การคุ้มครองลิขสิทธิ์ในงานล้อเลียนประเภทภาพถ่ายและคลิปวิดีโอบนแพลตฟอร์มออนไลน์

Main Article Content

กวินทรา ศรีถนัด

บทคัดย่อ

ด้วยเหตุที่สังคมมีการพัฒนาไปสู่ยุคดิจิทัลจึงเป็นผลให้เกิดงานสร้างสรรค์ที่มีความหลากหลายบนแพลตฟอร์มออนไลน์ซึ่งมักจะเป็นประเภทภาพถ่ายและคลิปวิดีโอ และได้ถูกนำมาสร้างในรูปแบบหนึ่งที่เรียกว่า “งานล้อเลียน”


            บทความฉบับนี้จัดทำขึ้นเพื่อศึกษาถึงการคุ้มครองลิขสิทธิ์ในงานล้อเลียนประเภทภาพถ่ายและคลิปวิดีโอบนแพลตฟอร์มออนไลน์ ซึ่งมีประเด็นที่ศึกษา ได้แก่ ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ ความเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ และความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 โดยศึกษาเปรียบเทียบกับแนวคำพิพากษาของศาลและหลักกฎหมายของต่างประเทศ ได้แก่ ประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศออสเตรเลีย ประเทศแคนาดา และประเทศฝรั่งเศส ซึ่งล้วนแล้วแต่ปรากฏแนวคำพิพากษาของศาลและหลักกฎหมายที่สามารถนำมาปรับใช้และแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้อย่างเหมาะสม


            จากการศึกษาและวิเคราะห์ พบว่า งานล้อเลียนมีลักษณะเป็นการดัดแปลงโดยมีการจัดทำขึ้นใหม่แต่หากทำขึ้นโดยไม่ได้รับอนุญาตก็ไม่อาจเป็นงานสร้างสรรค์ได้ และงานล้อเลียนเชิงเสียดสีเป็นการละเมิดสิทธิของผู้สร้างสรรค์ (moral right) ส่วนงานล้อเลียนทั้งเชิงตลกขบขันและเสียดสีเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ตามมาตรา 27 หรือมาตรา 28 แล้วแต่กรณี โดยไม่เข้าข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ตามมาตรา 32 วรรคแรก และมาตรา 32 วรรคสอง (3) รวมถึงมาตรา 33


            ทั้งนี้ งานล้อเลียนประเภทภาพถ่ายและคลิปวิดีโอบนแพลตฟอร์มออนไลน์เป็นงานที่มีการริเริ่มขึ้นเองของผู้สร้างสรรค์ ความวิริยะอุตสาหะพยายามใช้ปัญญาในการสร้างงาน และได้แสดงออกซึ่งความคิดในรูปแบบงานศิลปกรรมหรือโสตทัศนวัสดุอันสมควรได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ครอบคลุมผลงานทั้งชิ้น ส่งผลให้เมื่อมีการละเมิดลิขสิทธิ์ในงานดังกล่าวจะไม่เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ในส่วนเนื้อหาของงานต้นฉบับ


ผู้เขียนเห็นว่า พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ไม่ปรากฏหลักกฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างชัดเจน รวมถึงแนวคำพิพากษาของศาลในประเด็นปัญหาดังกล่าว จึงได้เสนอแนะให้มีการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายให้งานล้อเลียนได้รับยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ เพิ่มเติมนิยามคำว่า“งานสร้างสรรค์”และให้ความคุ้มครองงานดัดแปลงที่มีการจัดทำขึ้นใหม่อันจะเป็นประโยชน์ต่อสังคมและการวินิจฉัยคดีของศาล รวมถึงจะเป็นประโยชน์ต่อผู้สร้างสรรค์โดยเฉพาะผู้สร้างงานล้อเลียนเพื่อเป็นการรองรับเสรีภาพในการแสดงออกทางด้านศิลปะให้สอดคล้องกับพฤติกรรมของมนุษย์ยุคดิจิทัล

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

“Constitution of the United States: First Amendment.” Constitution Annotated. Accessed September 20, 2023. https://constitution.congress.gov/constitution/amendment-1/.

Bulger, Allison. "Parody." LitCharts. Accessed September 2, 2023. https://www.litcharts.com/literary-devices-and-terms/parody.

Collins, Nancy. “Demi’s Big Moment.” Vanity Fair (blog). Accessed January 29, 2023. https://www.vanityfair.com/style/2018/04/demi-moore-cover-story-august-1991.

Condren, Conal, Jessica Milner Davis, Sally McCausland, and Robert Phiddian. “Defining Parody and Satire: Australia Copyright Law and Its New Exception: Part 2 – Advancing Ordinary Definitions.” Media and Arts Law Review 13, no. 4 (December 2008): 411. Accessed September 10, 2023. https://www.researchgate.net/publication/43502448.

EUIPO. “A French court of Appeal looks at the conditions under which a sculpture inspired by Tintin can be considered as a parody under copyright law.” Accessed September 5, 2013. https://euipo.europa.eu/ohimportal/en/web/guest/case-law-article/categories/12808082?p_r_p_resetCur=true&p_r_p_categoryId=12808082.

Everson, Crystal. “Parody vs. satire in copyright law.” Legal Zoom. Accessed September 2, 2023. https://www.legalzoom.com/articles/parody-vs-satire-in-copyright-law.

Film suits. “Naked Gun 33 1/3: The Final Insult.” Accessed January 29, 2023. https://filmsuits.com/naked-gun-33-1-3-the-final-insult/.

Fortunet, Edouard, Sarah Candelibes, Nicolas Andre and Jones Day. “Intellectual Property Transactions in France: Overview.” Thomson Reuters. Accessed September 20, 2023. https://ca.practicallaw.thomsonreuters.com/6-501-8761?transitionType=Default&contextData=(sc.Default).

Giannopoulou, Alexandra. “Parody in France.” Best Case Scenarios for Copyright (2016): 9. Accessed September 1, 2023. https://www.communia-association.org/wp-content/uploads/2016/06/report-2-parody.pdf.

Hutcheon, Linda. A Theory of Parody: The Teaching of Twentieth-Century Art Forms. New York: Methuen, 1985.

Kreutzer, Till, and Felix Reda. “The Pastiche in Copyright Law-Towards a European Right to Remix.” Kluwer Copyright (blog). Accessed September 2, 2023. https://copyrightblog.kluweriplaw.com/2023/03/13/the-pastiche-in-copyright-law-towards-a-european-right-to-remix/.

Lehrmach. “Mattle v. Waiking Mountain 2003. Trademark. Copyright. Trade Dress. Tarnishment. Case Brief.” Lehrmach (blog). Accessed August 29, 2023. http://lehrmach2.blogspot.com/2017/06/mattel-v-walking-mountain-20003.html.

Lovells, Hogan. “Copyright in France.” Lexology. Accessed August 31, 2023. https://www.lexology.com/library/detail.aspx?g=db4300b2-84aa-4a2a-acc3-e786453798ec.

Major Cineplex. “TALK TO ME.” สืบค้นเมื่อวันที่ 15 กันยายน 2566. https://www.majorcineplex.com/news/talk-to-me-gross-top-five-a24.

Mew Me. “คิดจะจับมือเหมียว ไม่อยากหลอนก่อนสัมผัส ต้องจัด...อาหาร!!.” เฟซบุ๊ก. สืบค้นเมื่อ 15 กันยายน 2566. https://www.facebook.com/MewMeThailand/posts/pfbid0yqxHC7rbbTbVQVGwSyp2grdYs6bGGeNowwhiTgQkXjRUPCN9jzuCKcnGrsfidSqWl.

More, Adv Hemant. “Kinds of Rights.” The Legal Quotient. Accessed September 10, 2023. https://thelegalquotient.com/jurisprudence/kinds-of-rights/2265/.

Roggero, Claudia. “Freedom of panorama in France and Germany.” Dandi (blog). Accessed November 30, 2023, https://www.dandi.media/en/freedom-panorama-france-germany/.

The Editors of Encyclopaedia Britannica. “Travesty.” Britannica. Accessed September 2, 2023. https://www.britannica.com/art/travesty-literature.

United State Copyright Office. “Copyright Registration for Derivative Works.” Accessed September 20, 2023. https://www.copyright.gov/circs/circ14.pdf.

Wex Definitions Team. “Parody.” Legal Information Institute. Accessed September 20, 2023. https://www.law.cornell.edu/wex/parody.

จุมพล ภิญโญสินวัฒน์, และภูมินทร์ บุตรอินทร์. คำอธิบายกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: โครงการตำราและเอกสารประกอบการสอน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2564.

ทีมพากย์กะหล่ำดอก. “Avengers: Endgame รวมพลพ่อบ้านต้านอำนาจเมีย พ่อบ้าน!! รวมพล!! ทีมพากย์กะหล่ำดอก ภูมิใจเสนอ กะหล่ำดอก Trailer!! Avengers: Endgame อเวนเจอร์ส: เผด็จศึก รวมพลพ่อบ้านต้านอำนาจเมีย กะหล่ำดอก...ให้เสียงภาษาไทย!!. ขอขอบคุณ คลิปต้นฉบับจาก Avengers: Endgame Trailer.” เฟซบุ๊ก, สืบค้นเมื่อ 3 กันยายน 2566. https://www.facebook.com/kalumdokvoiceartist/videos/573730453117337/.

ปริญญา ดีผดุง. “ปัญหาการคุ้มครองสิทธิตามกฎหมายลิขสิทธิ์.” การบรรยายโครงการอบรมหลักสูตรพิเศษประกาศนียบัตรกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา รุ่นที่ 3, สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา, กรุงเทพมหานคร, 9 เมษายน ถึง 16 พฤษภาคม 2547. อ้างถึงใน พิศวาส สุคนธพันธ์ และณัฐพงศ์ สุวรรณอินทร์. “การล้อเลียนงานอันมีลิขสิทธิ์กับกฎหมายลิขสิทธิ์ไทย: กรณีศึกษาปัญหาการตีความว่าด้วยการใช้งานที่เป็นธรรม.” วารสารรามคำแหง ฉบับนิติศาสตร์ 9, ฉ.2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2563): 12.

มณฑล อรรถบลยุคล. พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 (แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2565) ฉบับอ้างอิง. กรุงเทพฯ: วิญญูชน, 2565.