สภาวะยกเว้นถาวรภายใต้การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในระหว่างการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19

Main Article Content

วรวุฒิ บุตรมาตร

บทคัดย่อ

บทความฉบับนี้มุ่งศึกษาถึงแนวคิดทฤษฎีของสภาวะยกเว้นซึ่งปรากฏอยู่ในระบบกฎหมายไทย โดยเฉพาะกฎหมายเกี่ยวกับสถานการณ์ฉุกเฉินซึ่งเป็นสถานการณ์ที่มีการยกเว้นการบังคับใช้กฎหมายบางฉบับ บางมาตรา รวมถึงการยกเว้นสิทธิเสรีภาพเป็นการชั่วคราว และนำไปสู่การบังคับใช้กฎหมายอีกระบบหนึ่ง เพื่อเพิ่มอำนาจให้กับรัฐหรือฝ่ายความมั่นคงใช้แก้ไขปัญหาระหว่างที่มีสภาวะวิกฤตให้ทุเลาลง โดยที่ผ่านมาการอภิปรายเกี่ยวกับปัญหาและผลกระทบของสภาวะยกเว้นต่อระบบกฎหมายและสิทธิเสรีภาพของประชาชน พบว่า ปัญหาสำคัญของสภาวะยกเว้นคือการเกิดขึ้นของสภาวะยกเว้นเทียมอันนำไปสู่สภาวะยกเว้นถาวร อันส่งผลให้รัฐหรือฝ่ายความมั่นคงสามารถยกเว้นการบังคับใช้กฎหมายบางฉบับ บางมาตรา รวมถึงการยกเว้นการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพได้เป็นระยะเวลาที่ยาวนานจนเสมือนเป็นการถาวร โดยเมื่อพิจารณาข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในประเทศไทยจบพบได้ว่า การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินอันเนื่องจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด – 19 นั้น การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินด้วยเหตุดังกล่าวมีระยะเวลายาวนาน ทั้งที่สถานการณ์การแพร่ระบาดทุเลาลงเป็นลำดับ อีกทั้งมีวัคซีนที่สามารถใช้ป้องกันการแพร่ระบาดของโรคแจกจ่ายให้กับประชาชนได้โดยทั่วไป ในขณะเดียวกันนั้นเองรัฐก็สามารถใช้อำนาจตามกฎหมายปรกติได้แต่กลับยังคงประกาศสถานการณ์สถานการณ์ฉุกเฉินดังกล่าวต่อไปเป็นระยะเวลายาวนานจนเกิดข้อวิจารณ์ว่าการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินดังกล่าว อาจนำไปสู่การสถาปนาระบอบเผด็จการ ซึ่งสะท้อนผ่านการละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชนในระหว่างการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินอันเนื่องจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด – 19  เช่น การควบคุมสื่อ การห้ามชุมนุม การสลายการชุมนุม เป็นต้น จากกรณีดังกล่าวเห็นได้ว่าเป็นการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีลักษณะเป็นการถาวรหรือสภาวะยกเว้นถาวร ดังนั้น จึงต้องหามาตรการหรือกลไกทางกฎหมายในการป้องกันมิให้เกิดบิดผันการใช้อำนาจในสถานการณ์ฉุกเฉินเช่นนั้นอีก ซึ่งสามารถทำได้โดยการสร้างกลไกในทางกฎหมายเพื่อควบคุมตรวจสอบการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน การใช้อำนาจในสถานการณ์ฉุกเฉิน การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน การยกเลิกสถานการณ์ฉุกเฉิน รวมถึงกำหนดให้รัฐและเจ้าหน้าที่ของรัฐต้องรับผิดชอบในกรณีเกิดความเดือดร้อนเสียหายต่อประชาชนจากการใช้อำนาจดังกล่าว โดยแนวทางดังกล่าวจะเป็นแนวทางสำคัญที่ทำให้สถานการณ์ฉุกเฉินหรือสภาวะยกเว้นนั้น ไม่ถูกใช้จนกลายเป็นสภาวะยกเว้นถาวรอันกระทบต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชนและหลักนิติรัฐประชาธิปไตย ตลอดจนการกำหนดให้ฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายตุลาการสามารถเข้ามาควบคุมตรวจสอบทั้งในทางการเมืองและในทางกฎหมาย อันจะเป็นกลไกในการรับประกันว่าท้ายสุดแล้วสิทธิเสรีภาพของประชาชนและหลักนิติรัฐและประชาธิปไตยจะได้รับการปกป้องคุ้มครอง

Article Details

How to Cite
บุตรมาตร ว. . (2024). สภาวะยกเว้นถาวรภายใต้การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในระหว่างการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19. CMU Journal of Law and Social Sciences, 17(2), 64–89. สืบค้น จาก https://so01.tci-thaijo.org/index.php/CMUJLSS/article/view/274283
บท
บทความวิจัย

References

Agamben, Giorgio. State of Exception. Chicago: The University of Chicago Press, 2005.

Alivizatos, Nicos, Veronika Bĺlková, Iain Cameron, Oliver Kask, and Kaarlo Tuori. Respect for Democracy, Human Rights and the Rule of Law During States of Emergency – Reflections. France: The European Commission for Democracy through Law (Venice Commission), 2020.

BBC ไทย. “โควิด-19: ศบค. เผยพบผู้ป่วยใหม่ 3 ราย ไร้ผู้เสียชีวิต.” BBC NEWS ไทย. สืบค้นเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2566. https://www.bbc.com/thai/thailand-52780432.

Bulmer, Eliot. Emergency Powers. Stockholm: International IDEA, 2018.

Flyghed, J. “Normalising the Exceptional: The Case of Political Violence.” Policing and Society 13, no. 1 (2002).

Khakee, Anna. Securing Democracy? A Comparative Analysis of Emergency Powers in Europe. Geneva: Centre for the Democratic Control of Armed Forces (DCAF), 2009.

Rossiter, Clinton L. Constitutional Dictatorship: Crisis Government in the Modern Democracies. Princeton: Princeton University Press, 1948.

Schmitt, Carl. Dictatorship: From the Origin of the Modern Concept of Sovereignty to Proletarian Class Struggle. Translated by Michael Hoelzl and Graham Ward. Cambridge: Polity, 2014.

เกรียงไกร เจริญธนาวัฒน์. หลักพื้นฐานกฎหมายมหาชน. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: วิญญูชน, 2558.

เอกบุญ วงศ์สวัสดิ์กุล. “นิติรัฐนิติธรรมกับเทศกาลบ้านเมืองในสถานการณ์ไม่ปรกติในระบบกฎหมายฝรั่งเศส.” วารสารศาลรัฐธรรมนูญ 18, ฉ. 53 (พฤษภาคม–สิงหาคม 2559): 103–130.

คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. “สรุปสาระสำคัญจากเสวนาวิชาการ การชุมนุมช่วงโควิด-19: ชอบหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย?” คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. สืบค้นเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2566. https://www.law.tu.ac.th/seminar-summary-protest-during-covid-19-pandemic.

คมไท หิรัญสาย. “ปัญหาทางกฎหมายในการบริหารจัดการสถานการณ์ฉุกเฉินด้านสาธารณสุขของประเทศไทย: ศึกษากรณีการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019.” วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต, คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2564.

จรัญ โฆษณานันท์. นิติปรัชญา. กรุงเทพฯ: คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2544.

บวรศักดิ์ อุวรรณโณ. กฎหมายมหาชน เล่ม 3 ที่มาและนิติวิธี. กรุงเทพมหานคร: นิติธรรม, 2538.

ประชาไท. “ธงชัย วินิจจะกูล: เปลี่ยนให้ผ่าน 'นิติอธรรม'.” ประชาไท. สืบค้นเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2565. https://prachatai.com/journal/2022/09/100755.

ปิยบุตร แสงกนกกุล. “สภาวะยกเว้นในความคิดของ Giorgio Agamben.” วารสารฟ้าเดียวกัน 8, ฉ. 1 (2553).

พัชร์ นิยมศิลป. “พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ยาแรงที่ไม่แก้โควิด-19.” iLaw. สืบค้นเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2566. https://ilaw.or.th/node/5694.

วรเจตน์ ภาคีรัตน์. คำสอนว่าด้วยรัฐและหลักกฎหมายมหาชน. พิมพ์ครั้งที่ 3 แก้ไขเพิ่มเติม. กรุงเทพมหานคร: อ่านกฎหมาย, 2564.

วรพจน์ วิศรุตพิชญ์. สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ. กรุงเทพมหานคร: วิญญูชน, 2538.

ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน. “ก่อนการต่อ พ.ร.ก. ฉุกเฉินฯ รอบ 2 ที่ไม่ฉุกเฉิน-ไม่ยึดโยงประชาชน: ข้อสังเกตทางกฎหมายฯ.” TLHR. สืบค้นเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2563. https://tlhr2014.com/?p=17920.

ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน. COVID–19 กับการจำกัดเสรีภาพในการแสดงออกภายใต้ พรก. ฉุกเฉิน. มปท.: มปป.

สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ). “การแพร่ระบาดระลอก 3 สถานการณ์ ผลกระทบและทางออกเชิงนโยบาย.” คณะวิจัย TDRI. สืบค้นเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2566. https://tdri.or.th/2021/05/covid-119/.

สมยศ เชื้อไทย. หลักกฎหมายมหาชนเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 4 แก้ไขเพิ่มเติม. กรุงเทพมหานคร: วิญญูชน, 2554.

สราวุธ ทับทอง. “รัฐไทยกับการใช้อำนาจในสถานการณ์ฉุกเฉิน: ศึกษากรณีการประกาศใช้พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ในช่วง พ.ศ. 2552–2553.” วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2557.