การวิเคราะห์เชิงเปรียบเทียบกฎหมายที่พักระยะสั้นของรัฐนิวเซาท์เวลส์ ประเทศออสเตรเลียและประเทศไทย

Main Article Content

พรทิวา วิจิตรโกเมน

บทคัดย่อ

การให้เช่าที่พักระยะสั้นมีแนวโน้มที่จะขยายตัวมากยิ่งขึ้นทั่วโลก ในปี 2562 รายได้จากที่พักระยะสั้นทั่วโลกมีมูลค่า 83,983.5 ล้านเหรียญสหรัฐ ในขณะที่รายได้จากที่พักระยะสั้นของประเทศไทยมีมูลค่า 456.4 ล้านเหรียญสหรัฐ แม้ว่าการให้เช่าที่พักระยะสั้นทั่วโลกหยุดชะงักลงจากการระบาดของโคโรน่าไวรัส แต่แนวโน้มการท่องเที่ยวหลังยุคโควิด-19


คาดว่าที่พักระยะสั้นจะได้รับความนิยมอีกครั้งเพราะตอบโจทย์ความต้องการของผู้คนกลุ่มมิลเลนเนียล (millennial) ที่มองหาการท่องเที่ยวและที่พักที่ได้สัมผัสประสบการณ์ในท้องถิ่นมากกว่าการท่องเที่ยวแบบเดิม รัฐนิวเซาท์เวลส์ ประเทศออสเตรเลียมีรายได้ราวสามหมื่นล้านดอลล่าร์ออสเตรเลียต่อปีจากธุรกิจที่พักระยะสั้น โดยผู้เข้าพักนิยมจองที่พักระยะสั้นผ่านช่องทางออนไลน์ และช่องทางที่ได้รับความนิยมมากที่สุดได้แก่แพลตฟอร์ม Airbnb ซึ่งให้บริการเป็นช่องทางออนไลน์ที่เปิดโอกาสให้เจ้าของบ้าน อพาร์ทเมนท์ คอนโดมิเนียม หรือที่พักรูปแบบอื่นจากทั่วโลกได้เจอกับผู้ต้องการเข้าพัก และอำนวยความสะดวกในการจองที่พัก การชำระเงิน ตลอดจนการรับประกันความเสียหายอันเกิดจากการเข้าพัก นอกจากนี้ยังมีผู้ให้บริการตัวกลางที่พักระยะสั้นออนไลน์อีกหลายราย เช่น Stayz และ Homeaway เป็นต้น อย่างไรก็ดี ธุรกิจที่พักระยะสั้นในรัฐนิวเซาท์เวลส์ก็เหมือนกับในอีกหลายประเทศทั่วโลกรวมถึงประเทศไทยด้วยที่ต้องเผชิญกับแรงต่อต้านจากชุมชนบริเวณโดยรอบที่พักระยะสั้นและผู้ประกอบกิจการโรงแรมที่มักไม่เห็นด้วยกับการนำที่พักที่ไม่ใช่โรงแรมเสนอให้แก่นักท่องเที่ยว รัฐบาลแห่งรัฐนิวเซาท์เวลส์จึงพยายามหามาตรการกำกับธุรกิจที่พักระยะสั้นที่สร้างสมดุลระหว่างสิทธิของเจ้าของที่พักอันจะทำให้เกิดการกระจายรายได้สู่ชุมชน และคุ้มครองสิทธิในการพักอาศัยอย่างสงบของเพื่อนบ้านและชุมชน นำมาสู่การแก้ไขกฎหมายหลายฉบับ โดยกฎหมายควบคุมที่พักระยะสั้นส่วนแรกมีผลบังคับใช้แล้วเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2563 และยังมีบทบัญญัติส่วนที่กำลังจะบังคับใช้ในไม่ช้านี้ บทความนี้จะนำเสนอมาตรการทางกฎหมายที่รัฐบาลแห่งรัฐนิวเซาท์เวลส์นำมาใช้ซึ่งประกอบด้วยการกำหนดให้มีการจดทะเบียนที่พักระยะสั้น กำหนดหน้าที่และความรับผิดชอบของเจ้าของที่พักและผู้ให้บริการแพลตฟอร์มออนไลน์ การมีระบบรับเรื่องร้องเรียน ตลอดจนการตัดสิทธิบุคคลที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสมไม่ให้ใช้บริการที่พักระยะสั้น หรือตัดสิทธิการให้เช่าที่พักระยะสั้น เพื่อเป็นข้อมูลให้ผู้เกี่ยวข้องในประเทศไทยได้นำไปพิจารณาเป็นแนวทางหนึ่งในการออกแบบมาตรการกำกับธุรกิจนี้ในประเทศไทยต่อไป

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

จักรี อดุลนิรัตน์. “ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการนำห้องชุดคอนโดมิเนียมให้เช่าระยะสั้น.” วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร 11, 2 (2561): 55-78.

วาริชา สิริปุญญานนท์. “AIRBNB : เศรษฐกิจเชิงแบ่งปันสู่นวัตกรรมก้าวกระโดดที่ส่งผลกระทบต่อกฎหมาย.” วารสารบัณฑิตศึกษานิติศาสตร์ 13, 3 (2563): 422-442.

ส่วนรักษาความสงบเรียบร้อย 3 สำนักการสอบสวนและนิติการ กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย. “คู่มือการปฏิบัติงานกฎหมายโรงแรม.” ที่ทำการปกครองจังหวัดสตูล. สืบค้นเมื่อ 22 มิถุนายน 2562 https://www.dopasatun.go.th/news/doc_download/a_210619_163311.pdf.

ส่วนรักษาความสงบเรียบร้อย 3 สำนักการสอบสวนและนิติการ กระทรวงมหาดไทย. “คู่มือสำหรับประชาชน : การออกหนังสือแจ้งสถานที่พักที่ไม่เป็นโรงแรม.”

Australian Bureau of Statistics, “National, State and Territory Population,” Australian Bureau of Statistics, accessed January 30, 2021, https://www.abs.gov.au/statistics/people/population/national-state-and-territory-population/latest-release#states-and-territories.

Deloitte Access Economics. “Economic Effects of Airbnb in Australia.” 2017.

Department of Resources, Energy and Tourism, Australia Government. “Tourism 2020.” 2011.

Jamasi, Zohra. Canadian Centre for Policy Alternatives’ Ontario Office. “Regulating Airbnb and the Short-Term Rental Market: An overview of North American regulatory frameworks.” June 2017.

Miller, Stephen R. “First Principles for Regulating the Sharing Economy.” Harvard Journal on Legislation, 53 (2016): 147.

NSW Government. “New Regulations for Short-Term Rentals.” NSW Government. Accessed February 2, 2021 https://www.nsw.gov.au/news/new-regulations-for-short-term-rentals.

Research Office Legislative Council Secretariat of Hongkong. “Information Note : Regulation of home-stay lodging in selected places.” Legislative Council of the Hong Kong Special Administrative Region of the People’s Republic of China. Accessed May 10, 2019, https://www.legco.gov.hk/research-publications/english/1819in01-regulation-of-home-stay-lodging-in-selected-places-20181011-e.pdf.

Rosenstein, Robert and Peter L. Allen. At Home around the World. N.p: Agoda Outside, 2018.

Statista. “Vacation Rentals: Australia.” Statista. Accessed February 2, 2021 https://www.statista.com/outlook/268/107/vacation-rentals/australia.

Swor, Richard W.F. “Long Term Solutions to the Short-Term Problem: An Analysis of the Current Legal Issues Related to Airbnb and Similar Short-Term Rental Companies with a Proposed Model Ordinance.” Belmont Law Review, 6 Article 8 (2019): 278-316.