หนังสือสั่งการ : อำนาจรัฐส่วนกลางเหนือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

Main Article Content

อนุรักษ์ กาวิโจง

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

            การควบคุมด้วยวิธีสั่งการผ่านหนังสือราชการจากรัฐส่วนกลางสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แม้ว่ารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยจะมีกฎหมายว่าด้วยการกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และกฎหมายว่าด้วยสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล ให้การรองรับและส่งเสริมการกระจายอำนาจปกครองสู่ท้องถิ่น แต่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นก็ยังถูกควบคุมกำกับโดยรัฐส่วนกลางผ่านหนังสือราชการและการสั่งการในลักษณะที่เป็นอุปสรรคต่อความเป็นอิสระในการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น และรัฐส่วนกลางยังไม่มีการกระจายอำนาจการตัดสินใจในกระบวนการบริหารงานปกครองให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตามแนวทางการกระจายอำนาจปกครองสู่ท้องถิ่น ภายใต้หลักกฎหมายและการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน

Abstract

The central government control through letter of order over local government organizations. Even though, the Constitution of the Kingdom of Thailand offers the law  governing the steps and procedures for decentralization to local government organizations. The Law of Sub-district Council and Sub-district Administration Organization also supports and promotes decentralization to local organizations. But local government organization are regulated by the central government through letter of order and ordering which obstructs independence of local government. Central government dose not decentralize decision-making power in governance process to local government organizations. This decentralization policy should be implemented under the rule of law and political participation of the people.

 

DOI: http://dx.doi.org/10.14456/cmujlss.2012.6

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

หนังสือและวารสาร

คณะกรรมการปฎิรูป. 2554. ข้อเสนอการปฏิรูปโครงสร้างอำนาจ. พิมพ์ครั้งแรก. นนทบุรี: บริษัท ที คิว พี จำกัด.

จรัส สุวรรณมาลา และคณะ. 2548. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์โครงการวิถีใหม่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

ชูวงศ์ ฉายะบุตร. 2535. ขยายฐานประชาธิปไตยสู่ปวงชน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่น กรมการปกครอง.

ธเนศวร์ เจริญเมือง. 2539. 99 ปีของการปกครองท้องถิ่นไทย พ.ศ.2440-2539. โครงการศึกษาการปกครองท้องถิ่น คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

นรนิติ เศรษฐบุตร และคณะ. 2541. รายงานการวิจัย เรื่อง การมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาประชาธิปไตย: องค์การบริหารส่วนตำบล. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรงุ เทพฯ: กองการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

นันทวัฒน์ บรมานันท์. 2552. การปกครองส่วนท้องถิ่น. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: บริษัท สำนักพิมพ์วิญญูชน จำกัด.

วสันต์ เหลืองประภัสร์. 2548. “ความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรทางปกครอง การกำกับดูแล และความเป็นอิสระขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น: แนวคิด ประเด็นปัญหา และข้อพิจารณาบางประการ”.วารสารวิชาการ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. มหาวิทยาลัยบูรพา, 13(17): 87-123.

วิลาวัณย์ หงส์นคร. 2551. “ความสัมพันธ์เชิงอำนาจระหว่างราชการบริหารส่วนกลางส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น: กรณีศึกษาการพัฒนาพื้นที่ประวัติศาสตร์กลางเมืองเชียงใหม่ (พ.ศ.2545-2549)”. วิทยานิพนธ์ หลักสูตรปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ศุมล ศรีสุขวัฒนา. 2542. อบต.กับการจัดการปัญหาสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมตามกฎหมาย. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.

สมคิด เลิศไพฑูรย์. 2550. กฎหมายการปกครองท้องถิ่น. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ:ธรรกมลการพิมพ์.

ข้อมูลจากระบบออนไลน์

สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดเชียงใหม่. หนังสือราชการ [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://local.chiangmai.go.th/webmaster/main_newsall.php (2 กรกฎาคม 2554).