สิทธิชุมชนในรัฐธรรมนูญไทย

Main Article Content

บุญชู ณ ป้อมเพ็ชร

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

ในประเทศไทยแม้ว่ารัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 และรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 จะได้บัญญัติรับรองสิทธิชุมชนไว้ แต่การบัญญัติกฎหมายลำดับรองเพื่อรับรองสิทธิ เช่นพระราชบัญญัติป่าชุมชนยังไม่เกิดขึ้น การกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐยังไม่สัมพันธ์ไปกับสิทธิชุมชน รวมถึงคำพิพากษาของศาลที่ยังตัดสินตามกฎหมายลายลักษณ์อักษรและวินิจฉัยในปัญหาด้านเทคนิคต่างๆ โดยไม่ได้วินิจฉัยถึงเนื้อหาของสิทธิชุมชนแต่อย่างใด ทำให้เกิดปัญหาในการรับรองสิทธิชุมชนในประเทศไทยที่ไม่อาจพัฒนาไปได้

Abstract

In Thailand, since the constitution B.E. 2540 and B.E. 2550 stated the affirmation of community rights, there have been no laws issued to confirm those rights. For example, The Community Forest Law still hasn’t been issued and the Administrative Act didn’t relate to community rights. Furthermore, the court judgments according to written laws and other considerations of technical problems did not involve community rights at all. These practices caused the problems of community rights affirmation in Thailand and have prevented their further development. 

 

DOI: http://dx.doi.org/10.14456/cmujlss.2012.4

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กิตติศักดิ์ ปรกติ. (2550). สิทธิชุมชน.กรุงเทพฯ :สำนักพิมพ์วิญญูชน. คณะทำงานโครงการก่อตั้งสถาบันส่งเสริมการปฏิรูประบบยุติธรรมและความเป็นธรรมในสังคม คดีสิทธิมนุษยชนท้องถิ่นดั่งเดิมกับข้อกังขาว่าด้วยความชอบธรรมในสังคมไทย, เอกสารหลักประกอบการประชุมเวทีนโยบายสาธารณะ

เพื่อเอาชนะความยากจน ครั้งที่ 7, 23 มกราคม 2547

บวรศักดิ์ อุวรรณโณ. (2536). ข้อสังเกตเชิงกฎหมาย และนโยบายที่เกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติ. กรุงเทพฯ: สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา.

ไพสิฐ พาณิชย์กุล. (2538). สิทธิชุมชน: สิทธิเสรีภาพที่มีคู่ชุมชน. กรุงเทพฯ:กองทุนสนับสนุนการวิจัย(สกว.).

ยศ สันตสมบัติ. (2542). ความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน. เชียงใหม่: นพบุรีการพิมพ์.

สมชาย ปรีชาศิลปกุล. (2548). นิติสังคมศาสตร์ ฉบับ Legal pluralism พรมแดนความรู้ใหม่นิติศาสตร์ไทย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เดือนตุลา.

เสน่ห์ จามริก. (2549). สิทธิมนุษยชนไทยในกระแสโลก. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).

เสน่ห์ จามริก และ ยศ สันตสมบัติ (บก.). (2536ก). ป่าชุมชนในประเทศไทย: แนวทางการพัฒนา เล่ม 1ป่าฝนเขตร้อนกับภาพรวมของป่าชุมชนในประเทศไทย. กรุงเทพฯ. สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา.

เสน่ห์ จามริก และ ยศสันตสมบัติ (บก.). (2536ข). ป่าชุมชนในประเทศไทย: แนวทางการพัฒนา เล่ม 2 ป่าชุมชนภาคเหนือ. กรุงเทพฯ. สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา.

เสน่ห์ จามริก และ ยศ สันตสมบัติ (บก.). (2536ค). ป่าชุมชนในประเทศไทย: แนวทางการพัฒนา เล่ม 3 ป่าชุมชนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. กรุงเทพฯ. สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา.

อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์. (2548). ประวัติศาสตร์เพื่อชุมชน :ทิศทางใหม่ของการศึกษาประวัติศาสตร์. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).