จากระบบกฎหมายแบบทวิเพศสู่ระบบกฎหมายแบบพหุเพศ
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
ในอดีตแนวความคิดแบบทวิเพศมีอิทธิพลอย่างสำคัญต่อระบบกฎหมายในเรื่องของการจำแนกเพศและการก่อตั้งสถาบันครอบครัว แต่นับตั้งแต่ปลายศตวรรษที่ 20 ได้เกิดความเปลี่ยนแปลงในระบบกฎหมายเพื่อรองรับสถานะของบุคคลเพศหลากหลายทั้งในกฎหมายระหว่างประเทศและระบบกฎหมายภายในของแต่ละประเทศ โดยในกฎหมายระหว่างประเทศได้ยอมรับตัวตนของบุคคลเพศหลากหลายมากขึ้นบนหลักของความเสมอภาคและการไม่เลือกปฏิบัติอันเนื่องมาจากความแตกต่างระหว่างเพศ ขณะที่กฎหมายภายในได้มีความเปลี่ยนแปลงที่สำคัญใน 2 ด้าน คือ การยอมรับการเปลี่ยนเพศในทางกฎหมาย และการยอมรับการใช้ชีวิตคู่ของบุคคลเพศหลากหลาย ซึ่งความเปลี่ยนแปลงนี้ส่งผลให้ระบบกฎหมายคลี่คลายไปสู่ระบบกฎหมายแบบพหุเพศมากขึ้น
Abstract
In the past, Gender Dualism approach had a strong influence on legal system in terms of gender classification and marital establishment of family. Since the late twentieth century, significant changes have been occurred, both in international and domestic law, in order to legalize the LGBT's identity according to the equality and anti-discrimination principle. Two movements on legal issue have been mobilized: legal recognition of trans-gender person; and legalization of same-sex marriage. As a result, this movement has driven legal system toward gender pluralism.
DOI: http://dx.doi.org/10.14456/cmujlss.2013.7
Article Details
O ความคิดเห็นใดๆ ที่ลงตีพิมพ์ในวารสารนิติสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นของผู้เขียน (ความคิดเห็นใดๆ ของผู้เขียน กองบรรณาธิการวารสารนิติสังคมศาสตร์ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย)
O กองบรรณาธิการ CMU Journal of Law and Social Sciences ไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอกแต่ให้อ้างอิงแหล่งที่มาด้วย
References
Douglas Sanders. Remembering Jossie and Bonnie: Same-sex Marriage in Asia. A paper presented in International Lesbian and Gay Association. Stockholm, Sweden. December 15. 2012
Lucas Paoli Itaborahy. “State-sponsored Homophobia A world survey of laws criminalizing same-sex sexual acts between consenting adults” [Online], Available: HYPERLINK “http://old.ilga.org/Statehomophobia/ILGA_State_Sponsored_Homophobia_2012.%09pdf”http://old.ilga.org/Statehomophobia/ILGA_State_Sponsored_Homophobia_2012. pdf (August 1, 2012)
Nicholas Toonen v. Australia, Human Rights Committee, Communication no. 488/1992, Undoc.CCPR/C/50/D/488/1992
กิตติศักดิ์ ปรกติ. (2527, เมษายน-มิถุนายน).“ตำนานรักร่วมเพศของไทย”.วารสารนิติศาสตร์. 13 (2). หน้า 85-95
ไพศาล ลิขติปรีชากุล (ผู้แปล). (2552).หลักการยอกยาการ์ตา ว่าด้วยการใช้กฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศในประเด็นวิถีทางเพศ และอัตลักษณ์ทางเพศ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ.
ยุทธนา สุวรรณประดิษฐ์. (2543).สิทธิและเสรีภาพของรักร่วมเพศชายตาม กฎหมายรัฐธรรมนูญ: วิเคราะห์จากปัญหาของสังคมไทย. วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
รองพล เจริญพันธ์. (2524, กรกฎาคม-กันยายน). “ปัญหากฎหมายครอบครัวและกฎหมายอาญาที่เกี่ยวกับการผ่าตัดแปลงเพศในประเทศที่ใช้คอมมอนลอว์”. วารสารนิติศาสตร์ 10 (3). หน้า 57-82
วราภรณ์ อินทนนท์. (2552). การรับรองสิทธิขั้นพื้นฐานแก่ปัจเจกชนบนพื้นฐานของความหลากหลายทางเพศ. วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.