ความต้องการศึกษาต่อหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตร และการจัดการเรียนรู้ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ความต้องการศึกษาต่อหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตร และการจัดการเรียนรู้ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

Main Article Content

ชัษษพณขิ์ จันวงค์เดือน
เบญจพร วรรณูปถัมภ์
สุเทียบ ละอองทอง
วันทนีย์ นามสวัสดิ์
เฉลิมชัย เจริญเกียรติกานต์

บทคัดย่อ

งานวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการศึกษาต่อหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่  กลุ่มบัณฑิตที่จบการศึกษาระดับปริญญาโท คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ จำนวน 80 คน และครูและบุคลากรทางการศึกษา ทั้งภาครัฐและเอกชนที่สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาโท ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 20 คน โดยการเลือกแบบเจาะจงเครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละและการวิเคราะห์เนื้อหา


              ผลการวิจัย พบว่า 1) ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 41 ปีขึ้นไป จบการศึกษาปริญญาโท จบจากคณะครุศาสตร์ มีอาชีพรับราชการ และทำงานในโรงเรียนรัฐบาล 2) ความต้องการศึกษาต่อหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัย             ราชภัฏบุรีรัมย์ พบว่า ต้องการศึกษาต่อ จำนวน 92 คน จาก 100 คน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อความก้าวหน้าในอาชีพ การตัดสินใจศึกษาต่อเพราะมาตรฐานด้านหลักสูตร ส่วนใหญ่จบเกี่ยวกับสาขาวิชาหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ อยากให้เก็บค่าธรรมเนียมแบบแบ่งจ่ายเป็นภาคการศึกษา ต้องการให้จัดการเรียนรู้           เป็นภาคพิเศษ วันเสาร์-อาทิตย์ จัดแบบผสมผสาน ทั้งออนไลน์และออนไซต์ อยากให้เชิญอาจารย์พิเศษที่มีชื่อเสียงในประเทศมาร่วมสอน/เป็นที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ การดูงานให้มีทั้งในและต่างประเทศและต้องการแบบแผนที่มีการทำวิทยานิพนธ์ และศึกษารายวิชา 3) ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม โดยสิ่งที่ต้องการ            เป็นพิเศษ คือ การจัดการศึกษาที่สอดคล้องกับบริบทในปัจจุบัน จัดทำหลักสูตรที่ใช้ได้จริง หลักสูตรบูรณาการ รูปแบบการสอน วิชาชีพครู เทคนิคการสอน ด้านหลักสูตร คือ การเรียนไปพร้อมกับการทำวิทยานิพนธ์ การปรับปรุงหลักสูตร หลักสูตรที่หลากหลาย ด้านการจัดการเรียนรู้ คือ การเรียนออนไลน์ อยากให้มีวัสดุ อุปกรณ์ สิ่งอำนวยความสะดวกที่พิเศษกว่าห้องเรียนระดับปริญญาตรีและโท อยากให้มีเรียนวันเดียว เชิญวิทยากรจากภายนอกมาร่วมบรรยาย ลดภาระงาน การเรียนเชิงรุก การฝึกคิด เรียนแบบผสมผสาน การใช้เทคโนโลยี นวัตกรรมใหม่ๆ การศึกษาแบบเรียนรวม ส่วนด้านอื่นๆ คือ การสร้างกัลยาณมิตร ที่ดีร่วมกัน การทำงานเป็นทีม การเข้าใจผู้เรียน และการศึกษาดูงานโรงเรียนต้นแบบในต่างประเทศ

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

ชัษษพณขิ์ จันวงค์เดือน , คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

Edu

References

กิตติชัย สุธาสิโนบล. (2559). การจัดการเรียนการสอนแบบพุทธะเพื่อพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม

สำหรับนักเรียน. กรุงเทพฯ: คอมเมอร์เชียลเวิลด์ มีเดีย.

คุณอานันท์ นิรมล ชัชวาล ชุมรักษา และขรรค์ชัย แซ่แต้. (2560). ความต้องการศึกษาต่อ

หลักสูตรปริญญาเอก สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์

มหาวิทยาลัยทักษิณ. JOURNAL OF NAKHONRATCHASIMA COLLEGE, 12(2), 11-25.

บุญมี เณรยอด. (2536). หลักการบริหารวานวิชาการในโรงเรียน. เอกสารในการสัมมนาผู้บริหาร

ระดับสูงของกรมสามัญศึกษา, 12(12), 36.

ประสาท เนืองเฉลิม. (2560). วิจัยการเรียนการสอน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2551). จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพฯ: ศูนย์สื่อกรุงเทพ.

พัชราภา ตันติชูเวช และคณะ. (2564). ความต้องการศึกษาต่อระดับบัณฑิตศึกษา สาขาวิชา

การบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์และพัฒนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

วิทยาเขตกำแพงแสน. วารสารบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 9(36), .30-49.

สงัด อุทรานันท์. (2532). พื้นฐานและหลักการพัฒนาหลักสูตร. กรุงเทพฯ: ภาควิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สรัญญา สุขเพิ่ม. (2556). ความต้องการของนิสิตต่อการบริหารด้านหอพักนิสิต มหาวิทยาลัยนเรศวร. พิษณุโลก: กองทุนวิจัยมหาวิทยาลัยนเรศวร.

Bobbitt, F. (1918). The Curriculum. Boston: Houghton Mifflin Co.

Lawis, A. J., & Miel, A. (1972). Supervision for improved instruction. Wadsworth Publishing Company.

Ragan, W. W & Shepherd, G. D. (1977). Modern elementary curriculum (fifth edition).

New York: Holt.

Taba, H. (1962). Curriculum development theory and practice. New York: Harcourt, Brace & World, INC.

Trump, J. L., & Miller, D. F. (1968). Secondary school curriculum improvement. Allyn and Bacon.