มาตรการทางกฎหมายเพื่อควบคุมการขอรับบริจาคเงินผ่านสื่อสังคมออนไลน์: ข้อพิจารณาเชิงเปรียบเทียบกฎหมายไทย - สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของภาคนิพนธ์ เรื่อง “ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมการขอรับบริจาคเงินผ่านสื่อสังคมออนไลน์” โดยมีวิธีดำเนินการวิจัยแบบวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วยการวิจัยเอกสาร อาศัยการทบทวนวรรณกรรมวิเคราะห์ข้อมูลจากหนังสือ ตำรา งานวิจัย บทความทางวิชาการ และเอกสารอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายเกี่ยวกับการขอรับบริจาคเงินผ่านสื่อสังคมออนไลน์ นำมาเป็นข้อมูลในการวิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคของมาตรการทางกฎหมายในการควบคุมการขอรับบริจาคเงินผ่านสื่อสังคมออนไลน์ พร้อมเสนอแนวทางแก้ไข โดยบทความนี้เป็นการศึกษาเฉพาะมาตรการทางกฎหมายควบคุมการขอรับบริจาคออนไลน์ เพื่อพิจารณาเชิงเปรียบเทียบกฎหมายไทยกับสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ซึ่งจากการศึกษาพบว่า พระราชบัญญัติควบคุมการเรี่ยไร พุทธศักราช 2487 ที่ใช้บังคับกับการขอรับบริจาคเงินผ่านสื่อสังคมออนไลน์ของเอกชนนั้น มิได้มีบทบัญญัติที่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน ทั้งในเรื่อง บทนิยาม วิธีการเรี่ยไร การควบคุมดูแลของภาครัฐ และบทลงโทษ ส่งผลให้รัฐไม่สามารถใช้อำนาจตามกฎหมายเพื่อเข้าไปควบคุมดูแลการดำเนินการขอรับบริจาคได้ ทำให้เกิดการผลักภาระให้แก่ประชาชนที่บริจาค จะต้องเป็นผู้ติดตามตรวจสอบและควบคุมผู้รับบริจาคเองว่าเป็นไปตามวัตถุประสงค์หรือไม่ ผู้วิจัยจึงมีข้อเสนอแนะว่าควรมีการแก้ไขปรับปรุงพระราชบัญญัติดังกล่าว ให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้นและครอบคลุมทุกลักษณะของการขอรับบริจาคมาในทุกรูปแบบ เพื่ออุดช่องว่างของกฎหมาย และควรแก้ไขบทลงโทษทางอาญา และทางปกครองเพื่อให้สอดคล้องกับสภาวการณ์ของสังคม
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution 4.0 International License.
O ความคิดเห็นใดๆ ที่ลงตีพิมพ์ในวารสารนิติสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นของผู้เขียน (ความคิดเห็นใดๆ ของผู้เขียน กองบรรณาธิการวารสารนิติสังคมศาสตร์ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย)
O กองบรรณาธิการ CMU Journal of Law and Social Sciences ไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอกแต่ให้อ้างอิงแหล่งที่มาด้วย
References
“ทนายความ แจงแล้ว “เพจหมามะเร็ง” ยอดบริจาคเฉลี่ยปีละ 10 ล้านบาท 4 ปี ยอดเงิน 33 ล้าน.” ข่าวช่อง 7HD ร้อนออนไลน์, 6 มิถุนายน 2565. สืบค้นเมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2565, https://news.ch7.com/detail/574320.
“ทนายดัง ชี้ “ฌอน” รับบริจาคออนไลน์ไม่เข้าข่ายผิด พ.ร.บ.ควบคุมการเรี่ยไร.” ข่าวช่อง 8, 30 มิถุนายน 2563. สืบค้นเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2564, https://www.thaich8.com/news_detail/89719
“ผ่าคดี “แม่ปุ๊ก”วางยาลูกหวังเงินบริจาค ลงมือโหดในโรงพยาบาล ตร.ล็อก-ตรวจสภาพจิต.” ข่าวมติชนสุดสัปดาห์, ฉบับวันที่ 29 พฤษภาคม - 4 มิถุนายน 2563, 30 มิถุนายน 2563. สืบค้นเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2564, https://www.matichonweekly.com/column/article_310978
กนกวรา พวงประยงค์. “พฤติกรรมการช่วยเหลือสังคมในช่วงวิกฤตโควิด -19 ของคนวัยทำงานในกรุงเทพมหานคร.” วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ 6, ฉ. 5 (2564): 202-224.
กรมการศาสนา และอนุกรรมการส่งเสริมกิจการศาสนาและศาสนิกสัมพันธ์ คณะกรรมาธิการการศาสนา คุณธรรม จริยธรรม ศิลปะและวัฒนธรรม วุฒิสภา. วิถีชีวิต 5 ศาสนิกในประเทศไทย. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: บริษัท รำไทยเพรส จำกัด, 2561. สืบค้นเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2566, https://www.dra.go.th/files/knowledge/5bd13c2926016.pdf
กองตะวันออกกลาง กรมเอเชียใต้ ตะวันออกกลางและแอฟริกา. “สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์.” กระทรวงการต่างประเทศ. สืบค้นเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2566 https://www.mfa.go.th/th/content/5d5bcc1b15e39c3060009fb1?cate=5d5bcb4e15e39c3060006870
จันทร แสงสุวรรณวาว. “สามัคคีธรรม ในงานบุญกฐิน.” วารสารวิชาการ สถาบันพัฒนาพระวิทยากร 1, ฉ. 1 (2561): 67-79.
ธวัช นุ้ยผอม, และอับบาส หลับด้วง. “การรับรู้การวากัฟของชาวไทยมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้.” วารสารวิชาการ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 15, ฉ. 2 (2562): 75-96.
นิติธร แก้วโต (ทนายเจมส์LK). “ขอรับบริจาคอย่างไร ไม่ผิดกฎหมาย.” ไทยรัฐออนไลน์, 6 สิงหาคม 2562. สืบค้นเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2564, https://www.thairath.co.th/news/local/1630873
บวรลักษณ์ เสนาะคํา. “ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรีในกรุงเทพมหานคร.” วารสารรัชต์ภาคย์ 13, ฉ. 31 (ตุ 2562): 42-54.
พงษ์ธร แก้วยองผาง. “การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีในยุคประเทศไทย 4.0.” การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 3, มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 15 พฤศจิกายน 2562.
พัชรสิตา รัฐโชติพิริยกร. “ทัศนคติและพฤติกรรมการบริจาคเงินเพื่อช่วยเหลือสัตวบนเครือข่ายสังคมออนไลน: กรณีศึกษาบนเครือข่ายสังคมออนไลนเฟซบุก ในประเทศไทย.” (การคนควาอิสระ,นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2558).
พิมพ์ชญา ฟักเปี่ยม. “โลกคู่ขนาน:กรณีศึกษาขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมผ่าน เครือข่ายสังคมออนไลน์ของประเทศไทย.” วารสารนิเทศศาสตร์ มสธ 10, ฉ. 1 (2563): 86-99.
ไพโรจน์ อาจรักษา. รับของขวัญอย่างไรไม่ผิดกฎหมาย. กรุงเทพฯ: วิญญูชน, 2548.
ว่องวิช ขวัญพัทลุง. “การขอรับบริจาค กับความผิดที่ตามมาในยุค 4.0, คอลัมน์ กฎหมาย 4.0.” กรุงเทพธุรกิจ, 20 กรกฎาคม 2563. สืบค้นเมื่อวันที่ 4 กันยายน 2564, https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/890079
สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. “โควิด-19 ดันคนไทยใช้เน็ต ทุบสถิติวันละ 12 ชั่วโมง Gen Z ใช้เน็ตสูงสุดปีแรก.” ฐานเศรษฐกิจดิจิทัล. สืบค้นเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2565, https://www.thansettakij.com/tech/506786
สุวิมล กลิ่นแจ่ม. “ปัญหาในการบังคับใช้พระราชบัญญัติควบคุมการเรี่ยไร พุทธศักราช 2487.” (การศึกษาค้นคว้าอิสระ, นิติศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2559).
Charities Aid Foundation. “World Giving Index 2022 a Global View of Giving Trends.” Charities Aid Foundation 2022. Accessed 30, January 2023, https://www.cafonline.org/docs/default-source/about-us-research/caf_world_giving_index_2022_210922-final.pdf
Charity and humanitarian work. “Donating and raising funds.” The United Arab Emirates' Government portal. Accessed 10, April 2023 https://u.ae/en/information-and-services/charity-and-humanitarian-work/ways-of-doing-charity-in-the-uae/donating-and-raising-funds
Kemp, Simon. “DIGITAL 2022: THAILAND.” DataReportal. Accessed February 15, 2023, https://datareportal.com/reports/digital-2022-thailand
Mehta, Ashish. “UAE law: Up to Dh300,000 Fine for Raising Charity Funds Without a Permit.” Khaleej Times. Accessed 15, January 2023, https://www.khaleejtimes.com/legal/uae-law-up-to-dh300000-fine-for-raising-charity-funds-without-a-permit
Saleh, Amjad and Hatem Mohamed. “Fundraising by Natural Persons Punishable By Imprisonment, AED300,000 Maximum Fine: Ministry of Community Development.” Emirates News Agency. Accessed 15, January 2023, http://wam.ae/en/details/1395302988094
Sawy, Nada El. “How to Give To Charity Legally in the UAE.” The National News, April 06, 2020. Accessed 10, February 2023, https://www.thenationalnews.com/business/money/how-to-give-to-charity-legally-in-the-uae-1.860945