อำนาจแห่ง ‘อัตลักษณ์’ ตุลาการ

Main Article Content

กฤษณ์พชร โสมณวัตร

บทคัดย่อ

    บทความชิ้นนี้เป็นการศึกษาเพื่อตอบปัญหาว่า อะไรคืออัตลักษณ์ตุลาการไทย และอัตลักษณ์ตุลาการนั้นสัมพันธ์กับลักษณะการใช้อำนาจของตุลาการไทยอย่างไร โดยใช้วิธีการตีความจากหนังสืออนุสรณ์และหนังสืองานศพของผู้พิพากษาเป็นหลัก ว่าลักษณะใดของตุลาการได้รับการตอกย้ำอย่างต่อเนื่อง ผู้เขียนพบว่าอัตลักษณ์ตุลาการมีอยู่สี่ลักษณะที่สำคัญ อันเป็นอัตลักษณ์ร่วม ได้แก่ การเป็นคนดี หมายถึงการเป็นคนดีตามขนบพุทธศาสนา การเป็นผู้ดี ตามแบบสุภาพบุรุษที่เพียบพร้อมทั้งจิตใจและรูปลักษณ์ การเป็นผู้รู้ หมายถึงการเป็นผู้ผ่านการทบสอบความรู้กฎหมายมาเหนือชั้นกว่านักกฎหมายอื่นๆ และการเป็นผู้จงรักภักดี ในที่นี้คือ ต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลฯ ในรัชกาลที่ ๙ เป็นหลัก มิได้แสดงต่อพระมหากษัตริย์ในเชิงสถาบันแต่อย่างใด นอกจากนี้ อัตลักษณ์ตุลาการทั้งสี่ประการยังมีความสำคัญต่อการพิจารณาพิพากษาคดีอันเป็นหน้าที่โดยปกติของผู้พิพากษา เพราะการพิพากษาคดีจำเป็นต้องอาศัยการตีความกฎหมายและข้อเท็จจริง ซึ่งผู้พิพากษาจำเป็นต้องใช้อิทธิพลทางกฎหมาย หรืออำนาจทางวัฒนธรรมกฎหมายไทย ประกอบไปกับการใช้กฎหมายเพื่อให้เกิดการยอมรับด้วย ดังนั้น การแสดงออกและตอกย้ำซึ่งอัตลักษณ์ตุลาการทั้งสี่ประการให้ปรากฏชัดในสังคมจึงเป็นหน้าที่ทางการเมืองในการปฏิบัติหน้าที่ตามปกติของตุลาการด้วย

 

This paper is a study to answer the question; “What the identity of the Thai judges is?” and “How such identity relate to the using of Thai’s judges power is?”. To identify the identity of the Thai judges, this study mainly tries to interpret the cremation volume of the judges and look for some characters which reproduced from time to time. According to the paper, I found the identity of Thai Judges has four components. The first is Thai judges have to be a “Goodman” which refer to Thai Buddhism traditions. The second, Thai judges need to be polite and kind as a “Gentlemen”. The third characteristic of Thai judges is their achievement in Law school called “Legal Sophist” and the last one, I found that Thai judges have to be a “Royalist” not for the monarchy as the institution but for the King Rama 9 of King Bhumibol Adulyadej as a person. In addition, all components of Thai judges’ identity are important factor in judicial trial because the judges have to interpret the law and the fact in the cases. In the process of interpretation, the judges need to use their “legal influence” or “cultural power in Thai law” to reach the social legitimacy. By these reasons, the duty of Thai judges to display and reproduce their identity has political function in their everyday working life.    

 

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

"ศาสตรจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์ นายกรัฐมนตรีคนที่ 12 ของแผ่นดิน" ใน ดอกโมกข์:พุทธทาสภิกขุ กับสัตบุรุษสัญญา ธรรมศักดิ์. (2545).กรุงเทพฯ: สำนักงานหนังสือดอกโมกข์. หน้า 172.

๙๐ ปี ปูชนียบุคคล สัญญา ธรรมศักดิ์ (2540). กรุงเทพฯ: สำนักพมิ พม์ หาวทิ ยาลัย ธรรมศาตร์.

Prakob Hutasingh. (2530)."A Good Judge".ดุลพาห.34(1).7-15.

เกษมสันต์ วิลาวรรณ. (2555).คนตัดสินคน. กรุงเทพฯ: วิญญูชน.

ไกรฤกษ์ เกษมสันต์. (2520). "แม้หินผาที่กล้าแกร่งยังเว้าแหว่วด้วยแรงแห่งสายธาร".ดุลพาห. 24 (1). 80-82.

คำของอาจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์.(2555). กรุงเทพฯ: สถาบันสัญญา ธรรมศักดิ์เพื่อประชาธิปไตย.

จันทนา ไชยนาเคนทร์. (2554).การเมืองในสมัยนายกพระราชทาน สัญญา ธรรมศักดิ์ (พ.ศ. 2516-2518).วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ชีวิตและการทำงาน ทองใบ ทองเปาด์ ทนายประชาชน-ทนายแม็กไซไซ และงานเขียนคอมมิวนิสต์ลาดยาว. (2554). กรุงเทพฯ: เพชรประกาย.

ชูเชิด รักตะบุตร์. (2515). "การรายงานความดีความชอบของผู้พิพากษา". ดุลพาห. 19(1).17-21.

ดอกไม้สด. (2516). ผู้ดี. กรุงเทพฯ: ศิลปาบรรณาการ.ที่ระะลึกงานพระราชทานเพลิงศพ ศาสตราจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์ ท่านผู้หยิงพะงา ธรรมศักดิ์. (2545). ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิสริยาภรณ์ วันเทพศิริน

ทราวาส, วันเสาร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2545.

ธวัช สุทธิสมบูรณ์. (2520). "ผู้พิพากษากับสิ่งที่เรียกว่า....รอคอยความหวัง" .ดุลพาห. 24(1).42-47.

ธีรยุทธ บุญมี, "พิพากษาหาความยุติธรรมให้ประเทศ เพิ่มดุลยภาพการเมืองไทย ก้าวสู่การปฏิรูปการเมืองหน 2" นำเสนอในงานสัมมนาพิเศษ เรื่อง "วิกฤตประเทศไทย ยุคทุนนิยมไล่ล่า" ในโอกาสครบรอบ 30 ปีของหนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ ที่โรงแรมแกรนด์ ไฮแอท เอราวัณ กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 31พฤษภาคม 2549, อ้างใน ปิยบุตร แสนกนกกุล, ประชาไท,(2555). "นิติรัฐประชาธิปไตย และตุลาการภิวัฒน์ หลัง 25 เมษายน 2549". แหล่งที่มา http://prachatai.com/journal/2009/02/20030 (26สิงหาคม 2555).

นครินทร์ เมฆไตรรัตน์. (2553).การปฏิวัติสยามพ.ศ. 2475. กรุงเทพฯ: ฟ้าเดียวกัน.

นรนิติ เศรษฐบุตร. (2548).สัญญากับประชาธิปไตย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

นิธิ เอียวศรีวงศ์. (2555). "ศาลเจ้า". พิพากษ์ศาล. กรุงเทพฯ: มติชน. หน้า 15-21.

ประชาไท. (2555). "คำวินิจฉัยกลางศาลรัฐธรรมนูญ: คดีแก้ รธน. คือ ล้มล้างการปกครองฯ หรือไม่ (อย่างเป็นทางการ)". แหล่งที่มา http://prachatai.com/journal/2012/07/41752 (15กันยายน 2556)

ประชาธรรม. (2555). "นิติ มช. เปิดวงเสวนาตุลาการภิวัฒน์ : รัฐประหารบนบัลลังก์ศาล". แหล่งที่มา http://www.prachatham.com/detail.htm?code=n6_10062012_01 (15 กันยายน 2556).

ประพจน์ ถิระวัฒน์. (2522). "จรรยาของตุลาการ".ดุลพาห.26(5).4-9.

พระพรหมคุณาพรณ์. (2555).นิติศาสตร์แนวพุทธ. กรุงเทพฯ: วิญญูชน.

พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลฯ, "พระราชดำรัสพระราชทานแก่ผู้พิพากษาประจำศาลสำนักงานศาลยุติธรรม เข้าเฝ้าฯ ถวายสัตย์ปฏิญาณตนก่อนเข้ารับหน้าที่ ณ พระตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ วันอังคารที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2549 (ฉบับไม่เป็นทางการ โดยสำนักราชเลขาธิการ)",เครือข่ายกาญจนาภิเษก, แหล่งที่มา http://www.kanchanapisek.or.th/speeches/2006/0425-02.th.html (26สิงหาคม2555).

พุทธทาสภิกขุ. (2535). คู่มือมนุษย์ ฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพฯ; ธรรมสภา.

มติชน. (2556). "เปิดคำวินิจฉัยกลางศาล รธน. กรณีคำร้อง "ม.68". แหล่งที่มา http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1343288921&grpid=03&catid=03(15 กันยายน 2556); ASTV ผู้จัดการ. "ศาล รธน.เผยคำวินิจฉัยกลางคดีแก้ รธน.ม.291 ชาวเน็ตแห่ชมจนเว็บล่ม".แหล่งที่มา http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9550000092010(15

กันยายน 2556).

รายการตามฝัน ตอนที่ 3 "อยากเป็นผู้พิพากษา" ด.ช.วีร์ ราชากรกิจ (น้องเฮิร์คกี้) ด.ญ.ศุภลาภินี ภักดีฉนวน (น้องว่าน) ด.ญ.วริษา รุ่งอารยะ (น้องคอมปาวด์) จากโรงเรียนสาธิตจุฬาฯ ฝ่ายประถม, 9 เมษายน 2556, แหล่งที่มา http://www.youtube.com/watch?v=v5LR_nJLUdU&feature=youtube_gdata (30 พฤษภาคม 2556).

วสันต์ สร้อยพิสุทธิ์. (2556).เรื่อง(ไม่)สนุกในศาลรัฐธรรมนูญ. กรุงเทพฯ: ต้นธรรม.

วิมลพรรณ ปิตธวัชชัย. (2546).สัญญา ธรรมศักดิ์คนของแผ่นดิน. กรุงเทพฯ: เดือนตุลา.

วีระ สมบูรณ์ (บรรณาธิการ). (2549). พุทธทาสยังอยู่ไปไม่มีตาย. กรุงเทพฯ:คณะกรรมการ อำนวยการจัดงาน 100 ปีพุทธทาสภิกขุ.

ศรีบูรพา. (2472). "ว่าด้วย คำว่า "สุภาพบุรุษ"", สุภาพบุรุษฉบับปฐมฤกษ์ วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ.2472. หรือ ระบบออนไลน์,Fringer คนชายขอบ, แหล่งที่มา http://www.fringer.org/wp-content/writings/gentleman.pdf

(11กุมภาพันธ์ 2557).

ศาลยุติธรรมกองสารนิเทศและประชาสัมพันธ์ สำนักงานศาลยุติธรรม. หน้าปกใน. แหล่งที่มา www.iprd.coj.go.th/system/book.html

ศาสตราจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์ กับ ศาลและกระทรวงยุติธรรม, (2534). ศาลฎีกาและกระทรวงยุติธรรมจัดพิมพ์เพื่อแสดงกตเวทิตาาแด่ศาสตราจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์ ในโอกาสอายุครบ 7 รอบ วันที่ 5 เมษายน 2534.

ศาสตราจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์ กับธรรมศาสตร์, (2534). จัดพิมพ์ในโอกาสอายุครบ 84 ปี ศาสตราจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์ โดย สมาคมธรรมศาสตร์ในพระบรมราชูปถัมภ์, 2534.

สมชาย ปรีชาศิลปกุล. (2546).ความยอกย้อนในประวัติศาสตร์ของบิดาแห่งกฎหมายไทย. กรุงเทพฯ: วิญญูชน.

สรรเสริญ ไกรจิตติ. (2512). "บันทึกเรื่องเงินเดือนตุลาการ". บทบัณฑิตย์. 26(4). 800-805.

สัญชัย สัจจวาณิช. (2515). "อิสระของตุลาการ". บทบัณฑิตย์. 29(4).965-970.

สัญชัย สัจจวาณิช. (2519). "การดำรงตนของตุลาการ". ดุลพาห. 23(5).4-8.

สัญญา ธรรมศักดิ์. (2534). "คำอำลาเนื่องในเกษียณอายุราชการ". วิชา มหาคุณ (บรรณาธิการ).ศาสตราจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์ กับศาลและกระทรวงยุติธรรม. กรุงเทพฯ:ศาลยุติธรรมและกระทรวงยุติธรรม. หน้า 104.

สัญญา ธรรมศักดิ์. (2534). "จิตใจและการดำ รงตนของบรรพตุลาการ". ศาสตราจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์ กับศาลและกระทรวงยุติธรรม. กรุงเทพฯ: ศาลฎีกาและกระทรวงยุติธรรม.

สายชล สัตยานุรักษ์. (2546). พุทธศาสนากับแนวคิดทางการเมืองในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (พ.ศ.2325-2352). กรุงเทพฯ:มติชน.

สุลักษณ์ ศิวลักษ์. (2545). "คำไว้อาลัย อ.สัญญา ธรรมศักดิ์". เสจิยธรรม. 12(52).

หยุด แสงอุทัย. (2520).ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายทั่วไป. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

แหล่งที่มา http://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/000/777/869/large_A9783980-2.jpg?1324644543 (17 กุมภาพันธ์ 2557).

อนุสรณ์ มนตรี ยอดปัญญา.(2554).

อนุสรณ์ ศักดา โมกขมรรคกุล.

อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิง ศาสตราจารย์ หยุด แสงอุทัย ม.ป.ช.,ม.ว.ม.,ท.จ.ว. ณ เมรุหน้าพลับพลาอศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทรวาส วันที่ 19 เมษายน พุทธศักราช 2523.(2523).กรุงเทพฯ: บพิธการพิมพ์.

อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ ศาสตราจารย์ (พิเศษ) ประมขุ สวัสดมิ์ งคล.(2555). ณ เมรุวัดมกุฏกษัติยารามราชวรวิหาร. วันพุธที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2555.

อนุสรณ์เนื่องการที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ พระราชทานพระบรมราชานุเคราะห์และเสด็จพระราชดำเนินพระราชทานเพลิงศพ ศาสตรจารย์สัญญาธรรมศักดิ์. (2545). ณ เมรุวัดเทพศิรินทราวาส เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร วันเสาร์ที่ 21 กันยายน พุทษศักราช 2545.

อนุสรณืเนื่องในพระราชทานเพลิงศพ นายประมาณ ชันซื่อ . (2550). ณ เมรูหลวงหน้าพลับพลาอศริยาภรณ์. 3 มิถุนายน 2550.

อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ ท่านผู้หญิงชวนชื่น หุตะสิงห์ ม.ป.ช., ม.ว.ม.,ท.ว.จ. (2556). ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทร์.วันอังคารที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2556.

คำพิพากษา

คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญกลางที่ 18-22/2555

คำพิพากษาฎีกาที่ 6083/2546