เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน เพื่อส่งบทความ

ในขั้นตอนการส่งบทความ ผู้แต่งต้องตรวจสอบและปฏิบัติตามข้อกำหนดรายการตรวจสอบการส่งทุกข้อ ดังต่อไปนี้ และบทความอาจถูกส่งคืนให้กับผู้แต่งกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดทั้งหมด

  • ไฟล์บทความ Word และ PDF จำนวนคำไม่ต่ำกว่า 5,000 คำ แต่ไม่เกินกว่า 10,000 คำ (ไม่รวมจำนวนคำในบทคัดย่อทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ) โดยใช้ Template วารสารฯ ที่กำหนดให้
  • บทความวิชาการ บทความวิจารณ์หนังสือ (book review) หรือ บทความปริทัศน์ (review article) ที่นำเสนอองค์ความรู้ แนวคิด ทฤษฎี การวิจัย ข้อค้นพบใหม่ อันเกี่ยวเนื่องและครอบคลุมเนื้อหาเกี่ยวกับกฎหมายทุกสาขา เช่น กฎหมายมหาชน กฎหมายเอกชน กฎหมายอาญา กฎหมายระหว่างประเทศ เป็นต้น ซึ่งสัมพันธ์กับความรู้ทางด้านสังคมศาสตร์ในสาขาต่างๆ
  • บทความของท่านมีชื่อ - นามสกุล หน่วยงานที่สังกัด ที่อยู่ บทคัดย่อ และคำสำคัญ 3 - 5 คำ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
  • การอ้างอิงบรรณานุกรมตรงตามหลักเกณฑ์ของวารสาร CMU Journal of Law and Social Sciences รายละเอียดการอ้างอิงเพิ่มเติมสามารถดาวน์โหลดได้ที่เว็บไซต์วารสาร CMU Journal of Law and Social Sciences ออนไลน์ (ThaiJO)
  • บทความนี้ไม่เคยลงตีพิมพ์ในวารสารใดมาก่อน และจะไม่นำส่งไปเพื่อพิจารณาลงตีพิมพ์ในวารสารอื่นๆ อีก นับจากวันที่ข้าพเจ้าได้ส่งบทความฉบับนี้มายังกองบรรณาธิการวารสาร CMU Journal of Law and Social Sciences
  • The text adheres to the stylistic and bibliographic requirements outlined in the Author Guidelines, which is found in About the Journal. If submitting to a peer-reviewed section of the journal, the instructions in Ensuring a Blind Review have been followed.

คู่มือการจัดทําบทความลงวารสาร CMU Journal of Law and Social Sciences ฉบับเต็ม ดาวน์โหลด คลิก

หลักปฏิบัติการจัดทำบทความเพื่อพิจารณาเผยแพร่ในวารสาร

 วารสาร CMU Journal of Law and Social Sciences

ของคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

กำหนดออกปีละ 2 ฉบับ

ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน

ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม

  1. 1.ประเภทของบทความที่รับตีพิมพ์เผยแพร่

 1.1 บทความวิจัย บทความวิชาการ ที่นำเสนอองค์ความรู้ แนวคิด ทฤษฎี การวิจัย ข้อค้นพบใหม่ อันเกี่ยวเนื่องและครอบคลุมเนื้อหาเกี่ยวกับกฎหมายทุกสาขา เช่น กฎหมายมหาชน กฎหมายเอกชน กฎหมายอาญา กฎหมายระหว่างประเทศ  เป็นต้น ซึ่งสัมพันธ์กับความรู้ทางด้านสังคมศาสตร์ในสาขาต่างๆ

1.2 บทความวิจารณ์หนังสือ (book review) หรือ บทความปริทัศน์ (review article)  อันเกี่ยวเนื่องและครอบคลุมเนื้อหาเกี่ยวกับกฎหมายทุกสาขา เช่น กฎหมายมหาชน กฎหมายเอกชน กฎหมายอาญา กฎหมายระหว่างประเทศ  เป็นต้น ซึ่งสัมพันธ์กับความรู้ทางด้านสังคมศาสตร์ในสาขาต่างๆ

  1. 2.การเตรียมต้นฉบับบทความ

2.1 แบบอักษร ต้นฉบับบทความทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ให้ใช้ขนาดกระดาษ B5 แบบอักษร TH Sarabun New ขนาด 14.5 Point และ ขนาด 11.5 Point สำหรับเชิงอรรถอ้างอิง และเชิงอรรณอธิบาย สำหรับตัวเลขให้ใช้เลขอารบิกทุกกรณี

2.2 ไฟล์บทความ ให้ใช้ไฟล์ นามสกุล .docx เท่านั้น

2.3 ไฟล์ภาพประกอบ ให้ใช้ไฟล์ภาพประกอบ นามสกุล .jpg, .jpeg หรือ TIFF ความละเอียด 300 pixel/high resolution ขึ้นไป ขนาดไฟล์ไม่ต่ำกว่า 500 KB พร้อมกำหนดเลขลำดับภาพให้ตรงกับเลขลำดับภาพในเนื้อหา

  1. 3.องค์ประกอบของต้นฉบับบทความ

องค์ประกอบของบทความต้นฉบับให้เรียงตามลำดับ ดังนี้ 3.1 ชื่อบทความ ชื่อผู้เขียนบทความ สังกัดผู้เขียน บทคัดย่อ และคำสำคัญ 3.2 เนื้อหา การอ้างอิง ภาพประกอบ 3.3 บรรณานุกรม

3.1 ชื่อบทความ ผู้เขียนบทความ บทคัดย่อ และคำสำคัญ

3.1.1 ชื่อบทความ (Title) ทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ ชื่อบทความควรกระชับ ได้ใจความ ครอบคลุมสาระของบทความ ไม่ควรยาว และมีความสอดคล้องกันระหว่างภาษาไทยและภาษาอังกฤษ หากผู้เขียนประสงค์จะคงชื่อเดิมของรายงานวิจัยที่มีขนาดยาว ให้ใส่ไว้ในเชิงอรรถอธิบายหน้าเดียวกับชื่อบทความทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

3.1.2 ผู้เขียนบทความ (Author) ระบุชื่อ-นามสกุล ผู้เขียนทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ และไม่ควรระบุตำแหน่งทางวิชาการ ยศ ตำแหน่งทางทหาร คำนำหน้าชื่อ รวมทั้งสถานภาพ (อาทิ นักศึกษาปริญญาเอก, อาจารย์ที่ปรึกษา, คณบดี) ทั้งที่ด้านหน้า และท้ายชื่อผู้แต่ง

3.1.3 สังกัดผู้เขียน (Affiliation) ระบุชื่อหน่วยงานที่ผู้เขียนสังกัด โดยเรียงจากหน่วยงานระดับต้นไปจนถึงหน่วยงานหลัก รวมถึงที่อยู่ด้วย ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ และต้องใส่ อี-เมล์ ติดต่อ ด้วย หากมีผู้เขียนหลายคนให้ใส่ เฉพาะ อี-เมล์ของผู้เขียนหลัก (Corresponding author)

3.1.3 บทคัดย่อ (Abstract) ทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ ความยาวตั้งแต่ 350 คำ แต่ไม่เกิน 500 คำ (การนับจำนวนคำถือตาม Microsoft Word เป็นสำคัญ) โดยให้คำนึงถึงหลักการ 3 ข้อ คือ (1) มีความสั้น กะทัดรัดและกระชับ (Concision) คือ เลือกเฉพาะสาระที่เป็นประเด็นใจความสำคัญของเอกสาร (2) มีความถูกต้อง (Precision) คือ สามารถถ่ายทอดประเด็นสำคัญของเอกสารได้อย่างถูกต้อง (3) มีความชัดเจน (Clarity) การเรียบเรียงถ้อยคำเพื่อเสนอในบทคัดย่อจะต้องสื่อความหมายให้เข้าใจชัดเจน

3.1.4 คำสำคัญ (Keyword) ระบุคำสำคัญตั้งแต่ 3 คำ แต่ไม่เกินกว่า 5 คำ โดยคำสำคัญแต่ละคำ ให้แสดงทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษซึ่งที่มีความหมายตรงกันทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ

     3.2 เนื้อหา การอ้างอิง ภาพประกอบ

3.2.1 จำนวนคำ บทความต้องมีจำนวนคำเฉพาะในส่วนของเนื้อหา (ไม่รวมจำนวนคำในบทคัดย่อทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ) ไม่ต่ำกว่า 5,000 คำ (ห้าพันคำถ้วน) แต่ไม่เกินกว่า 10,000 คำ (หนึ่งหมื่นคำถ้วน)  (การนับจำนวนคำถือตาม Microsoft Word เป็นสำคัญ)

3.2.2 เนื้อหาของบทความ ควรมีคุณภาพของบทความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์และขอบเขตของวารสาร โดยมีองค์ประกอบของบทความที่ง่ายต่อการอ่านบทความ รวมถึงเป็นองค์ความรู้ใหม่ในวงวิชาการ 

3.2.3 การอ้างอิง  ผู้เขียนให้ใช้แบบเชิงอรรถ ตามหลักเกณฑ์ Turabian ซึ่งจะอธิบายในหัวข้อถัดไป

3.2.4 ข้อมูลประเภทภาพประกอบ แผนผัง แผนภาพ ให้แทรกระหว่างเนื้อหาและอยู่ในเนื้อหาที่อ้างอิงถึง พร้อมระบุข้อมูลที่เกี่ยวข้องได้แก่ เลขลำดับ คำอธิบาย และแหล่งที่มา ด้วย นอกจากนี้ ตารางทุกตารางต้องมีเลขกำกับเพื่อให้อ้างถึงได้ง่าย โดยลำดับเลขตารางต่อกันไป เช่น ตาราง 1 ตาราง 2 ตาราง 3 เรียงกันไป จัดพิมพ์ตรงกลางห่างจากขอบซ้ายและขอบขวากระดาษเท่ากัน ในบรรทัดต่อมาให้พิมพ์ชื่อตาราง หากมีการอ้างอิงตารางใด ก็ให้อ้างถึงเลขกำกับตารางนั้นด้วยทุกครั้ง ส่วนภาพประกอบต่างๆ ให้ใช้แนวปฏิบัติเช่นเดียวกับเรื่องตารางที่กล่าวมาแล้ว เช่น ภาพ 1 ภาพ 3 โดยถ้าเป็นภาพถ่ายควรใช้ภาพขาวดำ

3.3 บรรณานุกรม

3.3.1 บรรณานุกรม ให้ใช้หลักเกณฑ์ Turabian

3.4 บทความวิจารณ์หนังสือ หรือบทความปริทัศน์

3.4.1 ชื่อบทความ กรณีเป็นบทความวิจารณ์หนังสือ ให้ขึ้นต้นว่า บทวิจารณ์หนังสือ ตามด้วยชื่อหนังสือ และชื่อ-นามสกุลของผู้เขียนหนังสือ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ กรณีเป็นบทความปริทัศน์ ให้ขึ้นต้นด้วยบทความปริทัศน์ ตามด้วยชื่อบทความ และชื่อ-นามสกุลผู้เขียนบทความ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ยกเว้นชื่อหนังสือหรือบทความภาษาอังกฤษ ไม่จำเป็นต้องใส่ชื่อภาษาไทย

3.4.2 ผู้เขียนบทความ  ระบุชื่อ-นามสกุล ผู้เขียนทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ และไม่ควรระบุตำแหน่งทางวิชาการ ยศ ตำแหน่งทางทหาร คำนำหน้าชื่อ รวมทั้งสถานภาพ (อาทิ นักศึกษาปริญญาเอก, อาจารย์ที่ปรึกษา, คณบดี) ทั้งที่ด้านหน้า และท้ายชื่อผู้แต่ง

  1. 4.การส่งต้นฉบับบทความ และการติดต่อสอบถาม

4.1 การส่งต้นฉบับบทความ

ผู้เขียนต้องส่งต้นฉบับบทความผ่านระบบวารสาร CMU Journal of Law and Social Sciences ออนไลน์ (ระบบ ThaiJO) ของศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI) ให้ถือว่าวันที่ผู้เขียนส่งบทความเป็นวันรับบทความ (received) https://so01.tci-thaijo.org/index.php/CMUJLSS/about/submissions

4.2 การติดต่อสอบถาม

ฝ่ายจัดการวารสาร

กองบรรณาธิการ CMU Journal of Law and Social Sciences

คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

239 ถนนห้วยแก้ว ตำบลสุเทพ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ 50200

โทร: 053-942921 หรือ Email: cmujlss@gmail.com

https://www.facebook.com/CMUJLSS/