มองคดีความผิดเกี่ยวกับป่าไม้ด้วยสายตาของทฤษฎีชาติพันธุ์แนววิพากษ์

Main Article Content

เลาฟั้ง บัณฑิตเทอดสกุล

บทคัดย่อ

บทความนี้ผู้เขียนจะวิเคราะห์ปัญหากระบวนการดำเนินคดีความผิดเกี่ยวกับป่าไม้ ในชั้นก่อนส่งฟ้องคดีต่อศาล ที่เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติและพนักงานสอบสวน กระทำต่อกลุ่มชาติพันธุ์บนพื้นที่สูง ผ่านเรื่องเล่าของผู้ที่ได้รับผลกระทบ โดยผู้เขียนจะนำแนวคิดของทฤษฎีชาติพันธุ์แนววิพากษ์ (Critical Race Theory : CRT) มาปรับใช้เป็นแว่นในการมองปรากฏการณ์ในเรื่องเล่าของกรณีศึกษา


สาระสำคัญของบทความนี้ประกอบด้วย เรื่องเล่าประสบการณ์ถูกตรวจยึดและดำเนินคดีของบอย ซึ่งที่ดินของครอบครัวถูกยึด และแม่ถูกแจ้งความดำเนินคดี สาระสำคัญของทฤษฎีชาติพันธุ์แนววิพากษ์ (CRT) ซึ่งเป็นแนวคิดหลักที่จะนำมาใช้ในบทความนี้ และการปรับใช้แนวคิดของทฤษฎีชาติพันธุ์แนววิพากษ์ (CRT) มาวิเคราะห์ต่อประสบการณ์ของกรณีศึกษาในเรื่องเล่า


            โดยบทความนี้มีข้อเสนอ 3 ประการ คือ ประการแรก การตรวจยึดและดำเนินคดีความผิดเกี่ยวกับป่าไม้ ที่กระทำต่อกลุ่มชาติพันธุ์บนพื้นที่สูง  เป็นผลกระทบจากภาพลักษณ์ความเป็น “ชาวเขา” ที่ถูกประกอบสร้าง ผลิตซ้ำและตอกย้ำในสังคม จนกลายเป็นภาพลักษณ์ติดตัวว่าเป็นพวกทำลายป่า จนทำให้สังคมมีความเชื่อว่าการใช้ที่ดินของกลุ่มชาติพันธุ์บนพื้นที่สูงเป็นภัยคุกคามระบบนิเวศน์ ประการที่สอง การใช้อำนาจของเจ้าหน้าที่ในกระบวนการยุติธรรมในคดีความผิดเกี่ยวกับป่าไม้ มีแบบแผนปฏิบัติที่แตกต่างกันระหว่างกลุ่มคนชายขอบกับกลุ่มคนที่มีสถานะสูงกว่า โดยมีลักษณะเป็นธรรมเนียมเงียบในกระบวนการพิจารณาคดี ที่กีดกันสิทธิของผู้ต้องหา และประการที่สาม การดำเนินคดีความผิดเกี่ยวกับป่าไม้ ถูกใช้เป็นเครื่องมือของผู้มีอำนาจ ในการสร้างความชอบธรรมให้หน่วยงานด้านป่าไม้ที่มีผลงานล้มเหลวมาโดยตลอด และสร้างความชอบธรรมทางสังคมให้คณะรัฐประหาร (คสช.) เพื่ออยู่ในอำนาจบริหารประเทศ

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 64/2557.

“แจ้งความแล้ว!โบนันซารุกป่า ชี้"คีรีมายา-มูนแดนซ์"ผิด”. หนังสือพิมพิ์ผู้จัดการออนไลน์. 11 มิถุนายน 2558. สืบค้นเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2564. https://mgronline.com/daily/detail/9580000066409.

“ชาวบ้านขัดขวางเจ้าหน้าที่เข้ายึดคืนผืนป่าอุทยานฯ ผาแดง”. ข่าวช่อง 8 ออนไลน์. 24 ตุลาคม 2560. สืบค้นเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2564. https://www.thaich8.com/news_detail/51308.

“ทส.เร่งพิสูจน์ ‘เจียรวนนท์’ ครอบครองที่ป่าสงวน จ.ตราด 6 โฉนด รุกป่าชายเลนอีก 1 แปลง”. หนังสือพิมพ์ข่าวสดออนไลน์. 22 ก.ย. 2559. สืบค้นเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2564. https://www.thairath.co.th/content/731548.

บิ๊กตู่เผยสถิติรุกป่าต้นน้ำ ชาวไทยพื้นที่สูงบุกรุกมากสุด-นายทุนทุกที่ 10%”. ประชาชาติธุรกิจออนไลน์. สืบค้นเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2564. https://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1436522350.

ประมวลกฎหมายวิธิพิจารณาความอาญา.

“เปิดตัวเลขคนในเขตป่า”. ข่าวไทยพีบีเอส. 3 กันยายน 2562. สืบค้นเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2564. https://news.thaipbs.or.th/content/274390.

แผนแม่บทการพิทักษ์ทรัพยากรป่าไม้แห่งชาติ.

“เพจดังซัด เมีย ซูโม่กิ๊ก รุกป่า 713 ไร่ อดีตอธิบดีกรมอุทยาน งัดหลักฐาน แฉ! หากดิ้นไม่หลุดอดกิน MK”. Bright to day. 25 มีนานคม 2563. สืบค้นเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2564. https://www.brighttv.co.th/news/sumo-kik-wife.

มติคณะรัฐมนตรี (นโยบายป่าไม้แห่งชาติ) เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2528.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560.

เลาฟั้ง บัณฑิตเทอดสกุล. “กระบวนการยุติธรรมทางอาญาในคดีความผิดเกี่ยวกับป่าไม้ในมุมมองกลุ่มชาติพันธุ์”. (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต, สาขาวิชานินิศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2562).

“วราวุธ” ปลื้มผลงานยึดคืนผืนป่าได้กว่า 8 แสนไร่ ชี้ ชาวบ้านพอใจแก้ปัญหาที่ดินทำกิน. หนังสือพิมพิ์มติชนออนไลน์. 10 มีนาคม 2563. สืบค้นเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2564. https://www.matichon.co.th/local/quality-life/news_2043373.

ศยามล ไกรยูรวงศ์. “ร่างกฎหมายสิทธิชุมชนในการจัดการที่ดินและทรัพยากร : ลดความเหลื่อมล้ำสร้างความเป็นธรรม”. คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย. สืบค้นเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2564. http://www.lrct.go.th/th/?p=17044.

ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรมป่าไม้. “สถิติการกระทำความผิดกฎหมายเกี่ยวกับการบุกรุกป่าไม้”. สืบค้นเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2564. http://www.onep.go.th/.

ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรมป่าไม้. “สถิติป่าไม้ ปี พ.ศ. 2562”. ข้อมูลสารสนเทศกรมป่าไม้. สืบค้นเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2564. http://forestinfo.forest.go.th/Content.aspx?id=10384.

“สภ.ป่าแป๋ สั่งไม่ฟ้อง "ซูโม่กิ๊ก-เมีย"รุกป่าแม่แตง”. เนชั่นออนไลน์. 30 มกราคม 2564. สืบค้นเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2564. https://www.nationtv.tv/main/content/378814631.

สมชาย ปรีชาศิลปกุล. ทฤษฎีนิติศาสตร์ชาติพันธุ์แนววิพากษ์. วิภาษา ปีที่ 3, ฉบับที่ 3 ลำดับที่ 19 1 พฤษภาคม – 15 มิถุนายน 2552.

สายชล สัตยานุรักษ์. “ชาตินิยม วัฒนธรรมและความขัดแย้ง”. ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม. ( 2551).

สำนักงบประมาณ สำนักนายกรัฐมนตรี. เอกสารงบประมาณ ฉบับที่ 3 งบประมาณรายจ่ายประจำปี งบประมาณพ.ศ. 2564 เล่มที่ 6.

“อัยการสูงสุดชี้สุรยุทธ์ไม่ผิดโยนป่าไม้ยึดคืน”. คม ชัด ลึก ออนไลน์. 8 มกราคม 2553. สืบค้นเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2564. https://www.komchadluek.net/news/politic/43945.

อานันท์ กาญจนพันธุ์, “พหุวัฒนธรรมในบริบทของการเปลี่ยนผ่านทางสังคมและวัฒนธรรม” รัฐชาติและชาติพันธ์.

Bennett Capers. “Critical Race Theory”. Oxford Handbook of Criminal Law. 2015.

Delgado, R & Stefancic, J. (2001). Critical Race Theory: An introduction. New York University press.

Erica Campbell. “Using Critical Race Theory to Measure Racial Competency among Social Workers”. Journal of Sociology and Social Work. December 2014. Vol. 2. No. 2.

Rachel Alicia Griffin. Critical Race Theory as a Means to Deconstruct, Recover and Evolve in Communication Studies. Communication Law Review. Volume 10. Issue 1.