การศึกษารัฐธรรมนูญไทย 4 แนวทาง
Main Article Content
บทคัดย่อ
นับตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาสู่ระบอบประชาธิปไตยเมื่อ พ.ศ. 2475 มาจวบจนกระทั่ง พ.ศ. 2555 ประเทศไทยได้มีรัฐธรรมนูญประกาศใช้มาแล้วเป็นจำนวน 18 ฉบับ การมีรัฐธรรมนูญเป็นจำนวนมากส่งผลกระทบต่อสถานะและบทบาทของรัฐธรรมนูญในสังคมไทยซึ่งมีความหมายที่แตกต่างไปจากรัฐธรรมนูญในประเทศอื่นๆ ความแตกต่างของรัฐธรรมนูญไทยส่งผลให้มีความพยายามในการให้คำอธิบายต่อรัฐธรรมนูญไปในหลายแง่มุม บทความนี้ต้องการชี้ให้เห็นแนวทางการศึกษารัฐธรรมนูญไทย 4 แนวทาง อันประกอบด้วยการศึกษารัฐธรรมนูญเชิงนิติ/สถาบัน การศึกษารัฐธรรมนูญเชิงประวัติศาสตร์/วัฒนธรรม การศึกษารัฐธรรมนูญเชิงรัฐศาสตร์/การเมือง และการศึกษารัฐธรรมนูญเชิงเศรษฐศาสตร์
Abstract
From(Since) the revolution in 1932 up to(until) 2012, a total of eighteen constitutions have been promulgated in Thailand. A series of constitutions, which have been defined by different aspects of many other countries’ constitutions, that have effected the status and role of the constitution in Thai society and paved the way for many approaches in explaining the Thai Constitution. This article examines four approaches to Thai constitutional analysis; legal/institutional approach, the historical/cultural approach, the political approach, and the economic approach.
DOI: http://dx.doi.org/10.14456/cmujlss.2012.2
Article Details
O ความคิดเห็นใดๆ ที่ลงตีพิมพ์ในวารสารนิติสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นของผู้เขียน (ความคิดเห็นใดๆ ของผู้เขียน กองบรรณาธิการวารสารนิติสังคมศาสตร์ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย)
O กองบรรณาธิการ CMU Journal of Law and Social Sciences ไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอกแต่ให้อ้างอิงแหล่งที่มาด้วย
References
ประเจิด อักษรลักษณ์, หลวง. (2477). กฎหมายรัฐธรรมนูญ: คำสอนชั้นปริญญาตรี. พระนคร: มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง.
เดือน บุนนาค และ ไพโรจน์ ชัยนาม. (2477). คำอธิบายกฎหมายรัฐธรรมนูญ(รวมทั้งกฎหมายการเลือกตั้งด้วย) ภาค 1 หลักทั่วไปของกฎหมายรัฐธรรมนูญ. พระนคร: โรงพิมพ์นิติสาส์น.
นิธิ เอียวศรีวงศ์.(2547). “รัฐธรรมนูญฉบับวัฒนธรรมไทย” ใน ชาติไทย, เมืองไทย, แบบเรียนและอนุสาวรีย์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: มติชน. 2547.
เสน่ห์ จามริก. (2529). การเมืองไทยกับพัฒนาการรัฐธรรมนูญ. กรุงเทพฯ: สถาบันไทยคดีศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และมูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์.
รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์. (2546). เศรษฐศาสตร์รัฐธรรมนูญ: บทวิเคราะห์รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 เล่ม 1. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มติชน.