การประมาณค่าเส้นพรมแดนการผลิต (production frontier) ภายใต้ฟังก์ชันเกณฑ์ (criterion function) ด้วยวิธีความควรจะเป็นสูงสุด (maximum likelihood)
Abstract
บทคัดย่อ
การประมาณค่าเส้นพรมแดนการผลิต (production frontier) เชิงประจักษ์ในหลายกรณีมีปัญหาเนื่องจากตัวอย่างที่ได้มามีลักษณะไม่ใช่ตัวอย่างสุ่ม (non random sample) อันเนื่องมาจากผู้ผลิต (เกษตรกร) มีทางเลือกและต้องตัดสินใจในการเลือกผลิต ทำให้ค่าประมาณของสัมประสิทธิ์เส้นพรมแดนการผลิตแบบดั้งเดิมมีลักษณะเอนเอียง (biased) การศึกษานี้จึงได้พัฒนาวิธีการประมาณค่าเส้นพรมแดนการผลิตเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว เกษตรกรจะต้องทำการตัดสินใจก่อนการผลิตโดยผ่านฟังก์ชัน (การตัดสินใจ) ซึ่งทำให้ข้อมูลที่เก็บมาได้จากเกษตรกรเป็นตัวอย่างที่ไม่มีลักษณะเชิงสุ่ม (non random sample) ซึ่งทำให้ค่าประมาณ (estimates) ของสัมประสิทธิ์ของฟังก์ชันพรมแดนการผลิตมีลักษณะเอนเอียง (biased) (Greene, 1995; p637) และจากการตรวจสอบเอกสารยังไม่พบว่ามีการศึกษาในด้านนี้ การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาวิธีการประมาณค่าฟังก์ชันพรมแดนการผลิตภายใต้ฟังก์ชันเกณฑ์ (การตัดสินใจ)
Downloads
Issue
Section
License
All opinions and contents in the CMJE are the responsibility of the author(s). Chiang Mai University Journal of Economics reserves the copyright for all published materials. Papers may not be reproduced in any form without the written permission from Chiang Mai University Journal of Economics.
ข้อคิดเห็นที่ปรากฏและแสดงในเนื้อหาบทความต่างๆในวารสารเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ถือเป็นความเห็นและความรับผิดชอบโดยตรงของผู้เขียนบทความนั้นๆ มิใช่เป็นความเห็นและความรับผิดชอบใดๆของวารสารเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
บทความ เนื้อหา และข้อมูล ฯลฯ ในวารสารเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ถือเป็นลิขสิทธิ์เฉพาะของคณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จากวารสารเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่