การบังคับใช้มาตรการยืดหยุ่นของข้อตกลง TRIPS กับการเข้าถึงยา รักษาโรคของประเทศกำลังพัฒนา

Main Article Content

วิมล สิทธิโอสถ

บทคัดย่อ

Abstract

      การใช้ประโยชน์จากมาตรการยืดหยุ่นตามข้อตกลง TRIPS มีอุปสรรคจากการกดดันและการตอบโต้จากประเทศพัฒนาแล้วโดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา ที่ใช้การกดดันและตอบโต้ผ่านมาตรา 301 พิเศษของกฎหมายการค้า และการตัดสิทธิพิเศษทางการค้า เป็นเครื่องมือในการป้องกันและตอบโต้การใช้หรือพยายามใช้มาตรการยืดหยุ่นของประเทศกำลังพัฒนา ไม่ว่าจะเป็นนอกกระบวนการระงับข้อพิพาท หรือระหว่างดำเนินกระบวนการระงับข้อพิพาท ซึ่งเมื่อการกดดันเกิดขึ้นระหว่างขั้นตอนการเจรจาหารือตามกระบวนการระงับข้อพิพาทจึงมีส่วนในการตัดสินใจและทำให้ประเทศกำลังพัฒนามักจะยอมปฏิบัติตามที่สหรัฐอเมริกาเรียกร้อง อีกทั้งสหภาพยุโรปยังขัดขวางการขนส่งยาชื่อสามัญไปยังประเทศกำลังพัฒนาซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการเข้าถึงยาของประชาชน และส่งผลต่อประสิทธิภาพการใช้มาตรการยืดหยุ่น

      ยิ่งไปกว่านั้น นอกจากกระบวนการระงับข้อพิพาทและกฎเกณฑ์ต่างๆ ขององค์การการค้าโลกจะไม่มีกลไกใดที่จะระงับการกดดันและตอบโต้จากประเทศพัฒนาแล้วได้แล้ว องค์การการค้าโลกเองก็นิ่งเฉยต่อการกระทำและเข้าข้างประเทศพัฒนาแล้วในการตัดสินวินิจฉัยข้อพิพาทในการใช้มาตรการยืดหยุ่นของประเทศกำลังพัฒนาอีกด้วย แน่นอนว่าจากประสบการณ์ที่เกิดขึ้นย่อมทำให้ประเทศกำลังพัฒนาลังเลและวิตกกังวลต่อความเสียหายที่จะตามมาหลังจากใช้มาตรการยืดหยุ่นของข้อตกลง TRIPS และพยายามหลีกเลี่ยงที่จะใช้มาตรการยืดหยุ่นดังกล่าวในที่สุด

                      แม้ว่าจะบัญญัติมาตรการยืดหยุ่นไว้เพื่อผ่อนคลายความเข้มงวดให้ประเทศกำลังพัฒนาให้ความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาตามความเหมาะสมไว้หลายมาตรการด้วยกัน แต่หากไม่สามารถนำมาตรการยืดหยุ่นตามบทบัญญัติมาใช้บังคับได้จริงในทางปฏิบัติก็คงไม่เกิดประโยชน์อันใด ดังนั้น การดำเนินมาตรการยืดหยุ่นให้เกิดผลในทางปฏิบัติ โดยพื้นฐานทุกฝ่ายควรตระหนักว่าปัญหาที่กระทบต่อชีวิตโดยเฉพาะการเข้าถึงยารักษาโรคเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งในฐานะเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของทุกคนที่ควรได้รับความคุ้มครอง ซึ่งสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาก็เป็นสิทธิที่สามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ทุกคนในสังคม การคุ้มครองสิทธิทั้งสองจึงควรเป็นไปอย่างสอดคล้องและเกื้อกูลกัน ซึ่งมาตรการยืดหยุ่นของข้อตกลง TRIPS ก็มีขึ้นเพื่อควบคุมสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาให้สามารถอยู่ร่วมกับสิทธิอื่นๆ ได้อย่างสมดุลเพื่อประโยชน์สุขของทุกฝ่าย

 

DOI: http://dx.doi.org/10.14456/cmujlss.2012.13

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Antony Anghie and B.S.Chimni, “Third World Approaches to International Law and Individual Responsibility in Internal Conflicts”, American Journal of International Law, Symposium on Method in International Law, 1999.

Catherine Dounis, “Enforcing Intellectual Property Rights via EU Border Regulations: Inhibiting Access to Medicine or Preventing Counterfeit Medicine?”, Brooklyn Journal of International Law, 2011.

Chareles T. Collins-Chase, “The Case Against TRIPS-PLUS Protection in Development Countries Facing AIDS Epidemic”, University of Pennsylvania Journal of International Law, Spring 2008.

Clare Ribando Seeke and Peter J. Meyer, “Brazil-U.S. Relations, Congressional Research Service”, [Online]. Available: http://www.usembassy.it/pdf/other/RL33456.pdf Cynthia M. Ho, ‘Patent Breaking or Balancing?: Separating Strands of Fact From Fiction under TRIPS’, North Carolina of International Law and Commercial Regulation, Winter 2009.

David P. Fidler, “Revolt Against or from within the West?Twail,the Developing World, and the Future Direction of International Law”, Chinese Journal of International Law, 2003.

“Exclusive Marketing Rights-A monopoly without a right?”, [Online]. Available:

http://pharmapatents.blogspot.com/2005/06/exclusive-marketing-rights-monopoly.html Frederick M. Abbott, “Cross-Retaliation in TRIPS: Options for Developing Countries”, International Centre for Trade and Sustainable Development, 2009.

Hernan L. BBentolila, “Lesson from the United State Policies to Convert a “PIRATE”: The Case of Pharmaceutical Patents in Argentina”, Yale Journal of Law and Technology, 2002-2003.

Jillian Clare Cohen, Canada and Brazil Dealing with Tension between Ensuring Access to Medicines and Complying with Pharmaceutical Patent Standard: Is the Story the Same?, Comparative Program on Health and Society Working Paper Series 2003/2004.

Makau Mutua, “What is TWAIL?”, The American Society of International law : Proceedings of the 94th Annual Meeting, 2000.

Nadia Natasha Seeratan, “The Negative Impact of Intellectual Property Patent Rights on Developing Countries: An Examination of the Indian Pharmaceutical Industry”. Nathan Ford and others, “Sustaining access to antiretroviral therapy in the less-developed world: lessons from Brazil and Thailand”, p.22.[Online].Available: http://msf.openrepository.com/msf/bitstream/10144/19975/1/Su staining%20access%20to%20antiretroviral%20therapy%20- %20AIDS%2021-s4%202007-07%20PMID%2017620749.pdf

Obijiofor Aginam, International Law, HIV/AIDS, and Human Rights in Africa: a Post – Colonial Discourse, American Society of International Law Proceedings, march 29-April 1, 2006.

Oxfam, Patents versus Patients Five years after the Doha Declaration, Oxfam Briefing Paper, 2006.

Sisule F.Musungu and others, Utilizing TRIPS Flexibilities for Public Health Protection through South-South Regional Frameworks (Geneva : South Centre, 2004) Understanding Exclusive Marketing Rights as a specie of Patents. [Online].Available: http://www.algindia.com/publication/article1200.pdf

WIPO, Advice on flexibilities under the TRIPS agreement. [Online]. Available:http://www.wipo.int/ip-development/en/legislative_assistance/advice_trips.html กระทรวงสาธารณสุข และสำนักงานประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.), “คำตอบ ต่อ 10 ประเด็นสาคัญในเรื่องการใช้สิทธิโดยรัฐต่อยาต้านโรคมะเร็งที่ มีสิทธิบัตรทั้ง 4 รายการ”,กุมภาพันธ์ 2551. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://unitcost.fda.moph.go.th/cl/document_file/document_200 80611111611-1.pdf

มุทิตา เชื้อชั่ง, “มาตรการบังคับใช้สิทธิตามสิทธิบัตรยา (Compulsory Licensing) “ช่องทางเข้าถึงยา” หรือ “ระเบิดเวลา” ของระบบสุขภาพ ไทย ?”, มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค[ระบบออนไลน์]แหล่งที่มา http://www4.eduzones.com/blog/haloha123/index.php?content _id=992&page

จักรกฤษณ์ ควรพจน์, การตอบโต้ทางการค้าของสหรัฐฯผ่านมาตรา 301 และ สิทธิจีเอสพี: ศึกษากรณีการบังคับใช้สิทธิตามสิทธิบัตรยาของไทย, เอกสารวิชาการหมายเลข 20 โครงการ WTO Watch (โรงพิมพ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์: กรุงเทพฯ ), 2551.

จักรกฤษณ์ ควรพจน์, มาตรการบังคับใช้สิทธิกับปัญหาการเข้าถึงยา : ข้อพิจารณาด้านกฎหมายและความตกลงระหว่างประเทศ, เอกสาร วิชาการหมายเลข 15 โครงการWTO Watch (จับกระแสองค์การ การค้าโลก), 2550.

จิราพร ลิ้มปานานนท์, การค้าชีวิตผู้ป่วยของธุรกิจข้ามชาติ. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.pakchong1.com/index.php?option=com_content&task=view&id=33&Itemid=43

เผยไทยถูกจัดอันดับในกลุ่มบัญชีจับตาพิเศษ” [ระบบออนไลน์] แหล่งที่มา http://www.biothai.net/news/8785

พัฒน์รัชต์ ฟักจันทร์, ความตกลงทริปส์, หนังสือชุดกฎกติกา WTO เล่มที่ 5 โครงการ WTO Watch (จับกระแสองค์การการค้าโลก) พิมพ์ที่ ห้าง หุ้นส่วนจากัด สามลดา: กรุงเทพฯ 2552.

“รายงาน: ขยายนิยามยาปลอม เตะตัดขายาชื่อสามัญ-สกัดการเข้าถึงยาของ ประชาชน”,

เวบไซต์ประชาไท [ระบบออนไลน์] แหล่งที่มา http://prachatai.com/node/26395/talk

สิทธิกร นิพภยะ, สิทธิบัตรกับการเข้าถึงยา (กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2548)

“เสียงเชียร์จากนานาชาติกับมาตรการบังคับใช้สิทธิ ครั้งแรกของไทย”, เว็บไซต์ ไทยเอ็นจีโอ.[ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.thaingo.org/board_2/view.php?id=668