 หน้า ทั้งนี้นับรวมรูปภาพ ตาราง และเอกสารอ้างอิง โดยใช้กระดาษ A4

2.แบบอักษร (Font) 

2.1  ชื่อบทความทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษให้พิมพ์โดยใช้อักษรตัวหนาขนาด 18 พิมพ์ไว้กึ่งกลางหน้ากระดาษ

2.2  ชื่อและนามสกุลของผู้ประพันธ์มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ พิมพ์ด้วยตัวหนาโดยใช้อักษรขนาด 16 พิมพ์ไว้ด้านขวาของหน้ากระดาษ (ให้ใช้หมายเลขแบบตัวยกเพื่อกำกับลำดับชื่อของผู้ประพันธ์)

2.3  ตำแหน่งทางวิชาการ (ถ้ามีชื่อ) หน่วยงานที่สังกัด และอีเมล ให้พิมพ์ในบรรทัดด้านล่างต่อจากบทคัดย่อและคำสำคัญภาษาอังกฤษ โดยชิดขอบซ้าย พิมพ์ด้วยอักษรตัวปกติขนาด 12 

2.4  จัดพิมพ์เนื้อหาด้วยอักษร TH SarabunPSK ขนาด 15 และพิมพ์ในลักษณะคอลัมน์เดียว

2.5  หัวข้อหลักพิมพ์ด้วยตัวอักษรหนา ขนาด 16 ส่วนหัวข้อรองพิมพ์ด้วยอักษรตัวหนา ขนาด 15 โดยชิดขอบซ้าย

3.องค์ประกอบของบทความวิจัยฉบับเต็ม ประกอบด้วย

3.1  ชื่อเรื่อง (Title) ต้องมีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

3.2  ชื่อและนามสกุลของผู้ประพันธ์มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ พร้อมระบุตำแหน่งทางวิชาการ (ถ้ามี)  หน่วยงานที่สังกัด และอีเมล 

3.3  บทคัดย่อ (Abstract) มีความยาวไม่เกิน 1 หน้า หรือไม่เกินจำนวน 250-300 คำ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ 

3.4  คำสำคัญ (Keywords) มีจำนวน 3 - 5 คำ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

3.5  บทนำ (Introduction) ระบุถึงความสำคัญของปัญหาที่ศึกษา วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง และประโยชน์โดยรวมที่จะเกิดขึ้นจากผลวิจัย

3.6   วัตถุประสงค์ของการวิจัย (Objective) มีความชัดเจนและสะท้อนถึงภาพทั้งหมดของงานวิจัย

3.7  วิธีดำเนินการวิจัย (Research methodology) ครอบคลุมวิธีการวิจัย ประชากร กลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือวิจัย ขั้นตอนการเก็บข้อมูล และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล

3.8  ผลการวิจัย (Results) ได้จากผลการวิเคราะห์ข้อมูลที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการวิจัย

3.9  อภิปรายผล (Discussion) นำเสนอผลการวิจัยโดยการอ้างโยงทฤษฎีเพื่อนำมาสนับสนุนหรือเห็นแย้งที่สมเหตุสมผล

3.10  ข้อเสนอแนะ (Recommendations) เป็นข้อเสนอแนะเพื่อนำผลการวิจัยไปใช้ให้เกิดประโยชน์และเสนอแนะเพื่อการทำวิจัยในครั้งต่อไป

3.11  การอ้างอิง (References) แบบแทรกในเนื้อหา กำหนดให้ใช้ระบบนาม-ปี (Author-Year) ตามรูปแบบ APA ทั้งนี้เอกสารอ้างอิงทุกรายการที่ปรากฏในเนื้อหาต้องสอดคล้องรายการเอกสารอ้างอิงท้ายเรื่อง

3.12  การอ้างอิง (References) แบบท้ายเรื่อง กำหนดให้ใช้รูปแบบ American Psychological Association (APA) 6th edition 

4. การพิมพ์

4.1  การพิมพ์หัวข้อ ให้พิมพ์ตรงกลางหน้ากระดาษ มีระยะระว่าง 1 บรรทัด เหนือหัวข้อ 

4.2  การย่อหน้าเนื้อหา กำหนดให้ใช้ให้ 0.5 นิ้ว

4.3  การวางรูปหน้ากระดาษ การเว้นระยะห่างจากริมกระดาษให้เว้นระยะห่างดังนี้

4.3.1  ด้านบนและด้านซ้าย เว้นห่างจากขอบประดาษ 1.5 นิ้ว

4.3.2  ด้านล่างและด้านขวา เว้นห่างจากขอบประดาษ 1 นิ้ว

5.การพิมพ์ตาราง

ต้องมีเลขกำกับแต่ละตาราง ให้พิมพ์หมายเลขลำดับของตารางและชื่อตาราง  โดยพิมพ์ชิดขอบซ้ายมือของกระดาษ ถ้าชื่อตารางยาวกว่า 1 บรรทัด ให้ขึ้นบรรทัดใหม่ โดยให้อักษรตัวแรกตรงกับชื่อตาราง ในบรรทัดแรก และเว้นแถวว่าง 1 แถว ก่อนและหลังพิมพ์ตาราง

6.การพิมพ์ภาพประกอบ

แต่ละภาพต้องมีหมายเลขลำดับจาก 1 ไปจนจบบทความ การพิมพ์หมายเลขลำดับของภาพชื่อและ/หรือ คำอธิบายให้พิมพ์ไว้ใต้ภาพ และให้เส้นแถวว่าง 1 แถว ก่อนและหลังพิมพ์ภาพประกอบ

7.การพิมพ์สมการ

ให้แยกพิมพ์ไว้ในแถวหนึ่งต่างหาก และให้เว้นแถวว่าง 1 แถว ก่อนและหลังการพิมพ์สมการ

 

x1 = x + hx1 = x+h และ y1 = f(x1) = f(x + h)y1 = f(x1) = f(x + h)

8.การพิมพ์เอกสารอ้างอิง (References)

ใช้รูปแบบการการเขียนบรรณานุกรมแบบ APA 6th

 

หนังสือทั่วไป

รูปแบบ

ชื่อผู้แต่ง./(ปีที่พิมพ์)./ชื่อเรื่อง./ครั้งที่พิมพ์./สถานที่พิมพ์:/สำนักพิมพ์.

ผู้แต่ง 1 คน

จอมพล  มงคลวนิช. (2555). การบริหารองค์การและบุคลากรทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ผู้แต่ง 2 คน

สิทธิ  พินิจภูวดล และนิตยา  กาญจนวรรณ. (2520). ความรู้ทั่วไปทางวรรณกรรมไทย. กรุงเทพฯ: ดวงกมล.

ผู้แต่ง 3ถึง 7 คน

ศุภมิตร  เมฆฉาย, พชรินทร์  ครุฑเมือง, อัญชลี  วงษา, เทิดชัย  เวียรศิลป์, โกมท อุ่นศรีส่ง, และเกรียงศักดิ์  เม่งอำพัน. (2548). การจำแนกเพศปลาบึกด้วยเครื่องหมายโมเลกุล   ดีเอ็นเอ. เชียงใหม่: คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ผู้แต่งเป็นสถาบัน

มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. (2564). วันครู 2564 บุรีรัมย์. บุรีรัมย์: มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

ปริญญานิพนธ์หรือวิทยานิพนธ์

รูปแบบ

ชื่อผู้แต่ง./(ปีที่พิมพ์)./ชื่อเรื่อง./(ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตหรือวิทยานิพนธ์ปริญญา ////////ดุษฎีบัณฑิต/ชื่อสาขาปริญญา)./สถานที่พิมพ์หรือจังหวัด:/ชื่อมหาวิทยาลัย.

 

ปภานิน  สินโน. (2558). ชุดการสอนความเป็นจริงเสริม เรื่อง ชนิดพรรณไม้ สำหรับนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

สื่อโสตทัศน์และสื่ออื่นๆ 

รูปแบบ

ชื่อผู้จัด./(ปีที่ผลิต)./ชื่อเรื่อง./[ลักษณะของสื่อ]./สถานที่ผลิต:/หน่วยงานที่เผยแพร่.

 

กรมศิลปากร. (2564). สื่อประชาสัมพันธ์ : 110 ปี แห่งการสถาปนากรมศิลปากร. [วิดีทัศน์]. กรุงเทพ: กรมศิลปากร.

สารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์

รูปแบบ

ชื่อผู้เขียนบทความ./(ปีที่พิมพ์)./ชื่อบทความ [ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์]./ชื่อวารสาร,/ปีที่(ฉบับที่), ////////เลขหน้าที่ปรากฏ.

 

ธนาธิป  เผ่าพันธุ์. (2562). พลวัตของเพลงพระอาทิตย์ชิงดวงในวัฒนธรรมดนตรีไทย [ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์]. วารสารดนตรีบ้านสมเด็จฯ Bansomdej Music Journal, 1(2),          15-68.

รายงานการวิจัย รายงานทางวิชาการ และรายงานประจำปี

รูปแบบ

ชื่อผู้แต่ง./(ปีที่พิมพ์)./ชื่อเรื่อง/(รายงานการวิจัย)./สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์.

 

เขมปริต  ขุนราชเสนา. (2559). พัฒนาสื่อเสริมการเรียนเรื่องอุปกรณ์ไอซีทีนารูร่วมกับเทคโนโลยีความจริงเสริม (รายงานการวิจัย). เพชรบูรณ์: มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์.

 

วารสาร 

รูปแบบ

ชื่อผู้แต่ง./(ปีที่พิมพ์)./ชื่อบทความ./ชื่อวารสาร,/ปีที่(ฉบับที่),/เลขหน้า.

 

พรทิพย์  กลมดี และ รุจโรจน์  แก้วอุไร. (2563). การพัฒนาแอปพลิเคชันความเป็นจริงเสริม เรื่องระบบสุริยะจักรวาลสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1. วารสารกลุ่มมนุษยสาสตร์ - สังคมศาสตร์, 3(2), 27-35.

นิตยสาร

รูปแบบ

ชื่อผู้เขียนบทความ./(ปี,เดือนที่พิมพ์)./ชื่อบทความ./ชื่อหนังสือนิตยสาร,/ปีที่(ฉบับที่),/เลขหน้า.

 

ปิยะฤทัย  ปิโยพะพงศ์. (2554,พฤศจิกายน). ป่าสัก แก่งคอย บนรอยทางแห่งความสุข. อนุสาร อสท, 52(4), น.106-115.

หนังสือพิมพ์

รูปแบบ

ชื่อผู้เขียนบทความ./(ปี,วันที่ เดือนที่พิมพ์)./ชื่อบทความ./ชื่อหนังสือพิมพ์,/ปีที่(ฉบับที่),/      

////////เลขหน้า.

 

เสกสรร  กิตติทวีสิน. (2555,17 ตุลาคม). หลังสู้ฟ้า-หน้าสู้ดิน. มติชน, น.6.

ข้อมูลจากเว็บไซต์/วิกิพีเดีย

รูปแบบ

ผู้แต่ง./(ปีที่พิมพ์)./ชื่อบทความ./เข้าถึงได้จาก/www.xxxxxxxx. 

 

กระทรวงพาณิชย์. (2559). สถิติการค้าระหว่างประเทศของไทย. เข้าถึงได้จาก www.ops3.moc.go.th.

สารสนเทศประเภท Pree Release รายงานประจำปีไฟล์ประเภท PowerPoint, Blog post, Online Video, Audio Podcast, facebook post,Twitter post เป็นต้น

รูปแบบ

ชื่อผู้เขียน./(ปี,/วันที่/เดือน)./ชื่อเรื่อง./[รูปแบบสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์],/เข้าถึงได้จาก/หรือ Retrieved form/URL หรือเว็บไซต์ของข้อมูล

 

ชาญณรงค์  ราชบัวน้อย. (2552, 15 มีนาคม). ศัพท์บัญญัติการศึกษา. [เว็บบล็อก]. เข้าถึงได้จาก http://www.sornor.org.

 

หมายเหตุ

  1. ผู้แต่งที่เป็นชาวไทยให้ใส่ชื่อและนามสกุล โดยไม่ต้องใส่คำนำหน้าชื่อ ยกเว้นราชทินนาม ฐานันดรศักดิ์ ให้นำไปใส่ท้ายชื่อโดยใช้เครื่องหมายจุลภาคคั่นระหว่างชื่อกับทินนามและฐานันดรศักดิ์ ส่วนสมศักดิ์ให้คงรูปตามเดิม
  2. กรณีผู้แต่ง 2 คน ให้ใส่ชื่อทั้งสองคนตามลำดับที่ปรากฏ เชื่อมด้วยคำว่า “และ” สำหรับเอกสารภาษาไทย และใช้เครื่องหมาย “&” สำหรับเอกสารภาษาต่างประเทศ ระหว่างคนที่ 1 และคนที่ 2 โดยเว้น 1 ระยะก่อนและหลัง
  3. ผู้แต่งที่เป็นชาวต่างประเทศ ให้ขึ้นต้นด้วยชื่อสกุล ตามด้วยอักษรย่อชื่อต้นโดย เว้น 1 ระยะ และอักษรย่อชื่อกลาง (ถ้ามี) ทั้งนี้การกลับชื่อสกุลให้ใช้ตามความนิยมของคนในชาตินั้น โดยใช้เครื่องหมายจุลภาคคั่นระหว่างชื่อสกุลและอักษรย่อชื่อต้น อักษรย่อชื่อกลาง หากกรณีผู้แต่งมีคำต่อท้าย เช่น Jr. หรือคำอื่นๆ ให้ใส่คำดังกล่าวต่อท้ายอักษรย่อชื่อค้นหรืออักษรย่อชื่อต้น (ถ้ามี) โดยคั่นด้วยเครื่องหมายจุลภาค
  4. ผู้แต่งที่เป็นสถาบัน ให้ลงรายการโดยเรียงลำดับจากหน่วยงานใหญ่ไปหาหน่วยงานย่อย และเว้นวรรคจากชื่อหน่วยใหญ่ไปหาชื่อหน่วยงานย่อย

 

วิธีการเรียงบรรณานุกรม 

การเรียงบรรณานุกรมให้หลักการเดียวกับการเรียงคำในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน หรือ Dictionary ที่เป็นที่ยอมรับกันทั่วไป โดยคำที่มีตัวสะกดจัดเรียงไว้ก่อนคำที่มีรูปสระตามลำดับตั้งแต่ กก - กฮ ดังนี้

ก ข ค ฅ ฆ ง จ ฉ ช ซ ฌ ญ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ณ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ฤๅ ล ฦ ฦๅ ว ศ ษ ส ห ฬ อ ฮ 

ส่วนคำที่ขึ้นต้นด้วยพยัญชนะตัวเดียวกัน เรียงลำดับตามรูปสระ ดังนี้

อะ อัว อัวะ อา อำ อิ อี อื อุ อู เอะ เอ เอาะ เอา เอิน เอีย เอียะ เอือ เอือะ แอ แอะ โอ โอะ ใอ ไอ

 

สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้จากแหล่งข้อมูลการอ้างอิงรูปแบบ APA Style 6th Ed. 

  1. www. e-research.siam.edu/wp-content/uploads/2019/04/12-dec-2018-APA-6th-edition-siamuniversity.pdf.  เรียบเรียงโดย วีระนันท์  พิชิตสถิตพงษ์ สำนักงานทรัพยากรสารสนเทศ มหาวิทยาลัยสยาม
  2. https://sac.kku.ac.th/kmsac/research/r19.pdf  จัดทำโดย คณะทำงานฝ่ายวิชาการ PULINET วิชาการ 
  3. https://clib.psu.ac.th/images/ratana/APA-6-edition.pdf  จัดทำโดย ศุลีพร  ช่วยชูวงศ์
  4. https://www.ams.cmu.ac.th/lib/administrator/paper/APA%206th%20New.pdf  โดย ทิพวรรณ สุขรวย บรรณารักษ์ ห้องสมุดคณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่