เหตุแห่งการยกฟ้องกรณีผู้เสียหายเป็นโจทก์ ในคำพิพากษาของศาลอาญาคดีทุจริต และประพฤติมิชอบ ภาค 6

Main Article Content

ณัฏฐ์ชุดา ผ่องโสภณรัตน์

บทคัดย่อ

ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบจัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ พ.ศ. 2559 มีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบที่มีผลกระทบต่อเสถียรภาพความมั่นคงทางสังคม ทั้งเป็นอุปสรรคสำคัญ ต่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีที่ถือว่าเป็นคดีทุจริตและประพฤติมิชอบตามกฎหมาย โดยเปิดกว้างให้ผู้เสียหายมีอำนาจในการฟ้องคดีด้วยตนเอง อย่างไรก็ตามปรากฏว่าคดีที่เข้าสู่การพิจารณาของศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ กรณีที่ผู้เสียหายเป็นโจทก์ส่วนใหญ่ศาลพิพากษายกฟ้อง ยิ่งไปกว่านั้นพบว่าศาลพิพากษา ยกฟ้องตั้งแต่ในชั้นตรวจคำฟ้อง ซึ่งอาจทำให้ผู้เสียหายไม่อาจเข้าถึงกระบวนยุติธรรมและใช้สิทธิฟ้องคดีได้อย่างเต็มที่ ทั้งที่กฎหมายได้ให้อำนาจผู้เสียหายฟ้องคดีอย่างเต็มที่โดยมิได้มีบทบัญญัติใดจำกัดอำนาจไว้ โดยผู้วิจัยได้ศึกษาสาเหตุสำคัญที่ศาลพิพากษายกฟ้องผ่านการให้เหตุผลทางกฎหมายที่ปรากฎในคำพิพากษาของศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ ภาค 6 แบ่งเหตุแห่งการยกฟ้องออกได้เป็น 4 กลุ่ม ดังนี้คือ 1. ยกฟ้องเนื่องด้วยจำเลยมิได้กระทำความผิดหรือการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิด 2. ยกฟ้องเนื่องด้วยเหตุคำฟ้องโจทก์ไม่ชอบด้วยกฎหมาย 3. ยกฟ้องเนื่องด้วยเหตุอำนาจฟ้อง 4. ยกฟ้องเนื่องด้วยโจทก์ใช้สิทธิฟ้องคดีไม่สุจริต

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

THE STANDARD TEAM. “10 มีนาคม 2017 – พัคกึนฮเย พ้นตำแหน่งประธานาธิบดีเกาหลีใต้ หลังศาลรับรองมติถอดถอน.” THE STANDARD. สืบค้นเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2566. https://thestandard.co/onthisday10032017/.

TODAY. “สรุป คดี 1MDB กับประเทศไทย อธิบายแบบเข้าใจง่าย.” workpointTODAY. สืบค้นเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2566. https://workpointtoday.com/1mdb-thailand/.

ไทยรัฐออนไลน์. “'มูห์ยิดดิน ยัสซิน' อดีตนายกฯ มาเลเซีย ถูกตั้งข้อหาทุจริตคอร์รัปชัน.” ไทยรัฐออนไลน์. สืบค้นเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2566. https://www.thairath.co.th/news/foreign/2650096.

กระทรวงยุติธรรม. กฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ระบบงาน และแนวปฏิบัติของกระทรวงยุติธรรม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับระบบงานยุติธรรมของประเทศในอาเซียน. กรุงเทพฯ: สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม, 2552. สืบค้นเมื่อวันที่ 27 กันยายน 2566. https://www3.ago.go.th/center/wp-content/uploads/2022/06/ASEANLAW.pdf.

คณิต ณ นคร. กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ: วิญญูชน, 2555.

คณิต ณ นคร. กฎหมายอาญาภาคความผิด. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ: วิญญูชน, 2553.

ธานิศ เกศวพิทักษ์. คำอธิบาย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เล่ม 1. พิมพ์ครั้งที่ 13. กรุงเทพฯ: สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา, 2559.

ธานิศ เกศวพิทักษ์. คำอธิบาย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เล่ม 2. พิมพ์ครั้งที่ 12. กรุงเทพฯ: สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา, 2558.

ธานิศ เกศวพิทักษ์. คำอธิบายพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบและวิธีพิจารณาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ พ.ศ. 2559. กรุงเทพ: วิญญูชน, 2561.

สรารักษ์ สุวรรณเสรี และอาคม ศรียาภัย. ครบเครื่องเรื่องคดีอาญาทุจริต. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: แสงจันทร์การพิมพ์, 2560.

ส่วนระบบข้อมูลและสถิติ สำนักแผนงานและงบประมาณ. “ผลการดำเนินงานด้านคดีของศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบทั่วราชอาณาจักรประจำปี พ.ศ. 2566 (มกราคม-สิงหาคม).” สำนักแผนงานและงบประมาณ. สืบค้นเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2566. https://oppb.coj.go.th/th/content/category/detail/id/8/cid/2089/iid/374198.

สหรัฐ กิติ ศุภการ. หลักและคำพิพากษากฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา. พิมพ์ครั้งที่ 14. กรุงเทพฯ: อมรินทร์ปริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, 2565.

สุพิศ ปราณีตพลกรัง. คดีทุจริตต่อหน้าที่ (มาตรา 157 ประมวลกฎหมายอาญา) และกฎหมายจัดตั้งศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ. กรุงเทพ: นิติธรรม, 2559.