การพิจาณาและลงโทษคดีละเมิดอำนาจศาลภายใต้พระปรมาภิไธยฯ
Main Article Content
บทคัดย่อ
ในประเทศไทยองค์กรตุลาการเป็นองค์กรที่ได้รับการยกย่องและได้รับการยอมรับว่าเป็นองค์กรที่มีความใกล้ชิดกับองค์พระมหากษัตริย์มากกว่าองค์กรบริหารและองค์กรนิติบัญญัติ อันส่งผลให้ผู้พิพากษาเป็นเสมือน “ภาพแทน” ขององค์พระมหากษัตริย์ อันจะเห็นได้จากการใช้ภาษาและระเบียบปฏิบัติต่างๆ ขององค์กรตุลาการที่มีความพิเศษแตกต่างไปจากองค์กรอื่นๆ อาทิ การเรียกที่นั่งของผู้พิพากษาขณะพิจารณาคดีว่า “บัลลังก์” การเขียนคำลงท้ายในคำร้องคำฟ้องหรือคำขอต่างๆ ที่ยื่นต่อศาลว่า “ควรมิควรแล้วแต่จะโปรดฯ” หรือคำกล่าวที่ว่าการพิจารณาตัดสินคดีของผู้พิพากษาเป็นการทำงาน “ในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์” เป็นต้น ซึ่งแนวคิดดังกล่าวนี้ยังได้ส่งผลไปถึงการพิจารณาพิพากษาคดีของผู้พิพากษา โดยเฉพาะในความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล อันเป็นความผิดที่ผู้พิพากษามีอำนาจใช้ดุลยพินิจในการพิจารณาพิพากษาคดีได้อย่างเต็มที่ ทำให้การพิจารณาพิพากษาคดีและการลงโทษความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลเป็นวิธีพิจารณาความที่มีลักษณะเฉพาะแตกต่างไปจากวิธีพิจารณาความอื่นๆ ที่กฎหมายกำหนดไว้ และการพิจารณาพิพากษาคดีซึ่งอยู่ภายใต้ทัศนคติเช่นนี้ของผู้พิพากษานั้นยังสุ่มเสี่ยงต่อการใช้อำนาจเกินขอบเขตที่ยากต่อการตรวจสอบและห่างไกลจากประชาชนผู้ซึ่งเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยที่แท้จริง
In Thailand, the Judiciary is revered and accepted as the organization that is the closest to the King as opposed to the other branches namely the Executive and Legislature. By observing the unique style of terminologies and regulations related to the organization, judges are symbolically regarded as representatives of the King. Those special lexicons are, for example, judge’s bench is called “Bal-lung” (or throne); some legal expressions such as “May the matter rest upon your judgment, your honor” – closing words at the end of accusation/petition forms; and “In the name of His majesty, the King” used in the heading of official report of the judge's verdict on a case. This exclusive perception allows judges to apply judicial consideration during legal proceedings, especially in the charge of contempt of the court whereby judges have full discretion on the proceedings. With respect to this charge, the trial proceedings and imposition of sentences are different from other types of proceedings as prescribed by the laws. Under this broad authority and perception, judges are susceptible to excessive use of judicial power, which is rarely under scrutiny, and perceived as inaccessible to the people who in fact are the true owners of sovereignty.
Article Details
O ความคิดเห็นใดๆ ที่ลงตีพิมพ์ในวารสารนิติสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นของผู้เขียน (ความคิดเห็นใดๆ ของผู้เขียน กองบรรณาธิการวารสารนิติสังคมศาสตร์ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย)
O กองบรรณาธิการ CMU Journal of Law and Social Sciences ไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอกแต่ให้อ้างอิงแหล่งที่มาด้วย
References
คณะกรรมการอิสระว่าด้วยการส่งเสริมหลักนิติธรรมแห่งชาติ. นิติรัฐ นิติธรรม. 2555.
ณปภา ตุลารักษ์. (2553). ขอบเขตและวิธีพิจารณาความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล.มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.
ถอดเทปคำบรรยาย ของ สถิต ไพเราะโดยผู้วิจัยในงาน "ตุลาการ มโนธรรมสำนึกประชาธิปไตย" เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2553 ณ ห้องจิ๊ด เศรษฐบุตร คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์.
นิกร ทัสสโร. "ศาลยุติธรรมกับสถาบันพระมหากษัตริย์". แหล่งที่มา www.library.coj.go.th.
นิธิ เอียวศรีวงศ์. (2555). พิพากษ์ศาล. กรุงเทพฯ: มติชน.
ประภาศน์ อวยชัย. (2531). "ความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล". ดุลพาห. 35(3).
ปวีณา เจดีย์วงศ์. (2536). "ละเมิดอำนาจศาล". ดุลพาห. 40(3).
ปิยบุตร แสงกนกกุล. (2553). ในพระปรมาภิไธย ประชาธิปไตย และตุลาการ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ openbooks.
พธินัย ไชยแสงสุขกุล และ อำนวย พรหมอนันต์. (2537). วิจัยพื้นฐานเรื่องกฎหมายแห่งราชอาณาจักรสยาม (ศึกษาเปรียบเทียบโครงการสร้างระบบกฎหมายและเนื้อหาบทบัญญัติของอาณาจักรสยามและอาณาเขตทักษิณ). กรุงเทพฯ: บริษัทสามเจริญพาณิชย์.
เพ็ญจันทร์ โชติบาล. (2548). พระราชอำนาจในการพระราชทานอภัยโทษของพระมหากษัตริย์ไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ภชฤทธิ์ นิลสนิท. (2554). "ในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์". ดุลพาห. 58(1).
สถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์. (2522). ละเมิดอำนาจศาลกับสังคมไทย. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์พาสิโก.
สราวุธ เบญจกุล. (2552). "การละเมิดอำนาจศาลตามกฎหมายสหราชอาณาจักร". ดุลพาห. 71.
แสวง บุญเฉลิมวิภาส. (2554). ประวัติศาสตร์กฎหมายไทย.กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์วิญญูชน.