การพัฒนาทักษะกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม โดยการจัดการเรียนรู้ตามแนว สะเต็มศึกษา เรื่อง ความกดอากาศและลม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การจัดกิจกรรม ก่อนและหลังจัดกิจกรรมตามแนวทางสะเต็มศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนกู่สวนแตงพิทยาคม 2) เพื่อพัฒนาทักษะการออกแบบเชิงวิศวกรรมด้วยการเรียนรู้ด้วยกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา เรื่อง ความกดออากาศและลม และ 3) เพื่อประเมินความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนกู่สวนแตงพิทยาคมที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนกู่สวนแตงพิทยาคม จำนวน 32 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) โดยมีเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบทดสอบวัดความรู้ ความเข้าใจแนวคิดวิทยาศาสตร์ เรื่อง ความกดอากาศและลมแบบประเมินทักษะกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม แบบประเมินการสร้างโมเดล และแบบประเมินความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา แล้วสรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อหาข้อสรุป สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยของการทดสอบก่อนเรียน เท่ากับ 3.59 คะแนน (S.D. = 1.29) และมีคะแนนเฉลี่ยของการทดสอบหลังเรียน เท่ากับ 10.62 คะแนน (S.D. = 1.60) เมื่อเปรียบเทียบระหว่างคะแนนเฉลี่ยของการสอบก่อนเรียน-หลังเรียน พบว่า คะแนนเฉลี่ยการทดสอบหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ผลการประเมินทักษะการแก้ปัญหาการออกแบบเชิงวิศวกรรมโดยภาพรวม นักเรียนมีทักษะอยู่ในระดับ ดี และดีมาก 3) ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจความชื่นชอบกิจกรรมสะเต็มศึกษาเรื่องความกดอากาศและลมอยู่ในระดับมากที่สุด
Downloads
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ลิขสิทธิ์เป็นของวารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ อนุญาตให้เผยแพร่เพื่อการศึกษาและวิจัย ในวงการวิชาการ ไม่อนุญาตการใช้ประโยชน์เพื่อการแสวงหากำไร
ข้อความที่ปรากฏในบทความเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้แต่ง ซึ่งวารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ได้ประเมินคุณภาพตามหลักวิชาการ ผลกระทบอันเกิดจากความคิดเห็นของผู้แต่งเป็นความรับผิดชอบของผู้แต่งเอง
References
ทิพธัญญา ดวงศรี. (2560). ผลศึกษาเรื่อง การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ของนักเรียนในรายวิชาเคมี เรื่อง อัตราความกดอากาศ และลมชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนมหาวิชนุกูล (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาสารคาม. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
ไตรรงค์ เมธีผาติกุล (2561). การศึกษาวิธีการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการออกแบบเชิง วิศวกรรมตามแนวคิดสะเต็มศึกษาที่ช่วยพัฒนาความริเริ่มสร้างสรรค์และนวัตกรรม เรื่อง สภาพ สมดุล ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). พิษณุโลก. มหาวิทยาลัยณเรศวร สืบค้นจาก https://so02.tci-thaijo.org/ 244175
นราภรณ์ ชัยบัวแดง (2561). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และเจตคติต่อการเรียนวิชาฟิสิกส์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการเรียนรู้สะเต็มศึกษา (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). อุบลราชธานี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. สืบค้นจาก http://www.esanpedia.oar.ubu.ac.th/Naraporn_Chaibuadang
นัสรินทร บือซา (2558). ผลการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา (STEM Education) ที่มีตอผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียนชีววิทยา ความสามารถในการแก้ปัญและความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). ปัตตานี. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. สืบค้นจาก https://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/10625
ปรานวดี อุ่นญาติ (2564). ผลของการจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษาตามแนวทางกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม ร่วมกับเทคนิคสแคมเปอร์ (SCAMPER) ที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์สําหรับ
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). กรุงเทพมหานคร. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สืบค้นจาก http://ir-ithesis.swu.ac.th/ gs591130258
ศิริพร เครือทอง และณัฐกาญจน์ ลีสุขสาม. (2563). การศึกษาทักษะกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรมด้วย
การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา เรื่อง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วารสารศาสตร์การศึกษาและการพัฒนามนุษย์, 4(1), 78-91.
ศูนย์สะเต็มแห่งชาติ. (2557). คู่มือเครือข่ายสะเต็มศึกษา. กรุงเทพมหานคร: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, กระทรวงศึกษาธิการ.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท). (2557). สะเต็มศึกษาและการออกแบบเชิงวิศวกรรม. สืบค้น วันที่ 14 ธันวาคม 2564. จาก https://shorturl.asia/LqdfR
______. (2558). หลักสูตรอบรมศึกษานิเทศ. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลาง การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์ การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
สุธิดา การีมี. (2560). การใช้กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม เพื่อส่งเสริมสร้างสรรค์และทักษะการแก้ปัญหา
ตอนที่ 1. วารสารวิชาการ สาขาเทคโนโลยี สสวท., 46 (209). 23-27. สืบค้นจาก http://designtechnology.ipst.ac.th/wp-content/uploads/sites/83/2018/10/Mag-209.pdf
________. (2561). การใช้กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม เพื่อส่งเสริมสร้างสรรค์และทักษะการแก้ปัญหา
ตอนที่ 2. วารสารวิชาการ สาขาเทคโนโลยี สสวท., 46(210). 46-49. สืบค้นจาก http://designtechnology.ipst.ac.th/wp-content/uploads/sites/83/2018/10/Mag-210.pdf Bradford S Barrett. (2014). Meteorology meets engineering: and inter disciplinary STEM module for middle and early secondary school students, International Journal of STEM Education 2014.