ผลของกิจกรรมการเรียนรู้สะเต็มศึกษา เรื่องฟาร์มอัจฉริยะที่มีต่อความคิดสร้างสรรค์ ทางวิทยาศาสตร์ ความรู้ความเข้าใจ ความพึงพอใจและทัศนคติต่อกิจกรรม การเรียนรู้สะเต็มศึกษา เรื่องฟาร์มอัจฉริยะของนักศึกษาครูวิทยาศาสตร์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษาที่มีต่อความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ ความรู้ความเข้าใจ ความพึงพอใจและทัศนคติต่อการจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษาเรื่อง ฟาร์มอัจฉริยะ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป คณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์จำนวน 30 คน ซึ่งได้จากการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย (Simple random sampling) ระยะเวลาในการวิจัย จำนวน 12 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา เรื่อง ฟาร์มอัจฉริยะ แบบทดสอบวัดความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ แบบทดสอบวัดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์และเทคโนโลยี เรื่อง ฟาร์มอัจฉริยะ แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ และแบบสำรวจทัศนคติต่อการจัดการเรียนรู้ สำหรับแบบแผนในการทดลองครั้งนี้ได้ใช้การทดลองแบบกลุ่มทดลองกลุ่มเดียววัดผลก่อนและหลังการทดลอง (One group pretest-posttest design) วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีชนิดกลุ่มตัวอย่างที่ไม่เป็นอิสระต่อกัน (Dependent sample t-test) ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษาที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษามีแบบทดสอบวัดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์และเทคโนโลยี เรื่อง ฟาร์มอัจฉริยะและคะแนนความคิดสร้างสรรค์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนผลการศึกษาด้านความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการเรียนรู้อยู่ในระดับมากที่สุดและผลการประเมินทัศนคติต่อการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษาพบว่าอยู่ในระดับมาก
Downloads
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ลิขสิทธิ์เป็นของวารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ อนุญาตให้เผยแพร่เพื่อการศึกษาและวิจัย ในวงการวิชาการ ไม่อนุญาตการใช้ประโยชน์เพื่อการแสวงหากำไร
ข้อความที่ปรากฏในบทความเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้แต่ง ซึ่งวารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ได้ประเมินคุณภาพตามหลักวิชาการ ผลกระทบอันเกิดจากความคิดเห็นของผู้แต่งเป็นความรับผิดชอบของผู้แต่งเอง
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560 - 2579. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.
นารินทร์ ศิริเวช. (2560). การจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาเพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทางวิทยาศาสตร์
และทักษะการคิดแก้ปัญหาในรายวิชาชีววิทยาของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ปริญญา
ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
บุญรัตน์ จันทร เอกภูมิ จันทรขันตี และธีระศักดิ์ วีระภาสพงษ์. (2558). การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ทาง
วิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เรื่อง สมดุลกลโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์. การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 53: สาขาศึกษาศาสตร์, สาขาเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ, สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ : 227-234
ปฏิมาภรณ์ โสรส. (2560). การจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาเพื่อเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญานและ ทักษะการคิดแก้ปัญหาในรายวิชาฟิสิกส์เพิ่มเติม1 ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 . วิทยานิพนธ์ปริญญา
ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม.
ประสาท เนืองเฉลิม. (2558). การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.
ปรเมศวร์ วงศ์ชาชม และกัญญารัตน์ โคจร. (2559). การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และผลสัมฤทธิ์ทางการ
เรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาร่วมกับ
โครงงานเป็นฐาน. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 10 (ฉบับพิเศษ) : 463-474.
พรทิพย์ ศิริภัทราชัย. (2556). STEM Education กับการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21. วารสารนักบริหาร,
(2) : 50-51.
พลศักดิ์ แสงพรมศรี. (2558). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ขั้นสูง
และเจตคติต่อการเรียนเคมี ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษากับแบบปกติ.
วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (หลักสูตรและการสอน). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ภัสสร ติดมา, มลิวรรณ นาคขุนทด และสิรินภา กิจเกื้อกูล. (2558). การจัดการเรียนรู้ตามแนวทาง STEM
Education เรื่อง ระบบของร่างกายมนุษย์ เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนชั้น
มัธยมศึกษาปีที่ 2. วารสารราชพฤกษ์, 13(3) : 71-76.
วิรัดชณา จิตรักศิลป์. (2561). การพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ โดยการจัดการเรียนรู้แบบสะ
เต็มศึกษา เรื่อง แรง การเคลื่อนที่ และพลังงาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารวิชาการหลักสูตร
และการสอน, 10(27) : 87-97.
ศุภวัฒน์ ทรัพย์เกิด. (2559). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างการคิดเชิงประมวลผลด้วยการจัดการเรียนรู้
แบบสะเต็มศึกษา วิชาโปรแกรมและการประยุกต์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนอนุกูลนารี. วิทยานิพนธ์
ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
สิรินภา กิจเกื้อกูล. (2558). สะเต็มศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 17(2) : 201-207.
สุธิดา การีมี. (2560). การใช้กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรมเพื่อเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์และทักษะการ
แก้ปัญหา. สืบค้นเมื่อ 5 มิถุนายน 2563, จาก http://designtechnology.ipst.ac.th/wp-
content/uploads/sites/83/2018/10/Mag-209.pdf/
อภิสิทธิ์ ธงไชย. (2556). “สะเต็มศึกษากับการพัฒนาการศึกษาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์และ
คณิตศาสตร์ในประเทศสหรัฐอเมริกา”. วารสารสมาคมครูวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่ง
ประเทศไทย. 15-18. สืบค้นเมื่อ 27 เมษายน 2561. จาก : www.bu.ac.th/april_june/
อาทิตยา พูนเรือง. (2558). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการแก้ปัญหาทาง
วิทยาศาสตร์ เรื่อง เคมีที่เป็นพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต โดยการจัดการเรียนรู้ ตามแนวทางสะเต็มศึกษา สำหรับ
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ วท.ม (ชีววิทยา). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ.
Dengwansri, N., Suntarak, P., Phonchaiya, S., and Wuttisela, K. (2019). Effects of cooperative
learning incorporated with application on the Android operating system to learning
achievement on periodic table for grade 10 students (in Thai). Journal of Science
and Science Education, 1(1), 61-73.
Lou, S., Shih, R., Diez, C.R., & Tseng, K. (2010). The impact of problem-based learning strategies on
STEM knowledge integration and attitudes: an exploratory study among female Taiwanese
senior high school students. International Journal of Technology and Design Education, 21 : 195-215.
National Research Council (NRC). (2012). A Framework for K-12 Science Education: Practices,
Crosscutting Concepts, and Core Idea. Committee on a Conceptual Framework for
New K-12 Science Education, Division of Behavioral and Social Sciences and Education.
Washington, D.C.