การศึกษาแนวทางการพัฒนา นโยบาย กฎหมาย กฎระเบียบข้อบังคับต่างๆ เกี่ยวกับการส่งเสริมการค้าชายแดน การลงทุน การท่องเที่ยว และการคมนาคมขนส่งภายใต้บริบทประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน: กรณีศึกษา ตำบลช่องเม็ก อำเภอสิรินธร กับเมืองปากเซ แขวงจำปาสัก

Main Article Content

Praphanrat Sukdit
Apichit Euariyakul

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1. นโยบาย กฎหมาย กฎระเบียบข้อบังคับ เกี่ยวกับการส่งเสริมการค้าชายแดน การลงทุน การท่องเที่ยวและการคมนาคมขนส่ง ระหว่างตำบลช่องเม็ก อำเภอสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี และเมืองปากเซ แขวงจำปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว 2. สถานการณ์ปัจจุบันของการค้าชายแดน ระหว่างตำบลช่องเม็ก อำเภอสิรินธร ผ่านทางจุดผ่านด่านช่องเม็ก และเมืองปากเซ แขวงจำปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว 3. แนวทางการพัฒนาการค้าชายแดน การลงทุน การท่องเที่ยว และการคมนาคมขนส่ง โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพแบบวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 ผู้ประกอบการค้าชายแดนไทย-ลาว ผ่านทางจุดผ่านด่านช่องเม็ก จำนวน 10 ราย และกลุ่มที่ 2 เจ้าหน้าที่ศุลกากรช่องเม็ก จำนวน 5 ราย ผลการศึกษา พบว่า นโยบาย กฎหมาย กฎระเบียบข้อบังคับต่างๆ ได้มีการส่งเสริมการค้าชายแดนจากเจ้าหน้าที่รัฐ แต่บางครั้งอาจจะชะงักไปบ้างเนื่องจากปัญหาทางการเมือง สำหรับสถานการณ์การค้าชายแดน ด้วยพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ป่า ภูเขา และแม่น้ำโขง จึงทำให้กลุ่มผู้ลักลอบสามารถลักลอบนำสินค้าเข้ามาหรือนำออกไปนอกประเทศได้ง่าย สำหรับด่านศุลกากรช่องเม็กได้นำระบบอิเล็กทรอนิกส์มาใช้ปฏิบัติพิธีการศุลกากร มีการติดตั้งระบบกล้องวงจรปิด และมีการติดตั้งเครื่อง X Ray  มีการปรับกระบวนการทางศุลกากร เป็นกระบวนการเบ็ดเสร็จ ณ จุดเดียว  และการทำธุรกรรมทางศุลกากรโดยไม่ต้องใช้เอกสาร สำหรับแนวทางการพัฒนาภายใต้บริบทประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนนั้น หน่วยงานภาครัฐของทั้งสองประเทศควรเผยแพร่กฎหมายด้านการค้าระหว่างประเทศ ขยายเวลาเปิดปิดด่าน ควรจัดตั้งศูนย์ข้อมูลการค้าชายแดน หน่วยงานรัฐควรเผยแพร่ความรู้ให้ผู้ประกอบการส่งออกทราบถึงประโยชน์จากการส่งออกผ่านพิธีการทางศุลกากร มีการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวของจังหวัดอุบลราชธานีมากกว่าเดิม สร้างรถไฟระหว่างประเทศ  พัฒนาการคมนาคมขนส่งทางฝั่งเมืองปากเซ


 

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

ขวัญปภัสสร จานทอง, ณัชญากัญจน์ รัตนวรกานต์ และ อนุเทพ สุขศรีวงศ์. (2556). การพัฒนาแนวทางการ เปิดจุดผ่านแดนถาวรไทย-พม่า บริเวณจังหวัดกาญจนบุรีภายใต้กรอบประชาคมอาเซียน. รายงาน การวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏจอมบึง.
ธานัญญารัชต์ ลั้วสมบูรณ์. (2551). นโยบายและมาตรการของรัฐบาลไทยในการจัดการการค้าชายแดน: กรณีศึกษา ด่านศุลกากรเชียงแสน อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐศาสตร์มหาบัณฑิต, คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ประชาคมอาเซียน. สืบค้นวันที่ 1 พ.ย. 2560, จาก https://asean.dla.go.th/public/article.do?lv2Index=29&lang=th&random=1472904275406
ภัทรา เจริญลาภ. (2556). แนวทางการพัฒนาการค้าชายแดนจังหวัดเชียงราย: กรณีศึกษา อำเภอแม่สาย และจังหวัดท่าขี้เหล็ก. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง.
มัทวินา ยวนยี. (2550). ปัญหาในการประกอบธุรกิจการค้าชายแดนไทย-ลาวในตลาดช่องเม็ก อำเภอสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
วรวลัญช์ ศรีเจริญ. (2556). แนวทางการพัฒนาการค้าชายแดนสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ศึกษากรณีจังหวัดจันทบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา.
วราภรณ์ อู่ทรัพย์ และชัยภูมิ ชนะภัย. (2558). การศึกษาองค์ความรู้ที่จำเป็นด้านกฎหมายการค้าชายแดนสำหรับผู้ประกอบการท้องถิ่น ณ จุดผ่านแดนถาวรภูดู่. รายงานการวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.
เวียงเซย์ ทำมะวง. (2551). ผลกระทบด้านเศรษฐกิจสังคมของการค้าชายแดนนอกระบบลาว-ไทยต่อชีวิตการเป็นอยู่ของประชาชนและต่อการลดความยากจน. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการพัฒนาระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศูนย์การเรียนรู้อาเซียน กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (ม.ป.ป.). การเตรียมความพร้อมเข้าสู่

Translated Thai References
ASEAN Learning Center Department of Local Administration. (N.d.). Preparation for the ASEAN Community. Retrieved November 1, 2017, from จาก https://asean.dla.go.th/public/article.do?lv2Index=29&lang=th&random=1472904275406
Au-sup, W. and Chanaphai, C. (2015). The knowledge necessary legal border trade for local entrepreneurs at Phu Doo International Point of Entry. Research Uttaradit Rajabhat University.
Charoenlap, P. (2013). An Approach to Border Trade Development in Chiang Rai Province: A Case Study of Mae Sai District and Thachilek Province. (Master of Business Administration) Logistics and Supply Chain Management Mae Fah Luang University.
Janthong, Q., Rattanavorragant N. and Sooksriwong A. (2014). Development of Guidance for Opening of Permanent Crossing Point Thailand- Myanmar Area of Kanchanaburi Under the Framework of the ASEAN Community. Research Muban Chombueng Rajabhat University.
Luasomboon, T. (2008). Policy and Measure of Thai Government toward Border trade Management: A Case Study of the Chiang Saen Customs Office, Chiang Saen District Chiang Rai Province. (Master of Arts). Political Science Faculty of Political Science Chiang Mai University.
Sricharoen, W. (2013). Directives in the development of Border commerce in the ASEAN Economic Community: A Case Study of Chanthaburi Procince. (Master of Public Administration) Public and Private Management Graduate School of Public Administration Burapha University.
Thammavong, V. (2008). The Socio-Economic Impacts of Lao-Thai Informal Border Trade on People’s Livelihood and Poverty Reduction. (Master of Arts). International Development Studies Faculty of Political Science Chulalongkorn University.
Yuanyee, M. (2007). Problems on Trading Business along Thailand- Laos Border at Chongmek Market, Sirindhon District, Ubon Ratchathani Province (Master of Business Administration). General management. Graduate School Ubon Ratchathani Rajabhat University.