สำรวจหมุดหมายสิทธิมนุษยชนในปีที่ 80 ของรัฐธรรมนูญไทย

Main Article Content

ทศพล ทรรศนกุลพันธ์

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การคุ้มครองสิทธิมนุษยชนกับการปกครองในระบอบประชาธิปไตยโดยใช้กฎหมายรัฐธรรมนูญถือเป็นสิ่งที่คู่กันและแยกออกจากกันเสียมิได้ เนื่องจากการปกครองโดยใช้กฎหมายย่อมให้อำนาจแก่รัฐในการบังคับประชาชนภายใต้เขตอำนาจของตนและอาจนำไปสู่การใช้อำนาจโดยมิชอบซึ่งอาจกระทบต่อสิทธิมนุษยชนของบุคคลได้ ดังนั้น การสถาปนารัฐธรรมนูญจึงต้องมีการรับรองสิทธิและสร้างกลไกในการคุ้มครองสิทธิไว้เพื่อประกันสิทธิของบุคคลทั้งหลายอย่างเสมอภาคกัน   ตลอดแปดสิบปีที่ผ่านมาสิทธิมนุษยชนในรัฐธรรมนูญไทยได้สอดแทรกอยู่ในหมวดสิทธิเสรีภาพ และได้ถูกขยายออกอย่างมากในรัฐธรรมนูญ 2540 และคงไว้ในรัฐธรรมนูญ 2550   แม้จะมีสิทธิบางประการได้ถูกเพิ่มขึ้นแต่ก็มีสิทธิบางประการที่ถูกลดทอนลง   อย่างไรก็ตาม กลไกในการตรวจสอบถ่วงดุลการใช้อำนาจรัฐกลับได้เพิ่มจำนวนมากขึ้นและมีขอบเขตของอำนาจมากขึ้น   ทั้งนี้ เงื่อนไขทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ก็มีส่วนสำคัญในการออกแบบรัฐธรรมนูญและบังคับตามสิทธิมนุษยชนที่รับรองไว้

 

Abstract

          The Constitutional Democracy must guarantee the Human Rights of person as a basic principal on behalf of equality before the law. In the term of Legal State, Check and Balance Organizations and right contents should be provided in constitution explicitly. Protection of power abusive from state’s agencies and authorities could be designed by a constitution through many sections in 1997 and 2007 Constitution. However, the Political, Economic, Social and Cultural conditions of Thai Society have been affected to the development of Human Rights Protections in Thailand in many aspects.

 

DOI: http://dx.doi.org/10.14456/cmujlss.2012.5

Article Details

บท
บทความวิจัย