ผลการใช้โปรแกรม Geogebra ร่วมกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยวิธีแบบเปิดที่มีต่อทักษะเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักศึกษาสาขาวิชาคณิตศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

Main Article Content

ธราทิตย์ เกตุหอม
ไพรัชช์ จันทร์งาม
อรรจนีย์ ศรีธรรมศาสน์
อนล สวนประดิษฐ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ร่วมกับการใช้โปรแกรม Geogebra ร่วมกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยวิธีแบบเปิด เรื่องการทดสอบสมมติฐาน 2) เปรียบเทียบทักษะเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์หลังเรียนด้วยโปรแกรม Geogebra ร่วมกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยวิธีแบบเปิด เรื่องการทดสอบสมมติฐาน 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาหลังเรียนด้วยโปรแกรม Geogebra ร่วมกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยวิธีแบบเปิด เรื่อง การทดสอบสมมติฐาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักศึกษาสาขาวิชาคณิตศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ชั้นปีที่ 2 หมู่ 1 จำนวน 27 คน ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการทำวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้โปรแกรม Geogebra ร่วมกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยวิธีแบบเปิด เรื่องการทดสอบสมมติฐาน 2) แบบวัดทักษะเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ 3) แบบประเมินความพึงพอใจ วิเคราะห์โดยใช้ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที


ผลการวิจัย พบว่า
1. การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ร่วมกับการใช้โปรแกรม Geogebra ร่วมกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยวิธีแบบเปิด เรื่องการทดสอบสมมติฐาน จากผู้เชี่ยวชาญ จำนวนทั้งหมด 5 ท่าน ภาพรวมความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด
2. ทักษะเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์หลังเรียนด้วยโปรแกรม Geogebra ร่วมกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยวิธีแบบเปิด เรื่องการทดสอบสมมติฐาน สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ความพึงพอใจของนักศึกษาหลังเรียนด้วยโปรแกรม Geogebra ร่วมกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยวิธีแบบเปิด เรื่องการทดสอบสมมติฐาน มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด


 

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

ณัฐกุล นินนานนท์, ปริณ ทนันชัยบุตร. (2564). การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการแบบเปิด (Open Approach). วารสาร มจร.อุบลปริทรรศน์, (6)1, 19 - 31.

ตติมา ทิพย์จินดาชัยกุล. (2557). ผลการจัดกรรมการเรียนรู้โดยใช้วิธีการแบบเปิด (Open Approach) ที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาและความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. (ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการมัธยมศึกษา). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ทัศตริน เครือทอง. (2553). การใช้การเรียนรู้อย่างอย่างมีบริบท Learning Science in Context. นิตยสาร สสวท, 38(166), 56 – 59.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย เล่ม 1. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ปรีชา เนาว์เย็นผล. (2544). กิจกรรมการเรียนการสอนคณิตศาสตร์โดยใช้การแก้ปัญหาปลายเปิด สำหรับผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. (วิทยานิพนธ์ปริญญานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์ศึกษา). กรุงเทพฯ: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์. (2547). การสอนโดยใช้วิธีการแบบเปิดในชันเรียนคณิตศาสตร์ของญี่ปุ่น. ขอนแก่น: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2543). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

วุฒิชัย ภูดี. (2562). การพัฒนาการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การแปลงทางเรขาคณติ โดยใช้การสอนแบเปิด ด้วยโปรแกรม GeoGebra. รายงานสืบเนื่องการประชุมวิชาการระดับชาติศรีโคตรบูรณ์ศึกษา ครั้งที่ 1. มหาวิทยาลัยนครพนม (หน้า 831 – 841). นครพนม: มหาวิทยาลัยนครพนม.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.). (2550). ทักษะ/ กระบวนการทางคณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.

. (2554). ครูวิทยาศาสตร์มืออาชีพ แนวทางสู่การเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: อินเตอร์เอ็ดดูเคชั่นซัพพลายส์.

. (2560). กรอบการเรียนรู้และแนวทางการจัดประสบการณ์การเรียนรู้บูรณาการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และคณิตศาสตร์ ในระดับปฐมวัยตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย. กรุงเทพฯ: โกโกพริ้น.