แนวทางการจัดเก็บภาษีสิ่งแวดล้อมในประเทศไทยและข้อวิจารณ์ร่าง พรบ.โรงงาน

Authors

  • ดิเรก ปัทมสิริวัฒน์

Abstract

สรุป

            บทความนี้เสนอแนะว่า นโยบายสิ่งแวดล้อมของประเทศไทยที่ผ่านมา ส่วนใหญ่เป็นการใช้มาตรการบังคับ ผ่านกฎหมายและระเบียบ ซึ่งได้ผลดีระดับหนึ่ง แต่ปัญหาสิ่งแวดล้อมในอนาคตมีลักษณะซับซ้อนยิ่งขึ้น ทางการจะต้องมีเครื่องมืออื่นๆมาเสริม การใช้ภาษีสิ่งแวดล้อมเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์ (economic instruments) ซึ่งสามารถนำมาช่วยการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ซึ่งจะมีผลต่อราคาสินค้า และจูงใจให้ผู้ผลิต/ผู้บริโภคประหยัดการใช้ทรัพยากร ให้ความร่วมมือกับภาครัฐในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม

            บทความนี้ชี้ว่ามีเครื่องมือหลายอย่างไรที่สามารถนำมาใช้ได้ เช่น ภาษีมลพิษ การกำหนดค่าธรรมเนียมที่เหมาะสม การมัดจำ และperformance bond บทความเสนอความเห็นสนับสนุนให้รัฐ จัดเก็บภาษีสิ่งแวดล้อม ควบคู่กับการลดอัตราภาษีชนิดอื่น ซึ่งจะทำให้สังคมไทย “ได้กำไรสองต่อ” (Double Dividend Hypothesis) ทั้งนี้ให้รายรับของรัฐบาลคงเดิม และได้เสนอตัวอย่างมาด้วย

            สุดท้ายผู้เขียนเสนอข้อวิจารณ์ร่างพระราชบัญญัติโรงงาน ซึ่งกรมโรงงานได้ยกร่างโดยจะมีการจัดเก็บ “ภาษีมลพิษ” จากโรงงาน ถึงแม้ผู้เขียนเห็นพ้องว่า ร่างกฎหมายฉบับนี้มีข้อดีหลายประการและมีความริเริ่มให้ “หน่วยที่สาม” เข้ามาทำหน้าที่ตรวจสอบมลพิษจากโรงงาน แต่ร่างกฎหมายฉบับนี้มีข้อบกพร่องหลายประการที่ควรจะแก้ไข เพิ่มเติมให้มีความชัดเจน คำนึงถึง revenue recycle กล่าวคือให้กระจายเงินรายได้จากการจัดเก็บให้ภูมิภาคและท้องถิ่นซึ่งจะต้องทำหน้าที่แก้ไข/บรรเทาปัญหาสิ่งแวดล้อม

 

Published

2017-11-16