การศึกษากิจกรรมการเรียนการสอนในยุคการเว้นระยะห่างทางสังคมของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์

Main Article Content

อุดม หอมคำ

บทคัดย่อ

          งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากิจกรรมการเรียนการสอนในยุคการเว้นระยะห่างทางสังคม ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ จำนวน 185 คน  เป็นนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสื่อสารการศึกษาและการเรียนรู้ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564  เครื่องมือการวิจัยเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับกิจกรรมการเรียนการสอนในยุคการเว้นระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) มีลักษณะแบบมาตรประมาณค่า โดยสอบถามในประเด็นหลักๆ 3 ประเด็น ได้แก่ 1) กิจกรรมการเรียนการสอนตามที่อาจารย์กำหนด  2)  สิ่งที่เป็นอุปสรรคต่อกิจกรรมการเรียนการสอนในสถานการณ์โควิด-19 และ 3) การปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคโควิด-19    เก็บรวบรวมข้อมูลโดยแจกแบบสอบถามให้นักศึกษากรอกข้อมูลผ่านออนไลน์  และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
          ผลการวิจัย พบว่า
          1. กิจกรรมการเรียนการสอนตามที่อาจารย์กำหนด ในภาพรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก หากพิจารณารายข้อ ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ การควบคุมผู้เรียนโดยการเช็คชื่อในออนไลน์
          2. สิ่งที่เป็นอุปสรรคต่อกิจกรรมการเรียนการสอนในสถานการณ์โควิด-19 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ อาจารย์กำหนดงาน แบบฝึก หรือการบ้าน ให้มากเกินไป
          3. การปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคโควิด-19 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ใส่หน้ากากอนามัยสวมปิดปาก-จมูกตลอดเวลา

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวง อว. (2563). คู่มือและเกณฑ์การปฏิบัติของสถาบันอุดมศึกษาในการจัดการเรียนการการสอน ปีการศึกษา 2563. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www.eng.rmuti.ac.th/2019/?p=956. สืบค้นเมื่อ 15 ม.ค. 2564.

ขจรศักดิ์ สงวนสัตย์. (2564, ก.ย. 7). ประธานกลุ่มวิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา . สัมภาษณ์.

บริษัทโกลบิชอคาเดเมีย(ไทยแลนด์) จํากัด. (2564). รูปแบบการเรียนรับ New normal เพื่อการศึกษา. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://siamrath.co.th/n/158653. สืบค้นเมื่อ 3 มี.ค. 2564.

ปรณต สุวรรณมาลา และ ปรีชา ทิพย์มณฑา. (2563). มาตรการทางกฎหมายในการเฝ้าระวัง การป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อ กับบทบาทและอำนาจหน้าที่ของฝ่ายปกครอง. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://multi.dopa.go.th/lawspecialist/assets/ สืบค้น เมื่อวันที่ 22 มี.ค. 2564.

พรพรรณ จันทร์แดง. (2559). พฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของนิสิตระดบัปริญญาตรีมหาวิทยาลยัพะเยา. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยพะเยา, ปีที่ 4 (ฉบับที่ 2 ), 44-54.

มหาวิทยาลัยราชภัฎสุรินทร์. (2563). แนวทางการจัดการเรียนการสอนปีการศึกษา 2563. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://human.srru.ac.th/2020/06/02. สืบค้น เมื่อวันที่ 20 ม.ค. 2564.

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. (มปท). คู่มือการใช้งานระบบ E-learning ด้วย Moodle 2.7 สำหรับอาจารย์ผู้สอน. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

รินรดา เดชสุวรรณาชัย. (2522). ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการป้องกัน COVID-19 ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารสถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง. 6(2) : 1-15.

อุดม หอมคำ. (2564). แผนการบริหารประจำวิชา. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www.uuddoomm.blogspot.com. สืบค้น เมื่อวันที่ 17 มี.ค. 2564.

B.F.Skiner.(1954). The Science of Learning and the Art of Teaching. Harvard Education Review. 24(2) : 86-97.