นิติสำนึกของพลเมืองผู้ขัดขืนกฎหมายเพื่อจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม

Main Article Content

กฤษณ์พชร โสมณวัตร

บทคัดย่อ

Abstract

โทษจำคุกในสายตาของพลเมืองผู้ขัดขืนกฎหมายมีพื้นฐานเดียวกัน คือ การไม่ยอมรับความชอบธรรมที่รัฐใช้อำนาจลงโทษจำคุก ทั้งนี้การลงโทษจำคุกแก่พลเมืองเหล่านี้ล้วนแต่ปราศจากผลในการป้องปรามหรือปรับปรุงพฤติกรรมใดใดทั้งสิ้น และการลงโทษที่ลงมานั้น พลเมืองเหล่านี้ยอมรับโทษ แต่ไม่เคยยอมรับผิดเนื่องจากการเคลื่อนไหวของตน ซึ่งการลงโทษนั้นไม่ต่างจากการใช้ “อำนาจดิบ” คือ ยอมรับโทษ เพราะรัฐมีอำนาจสามารถบังคับเอาโทษกับพวกเขา/พวกเธอได้เท่านั้น

                อย่างไรก็ตามลายละเอียดบางประการของพลเมืองแต่ละคนในแต่ละพื้นที่นั้นมีความแตกต่างกันบ้าง เช่น จินตนา แก้วขาว มองโทษจำคุกที่ตนเผชิญเป็นเพียงเกมส์หนึ่งที่รัฐตั้งกติกาไว้ทั้งหมดจึงไม่ใช่ความผิดของเธอเลยไม่ว่าจะเป็นทางศีลธรรมหรือทางการเมืองที่เธอต้องติดคุก เพราะรัฐมีอำนาจดิบและจะเอาเธอเข้าคุก ด้วยเหตุนี้จินตนาจึงมีวิธีการตอบโต้การถูกจำคุกของเธออย่างถึงพริกถึงขิง เนื่องจากเธอถือว่านอกศาลนั้นเป็นเวทีของเธอ ในขณะที่พ่อหลวงนงมีท่าทีที่ค่อนข้างวางเฉยกับการต้องโทษจำคุก คือ “เหมือนการย้ายที่นอน” เท่านั้น ยิ่งหากจำคุกแล้วได้มาซึ่งที่ดินทำกินก็คุ้มยิ่งกว่าคุ้ม แต่ทั้งหมดนี้ค่อนข้างต่างกับความคิดของพ่อสมัย ที่มองว่าการต้องโทษจำคุกนั้น หากจำเป็นก็สามารถติดคุกได้ แต่ก็ถือว่าการติดคุกเป็นผลจากยุทธวิธีการเคลื่อนไหวที่ผิดพลาดให้แก่การกลั่นแกล้งของฝ่ายทุน

                ทั้งนี้ “นิติสำนึก” ต่อโทษจำคุกที่ต่างกันนี้ เกิดจากปัจจัยแวดล้อมและประสบการณ์ที่ต่างกันของแต่ละคนในแต่ละพื้นที่ โดยมีกรอบกว้าง การกระทะกันระหว่างคุณค่าและประโยชน์ที่ได้จากการเคลื่อนไหว และประสบการณ์ท่าทีดีร้ายที่พลเมืองมีต่อกระบวนการยุติธรรม ซึ่งเป็นผลสอดคล้องต่อเนื่องมาจากปัจจัยสำคัญ 5 ประการที่แตกต่างกัน คือ 1). ประสบการณ์ของแต่ละบุคคลที่เผชิญกับความรุนแรง 2). ประสบการณ์การข้องแวะกับระบบกฎหมายและสังคมการเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเด็นว่าใครเสี่ยงคุกมากน้อยกว่ากัน 3). การเชื่อมโยงระหว่างชุมชนกับเครือข่ายชนชั้นกลางในเมือง เช่น นักพัฒนาเอกชน นักวิชาการ และสื่อมวลชน 4). ภูมิหลังและประสบการณ์ส่วนตัว  และ 5). ความเข้มแข็งและความสำเร็จของขบวนการเคลื่อนไหว 

 

DOI: http://dx.doi.org/10.14456/cmujlss.2012.11

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ภาษาไทย

กิตติศักดิ์ ปรกติ. สิทธิของบุคคลซึ่งรวมตัวกันเป็นชุมชน. กรุงเทพฯ: สำนักงาน ศาลรัฐธรรมนูญ, 2550.

เกียรติขจร วัจนะสวัสดิ์. คำอธิบายกฎหมายอาญา ภาค ๑. กรุงเทพฯ: จิรรัชการ พิมพ์, 2546.

คณิต ณ นคร. กฎหมายอาญาภาคทั่วไป. กรุงเทพฯ: วิญญูชน, 2551.

จิตติ ติงศภัทิย์. กฎหมายอาญา ภาค ๑. กรุงเทพฯ: จิรรัชการพิมพ์, 2546.

จรัญ โฆษณานันท์. นิติปรัชญา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคาแห่ง, 2552.

ชัยวัฒน์ สถาอานันท์. อารยะขัดขืน. กรุงเทพฯ: มูลนิธิโกมลคีมทอง, 2549.

ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ (บรรณาธิการ). ความรุนแรงซ่อน/หาสังคมไทย. กรุงเทพฯ: มติชน, 2553.

ชาตรี ศรีนวนนัด. การลงโทษจำคุก. วิทยานิพนธ์ชั้นปริญญาโท ทางนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2502.

ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร. ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมรูปแบบใหม่. กรุงเทพฯ: วิภาษา, 2545.

____________. แนะนำสกุลความคิดหลังโครงสร้างนิยม. กรุงเทพฯ: สมมุติ, 2554.

ดาริน เจริญศิลป์. การรับรู้กฎหมายและบทบาทของกฎหมายในการดำรงชีวิต ของคนพิการ. วิทยานิพนธ์ นิติศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2551.

ทรงศักดิ์ ปัญญา. การยึดที่ดินเอกชนโดยชาวบ้านในเขตลำพูนและเชียงใหม่ พ.ศ. 2533-2543. วิทยานิพนธ์ศิลปะศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชา ประวัติศาสตร คณมนุษยศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2551.

____________. การยึดที่ดินเอกชน: การปรับความสัมพันธ์เชิงอำนาจทาง. ทรัพยากร โดยชาวบ้านในชนบทภาคเหนือ, ๒ รวมบทความที่ได้รับรางวัลวนิดา ตันติวิทยาพิทักษ์ฯ 53. 2553.

ไทพีศรีนิวัติ ภักดีกุล, ประวัติศาสตร์กฎหมาย ตอน 1. เชียงใหม่: ภาควิชาสังคม วิทยาและมานุษยวิทยาคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2545.

ธีรยุทธ บุญมี. มิเชล ฟูโกต์. กรุงเทพฯ: วิภาษา, 2551.

นิธิ เอียวศรีวงศ์. “รัฐธรรมนูญฉบับวัฒนธรรมไทย” ชาติไทย, เมืองไทย, แบบเรียนและอนุสาวรีย์. กรุงเทพฯ: มติชน, 2538.

นิธิ เอียวศรีวงศ์. ปฏิรูปสังคมไทยหลังการเลือกตั้ง : บทบาทชนชั้นนำและ การเมืองภาคประชาชน [ระบบ ออนไลน์]. ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ,http://202.28.25.30/index.php?option=com_docman&task=doc._details&gid=37&Itemid=95〈=en เมื่อ 20 กันยายน 2554.

มติชนออนไลน์. ศาลตัดสินจำคุกจินตนา แก้วขาว คดีล้มโต๊ะจีน บ. โรงไฟฟ้า บ้านกรูด 4 เดือน ไม่รอลง อาญา [ระบบ ออนไลน์], ที่ http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1318312771&grpid=&catid=19&subcatid=1905 เมื่อ 12 ตุลาคม 2554.

พอล ฮอว์เกน, ภัควดี (แปล). ไม่สงบจึงประเสริฐ. กรุงเทพฯ: สวนเงินมีนา, 2554.

ภัควดี วีระภาสพงษ์. สามัญชนเปลี่ยนโลก. กรุงเทพฯ: ของเรา, 2554.

มงคล เจริญจิตต์. การรับรู้กฎหมายของผู้ใช้แรงงานในกิจการขนาดย่อม วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 2551.

ปิยอร เปลี่ยนผดุง. นิติสำนึกของบุคคลในการเล่นพนันชนไก่: กรณีศึกษา เครือข่ายการเล่นพนันชนไก่ในอาเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์นิติศาสตร์มหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์.

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 2552.

ปรีดี เกษมทรัพย์. นิติปรัชญา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2552.

รัชนี นิลจันทร์. การเรียกร้องสิทธิของคนจน: กรณีการระเบิดของโรงงานอบลำไย. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาพัฒนาสังคม คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 2548.

สกล นิศารัตน์. กฎหมายอาญาและการลงโทษที่เหมาะสม: แนวคิด ทางด้านปรัชญาและความยุติธรรมทางสังคม. วิทยานิพันธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2545..

สมชาย ปรีชาศิลปกุล, “การดื้อแพ่งต่อกฎหมายของประชาชน” [ระบบออนไลน์], มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนที่ http://www.reocities.com/midnightuniv/newpage86.html.

สมชาย ปรีชาศิลปกุล, “สันติวิธี: ทางเรืองแห่งอดีตหรืออนาคต” ฟ้าเดียวกัน ปี 1 ฉบับที่ 4 (น้ำยาสันติวิธี).

สุรกิจ ปัญจวีณิน. ความชอบธรรมกับการทาให้อารยะขัดขืนเป็นสถาบันใน ระบอบประชาธิปไตยไทย. วิทยานิพนธ์ รัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2550.

สุรีรัตน์ แต้ชูตระกูล. ชาวประจวบฯ ขอกำหนดอนาคตตัวเอง. ประจวบคีรีขันธ์: กลุ่มอนุรักษ์ทับสะแก, 2553.

สหธน รัตนไพจิตร. ความประสงค์ของการลงโทษทางอาญา: ศึกษาเฉพาะประเทศไทยสมัยใช้กฎหมายลักษณะอาญา และประมวลกฎหมายอาญา. วิทยานิพนธ์นิติศาสตร์มหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2527.

สายศิริ ด่านวัฒนะ. คาถามปลายเปิด ว่าด้วยชะตากรรมซ้าซากของภาคประชาชน. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสาธารณสุข แห่งชาติ, 2554.

เสกสรร ประเสริฐกุล. การเมืองภาคประชาชนในระบอบประชาธิปไตยไทย. กรุงเทพฯ: วิภาษา, 2548.

ศรีสุวรรณ จรรยา. จำคุก 'จินตนา' 4 เดือนกับการแลกสิทธิชุมชน-สิทธิ สิ่งแวดล้อมกลับคืนมา นับว่าคุ้มยิ่ง [ระบบออนไลน์]. ประชาไท, ที่ http://prachatai.com/journal/2011/10/37396 เมื่อ 13 ตุลาคม 2554.

องอาจ เดชา. ศาลยกฟ้องคดีบุกรุกที่ดิน? ลำพูน? [ระบบออนไลน์], กลุ่มศึกษา ข้อตกลงการค้าเสรีโดยปะชาชน, ที่ http://www.ftawatch.org/node/7708 เมื่อ 12 ตุลาคม 2554.

อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์. นิเวศประวัติศาสตร์: พรมแดนความรู้. กรุงเทพฯ: คบไฟ, 2545.

อรรถจักร สัตยานุรักษ์. “มือที่สาม” ในประวัติศาสตร์การเมืองไทย. กรุงเทพฯ: คบ ไฟ, 2549.

อรรถจักร สัตยานุรักษ์. จะรักกันอย่างไรในเมื่อเรายังไม่เข้าใจกัน. นนทบุรี: Oh my God, 2553.

อานันท์ กาญจนพันธุ์. ทฤษฎีและวิธีวิทยาของการวิจัยเชิงวัฒนธรรม. นนทบุรี: อมรินทร์, 2553. เอนก เหล่าธรรมทัศน์. การเมืองของพลเมือง: สู่สหัสวรรษใหม่. กรุงเทพฯ: คบไฟ, 2550.

David M. Engel. ปาฐกถา เรื่อง Globalization and Legal Consciousness. ณ ห้องประชุมชั้น 2 สำนักบริการ เทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (ITSC) วันที่ 21 มกราคม 2554.

ภาษาอังกฤษ

Carl Cohen. Civil Disobedience: Tactic, Conscience and the Law. New York and London: Columbia University Press, 1971.

David M. Engel, “How Does Law Matter in the Constitution of Legal Conciousness”, in Bryant G. Garth and Austin Sarat (eds), How Does Law Matters?. Northwestern University Press, 1998.

David M. Engel and Frank Munger. Right of Inclision: Law and Identity in the Life Stories of Americans with Disablilities. Chicago and London: The University of Chicago Press, 2003.

David M. Engel and Jaruwan S. Engel. Tort, Custom, and Karma: Globalization and Legal Consciousness in Thailand. Chiang Mai: Silkwarm, 2010.

David Lyon, “Obedience to Law” in Understanding the Law.,Reading in the Philosophy of Lae 3,4-6 (John Arthur and William H. Shaw., 2d ed., 1993)

Duncan Kennedy. Toward an Historical Understanding of Legal Consciousness: The case of Classical Legal Thought in America, 1850-1940, Research in Law and Sociology vol. 3 page 3-24. 1980.

Erik Luna, “Punishment Theory, Holism, and the Procedural Conception of Restorative Justice”, Utah Law Review ,2003, p. 208.

Frank Munger, “Mapping Law and Society” in Austin Sarat, et al (eds)., Crossing Boundaries: Traditions and Tranformations in Law and Society Research . Evanston: Northwestern University Press, 1998.

James C. Scott. Weapon of the Weak : Everyday Forms of Peasant Resistance. London: Yale University Press, 1985.

____________. The Art of not being Governed : an anarchist history of upland Southeast Asia. London: Yale University Press. 2009.

Joel Feinberg. “Civil Disobedience in the Modern World” in Joel Feinberg & Hyman Gross eds. Philosophy of Law 4th ed.. Belmont, Calif:Wadsworth Publg. Co., 1991.

John Rawls. ATheory of Justice. Cambridge, MA: Belknap Press, 1971.

Kim Shayo Buchanan. Our prison, Ourselves: Race, Gender and the Rule of Law. 29 YLLPR 1. 2010.

Ronald Dworkin, “Civil Disobedience” in Taking Rishts seriously, Loudon : Havrad University Press,1978.

Tyrell Haberkorn. Revolution Interrupted. London: The University of Wisconsin Press, 2011.

สัมภาษณ์

โกวิทย์, นักพัฒนาเอกชนที่ทำงานในพื้นที่นาหนองบง อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย, เมื่อวันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2555 ขณะร่วมงานทำบุญภูทับฟ้า และ สืบชะตาภูเหล็ก.

จินตนา แก้วขาว, เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 ที่บ้านคุณจิตนา แก้วขาว หลังจากรับประทานอาหารเย็น.

ลุงปัน, ประชาชนบ้านแพะใต้ ที่เข้าร่วมขบวนการปฏิรูปที่ดินโดย ประชาชนบ้านแพะใต้ , เมื่อวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2555 ที่ที่ดินปฏิรูปของป่าคา บ้านแพะใต้ จังหวัดลำพูน พร้อมกับคุณสืบสกุล กิจนุกร นักวิจัย และนักพัฒนาเอกชนที่ทำงานในพื้นที่แพะใต้มาเป็นเวลานาน จนถึงกับต้องคดีร่วมกันหลาย คดี.

สุแก้ว ฟงฟู, แกนนำประชาชนบ้านแพะใต้ปฏิรูปที่ดินโดยประชาชน, เมื่อวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2555 ที่ที่ดินปฏิรูปของป่าคา บ้านแพะใต้ จังหวัดลำพูน พร้อมกับคุณสืบสกุล กิจนุกร นักวิจัย และนักพัฒนาเอกชนที่ทำงานใน พื้นที่แพะใต้มาเป็นเวลานาน จนถึงกับต้องคดีร่วมกันหลายคดี.

สมัย ภักษ์มี, แกนนำกลุ่มคนรักษ์บ้านเกิดที่คัดค้านการทาการของ เหมืองแร่ทองคำภูทับฟ้า อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย, เมื่อวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2555 ที่สถานีตารวจนาดินดา อำเภอเมือง จังหวัดเลยขณะชุมนุมให้กำลังใจ นายชาลิน กาแพงศรี แกนนาภาคประชาชนบ้านห้วยม่วงคัดค้านเหมืองทองแดง ภูหินเหล็กไฟ ที่มีนัดสอบสวนคดีข่มขืนใจ หน่วงเหนี่ยวกักขัง หมิ่นประมาท และ ดูหมิ่นซึ่งหน้า.