การใช้หลักฟิสิกส์วิเคราะห์การเคลื่อนที่ของลูกเปตองและคำนวณความแม่นยำ
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้นำเสนอการประยุกต์ใช้การคำนวณแรงและการวัดระยะในกีฬาเปตอง ซึ่งเป็นกีฬาที่ต้องใช้ความแม่นยำในการโยนลูกให้ใกล้ลูกเป้ามากที่สุด การศึกษาเน้นการวิเคราะห์การเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์ โดยใช้สมการฟิสิกส์ในการคำนวณแรงเริ่มต้น ความเร็ว และมุมโยนที่เหมาะสม ผลการวิเคราะห์แสดงให้เห็นว่าปัจจัยต่างๆ เช่น แรงเสียดทานจากพื้นสนาม ความเร็วเริ่มต้น และมุมการโยน ส่งผลต่อการเคลื่อนที่ของลูกเปตองและระยะทางที่ลูกจะหยุด นอกจากนี้ ยังได้กล่าวถึงการเลือกใช้ประเภทของสนาม เช่น สนามกรวด สนามดิน และสนามหญ้า ที่มีแรงเสียดทานแตกต่างกัน รวมถึงการใช้เครื่องมือวัดระยะ เช่น เทปวัดระยะ และการวัดแรงเสียดทาน เพื่อเพิ่มความแม่นยำในการตัดสินผลการแข่งขัน บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความเข้าใจที่ลึกซึ้งเกี่ยวกับคำนวณและการวัดระยะในกีฬาเปตอง และเสนอแนวทางในการพัฒนาทักษะของผู้เล่นโดยใช้ข้อมูลทางฟิสิกส์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเล่นและการฝึกซ้อม
Downloads
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ลิขสิทธิ์เป็นของวารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ อนุญาตให้เผยแพร่เพื่อการศึกษาและวิจัย ในวงการวิชาการ ไม่อนุญาตการใช้ประโยชน์เพื่อการแสวงหากำไร
ข้อความที่ปรากฏในบทความเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้แต่ง ซึ่งวารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ได้ประเมินคุณภาพตามหลักวิชาการ ผลกระทบอันเกิดจากความคิดเห็นของผู้แต่งเป็นความรับผิดชอบของผู้แต่งเอง
References
จิตติ ชนะฤทธิชัย, สุรสีห์ ฉิ่งถิน, พราม อินพรม, และ ศักดิ์ชาย พิทักษ์วงศ์. (2555). “การศึกษาการบริหารจัดการสนามกีฬาองค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่.” Journal of Education and Innovation, 14(2), Article 2.
จุฑามาศ ช้างคำ, ปิยรัตน์ มูลศรี, และ อาทิตย์ หู้เต็ม. (2565). “แบบจำลองการเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์ ภายใต้แรงภายนอกที่ขึ้นอยู่กับเวลา.” วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 17(2), Article 2.
ณิชากร ปทุมรังสรรค์, และ กิตติยา ปัณษา. (2565). “การจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษาเรื่องแรงเสียดทานเพื่อพัฒนากระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5.” Muban Chombueng Rajabhat University Research Journal (Humanities and Social Science), 10(1), Article 1.
ธนวรรณพร ศรีเมือง, ธีระศักดิ์ วรรณสา, และ พินิจ ชัยศิรินทร์. (2564). “ผลของการใช้ยางยืดออกกําลังกายเพื่อฝึกความแข็งแรงกล้ามเนื้อของแขนที่มีผลต่อความแม่นยําในการโยนลูกเปตองของนักกีฬาเปตองมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม”. Journal of Education Rajabhat Maha Sarakham University, 18(1), Article 1.
นนทรัฐ บำรุงเกียรติ, และ พีรญา เต่าทอง. (2564). “โปรแกรมคอมพิวเตอร์วิทัศน์เพื่อการตรวจสอบความถูกต้อง ของท่าออกกำลังกายสควอซ.” Wittayasara: Integration Apply Engineering and Industrial Technology, 14(2), Article 2.
นัท กุลวานิช, และ อัครินทร์ ไพบูลย์พานิช. (2562). “การเปรียบเทียบมาตรวัดระยะห่างในการวิเคราะห์การจัดกลุ่มสำหรับข้อมูลอนุกรมเวลา.” Thai Science and Technology Journal, 27(6), 1002–1014.
บุญตา ค้าขาย, ยุพาพร สุวะไกร, ประเวท เกษกัน, กิตติกุล รัตนรังสีกุล, & กิตติพงษ์ เพ็งศรี. (2567). “การวิเคราะห์มุมและการจำลองการทำงานไดนามิกส์ข้อต่อในการวิ่งระยะสั้นของนักกรีฑาเยาวชนทีมชาติไทย.” Thai Journal of Health, Physical Education and Recreation, 50(1), Article 1.
ลัดสะหมี คุณพะจันสี, ภัทราพร เกษสังข์, และ วิทย นาควิเชียร. (2557). “ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ในโรงเรียนสังกัดแผนกศึกษาธิการและกีฬาแขวงหลวงพระบางสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว.” Research and Development Journal, Loei Rajabhat University, 9(29), 59-71.
วิมณเทียร เพาะบุญ, และ วรพงษ์ แย้มงามเหลือ. (2023). “The Norms – Referenced of Physical Fitness for Basketball Referee of Thai Basketball Professional Association.” Thai Journal of Health, Physical Education and Recreation, 49(2), Article 2.
ศิขร โล่ห์พงค์, สุนทรา กล้าณรงค์, และ วิไลพิน ทองประเสริฐ. (2558). “ผลของการฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแขนท่อนล่างโดยวิธีฝึกด้วยดัมเบลที่มีต่อความแม่นยำในการตีลูกเปตอง.” Princess of Naradhiwas University Journal, 7(1), Article 1.