การพัฒนาทักษะทางคณิตศาสตร์ของผู้เรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาระดับก่อนชั้นประถมศึกษาด้วยการเล่านิทาน ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดร้อยเอ็ด

Main Article Content

จิราพร ฤาชัยราม
ปาริชาติ ประเสริฐสังข์

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องการพัฒนาทักษะทางคณิตศาสตร์ด้วนการเล่านิทานสำหรับผู้เรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาระดับก่อนชั้นประถมศึกษา ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดร้อยเอ็ดเป็นการเชิงทดลองแบบกลุ่มตัวอย่างเชิงเดี่ยว (Single Subject Design) รูปแบบ A-B-A ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาทักษะทางคณิตศาสตร์ของผู้เรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาด้วยการเล่านิทาน กลุ่มเป้าหมายเป็นผู้เรียนอยู่ในระดับก่อนชั้นประถมศึกษา ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดร้อยเอ็ด จำนวน 1 คน อายุ 8 ปี ได้รับการวินิจฉัยขั้นต้นว่าเป็นเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา มีระดับเชาวน์ปัญญาอยู่ที่ 50-70 ได้แก่ ผู้เรียนที่เรียนอยู่ระดับก่อนชั้นประถมศึกษา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดร้อยเอ็ด จำนวน 1 คน ได้มาด้วยวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แผนการจัดกิจกรรมการเล่านิทาน จำนวน 6 แผน หนังสือนิทานประกอบภาพ แบบวัดทักษะทางคณิตศาสตร์ของผู้เรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ผลการวิจัยพบว่า ทักษะทางคณิตศาสตร์ของผู้เรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาระดับก่อนชั้นประถมศึกษาด้วยการเล่านิทาน ทั้ง 3 ระยะ คือระยะเส้นฐาน (A1) ระยะทดลอง (B) ระยะหลังการทดลอง (A2) ในระยะหลังการทดลองได้ดีกว่าระยะเส้นฐาน

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ: สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.

เกริก ยุ้นพันธ์. (2547). การเล่านิทาน. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ดวงใจ ทัดมาลา. (2559). การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยใช้กิจกรรมการเล่านิทาน. (วิทยานิพนธ์ ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการเรียนการสอน). มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, มหาสารคาม.

เนตรนภา ช่องงาม. (2560). การพัฒนาทักษะทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย โดยใช้นิทานและวรรณกรรม. (สารนิพนธ์ ปริญญาการศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย). มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, กรุงเทพฯ.

บวร งามศิริอุดม. (2554). การเล่านิทานสำหรับเด็กปฐมวัย. เข้าถึงได้จาก http://kanokarpa-ec.blogspot.com/2011/01/blog-post_3469.html.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ประภัสสร เจนเชี่ยวชาญ. (2565). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเล่านิทาน เพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3. (วิทยานิพนธ์ ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการเรียนการสอน). มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด, ร้อยเอ็ด.

ผดุง อารยะวิญญู. (2533). การศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ. กรุงเทพฯ: บรรณกิจเทรดดิ้ง.

ผ่องพรรณ ตรัยมงคลกูล และสุภาพ ฉัตราภรณ์. (2553). การออกแบบการวิจัย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

พรชัย ผาดไธสง. (2560). การพัฒนาหลักสูตร. นครราชสีมา: โฟโต้บุ๊คดอทเน็ต.

ยุพิน พิพิธกุล. (2530). การสอนคณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ: ภาควิชาการมัธยมศึกษา คณะคุรุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

วาโร เพ็งสวัสดิ์. (2541). การวัดผลและประเมินความพร้อมสำหรับเด็กอนุบาล : ด้านภาษา อารมณ์และจิตใจ. วารสารการวัดผลการศึกษามหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 4(1), 48-57

วิไล มาศจรัส. (2545). เทคนิคการเขียน การเล่านิทานสำหรับเด็ก. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: มิติใหม่.

ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดร้อยเอ็ด. (2564). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย สำหรับเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ ตั้งแต่แรกเกิด-6 ปี สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. ร้อยเอ็ด: ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดร้อยเอ็ด.

สมศักดิ์ ปริปุรณะ. (2550). นิทานความสำคัญและประโยชน์. ราชบุรี: สถาบันราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง.

สุดารัตน์ เสรีวัฒน์. (2522). ตำราและเอกสารวิชาการ หน่วยศึกษานิเทศก์. กรุงเทพฯ: ภาคพัฒนา.

สุพัตรา สุขงามเจริญ. (2555). การใช้นิทานเพื่อพัฒนาทักษะทางคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาลวัดชุมพลคีรี. (วิทยานิพนธ์ ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน). มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่, เชียงใหม่.

สุมาลี ชัยเจริญ. (2545). ทฤษฎีการออกแบบการสอนในกระบวนทัศน์ใหม่. ขอนแก่น: ภาควิชาเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.