ข้อถกเถียงว่าด้วย “ผู้ใดจะกล่าวหาหรือฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ในทางใดๆ มิได้” ในรัฐธรรมนูญ 2492
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทบัญญัติว่าด้วยการห้ามฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ปรากฏขึ้นเป็นครั้งแรกในรัฐธรรมนูญ 2492 โดยก่อนหน้ารัฐธรรมนูญฉบับนี้จะมีแต่บทบัญญัติที่กำหนดไว้ว่าพระมหากษัตริย์อยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะและล่วงละเมิดมิได้เท่านั้น การเพิ่มบทบัญญัติห้ามการฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ได้กลายเป็นต้นแบบให้กับรัฐธรรมนูญแทบทุกฉบับในเวลาต่อมา ซึ่งจะมีบทบัญญัติที่คล้ายคลึงกับที่อยู่ปรากฏในรัฐธรรมนูญฉบับนี้
การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในรัฐธรรมนูญ 2492 จึงมีความหมายที่สำคัญในประวัติศาสตร์ของรัฐธรรมนูญไทย ซึ่งในกระบวนการจัดทำบทบัญญัติดังกล่าวของรัฐสภาก็ได้มีการให้คำอธิบาย การโต้แย้ง การนิยามความหมายของสถาบันพระมหากษัตริย์ว่าจะดำรงอย่างไรภายใต้รูปแบบการปกครองแบบรัฐสภา จะพบว่ามีการถกเถียงกันอย่างกว้างขวางอันแสดงให้เห็นว่าแนวความคิดดังกล่าวยังไม่ได้เป็นที่ยอมรับกันอย่างแพร่หลายแต่อย่างใด แม้ว่าในรัฐสภาจะประกอบด้วยกลุ่มที่เป็นฝ่ายอนุรักษ์-นิยมเจ้าเป็นส่วนใหญ่ก็ตาม
The provision to restrict accusation against the King has first emerged in the Constitution of Siam B.E.2492. However, before this provision, the Constitution only put the King in the position of revered worship and shall not be violated. After adding the clause restricting any accusation to the King, this restriction became a model for the constitutions afterward. Even, the latest Constitution also had a similar clause.
This change in the Constitution of Siam B.E. 2492 has a substantial meaning in the history of Thai constitutions. In the drafting process, the Parliament had important argument and debate to the meaning of the monarch and its position under the Parliamentary system. From a study, the argument on this issue still stimulated widespread discussion. Hence, this disagreement demonstrated a concept about the King’s status was still vague; even though, there were both conservatives and royalists as a majority in the Parliament at that time.
Article Details
O ความคิดเห็นใดๆ ที่ลงตีพิมพ์ในวารสารนิติสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นของผู้เขียน (ความคิดเห็นใดๆ ของผู้เขียน กองบรรณาธิการวารสารนิติสังคมศาสตร์ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย)
O กองบรรณาธิการ CMU Journal of Law and Social Sciences ไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอกแต่ให้อ้างอิงแหล่งที่มาด้วย
References
ณัฐพล ใจจริง.(2552). การเมืองไทยสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม ภายใต้ระเบียบโลกของสหรัฐอเมริกา (พ.ศ. 2491- 2500). วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ทินกฤต นุตวงษ์. (2555). คำอธิบายพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475 ฉบับปฐมฤกษ์แห่งสยาม". วารสารนิติสังคมศาสตร์. 5 (2).
ปิยบุตร แสงกนกกุล. (2555). องค์กษัตริย์ไม่อาจถูกละเมิดได้คืออะไร. ฟ้าเดียวกัน. 10 (1).
รายงานการประชุมรัฐสภา ครั้งที่ 13 พิจารณาร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับพุทธศักราช 2492 วันศุกร์ที่ 14 มกราคม พุทธศักราช 2492 ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม.
รายงานการประชุมรัฐสภา ครั้งที่ 14 พิจารณาร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับพุทธศักราช 2492 วันเสาร์ที่ 15 มกราคม พุทธศักราช 2492 ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม.
รายงานการประชุมรัฐสภา ครั้งที่ 15 พิจารณาร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับพุทธศักราช 2492 วันจันทร์ที่ 17 มกราคม พุทธศักราช 2492 ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม.
สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ. (2534). แผนชิงชาติไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สมาพันธ์.