ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของ “ไพร่” ผู้ร่วมชุมนุมทางการเมืองในปี พ.ศ. 2553
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความเรื่อง “ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของ “ไพร่” ผู้เข้าร่วมชุมนุมทางการเมืองในปี พ.ศ.2553” เป็นการศึกษาศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของประชาชนผู้เข้าร่วมชุมนุมทางการเมืองกับแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ-นปช.-หรือ “ไพร่” ที่ถูกสลายการชุมุนมภายใต้พระราชบัญญัติบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พุทธศักราช 2548 จากการศึกษาพบว่า ผลที่ได้รับจากการสลายการชุมนุม คือ การบาดเจ็บ/เสียชีวิตและถูกจับกุมในข้อหาก่อการร้าย ซึ่งเกี่ยวข้องกับเข้ารับบริการกลไกรัฐ 2 กลไก คือ กลไกในระบบสาธารณสุข และกลไกในกระบวนการยุติธรรม การไม่เคารพความเป็นมนุษย์ในกลไกสาธารณสุขเกิดจากทัศนคติของบุคลากรการแพทย์ที่มีทัศนะทางการเมืองที่แตกต่างจากผู้เข้าร่วมชุมนุม ทำให้ “ไพร่” ผู้ได้รับบาดเจ็บขาดความไว้วางใจที่จะเข้ารับการรักษาพยาบาล นอกจากนี้การไม่เคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของ “ไพร่” ผู้เข้าร่วมชุมนุมทางการเมืองยังปรากฏในการบังคับใช้กฎหมายอีกด้วย ดังการจับกุมคุมขังผู้ต้องหาที่เกี่ยวข้องกับคดีวางเพลิงศาลากลางจังหวัดอุบลราชธานี ในวันที่19 พฤษภาคม 2553 ซึ่งมีผู้ต้องหาที่ถูกจับโดยละเมิดหลักนิติธรรมและละเมิดรัฐธรรมนูญ เนื่องจากพระราชบัญญัติบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พุทธศักราช 2548 เป็นการงดใช้รัฐธรรมนูญในบางมาตรา สิทธิที่บัญญัติในรัฐธรรมนูญจึงขัดแย้งกับพระราชบัญญัติ การบังคับใช้กฎหมายจึงเปรียบได้ดังปืนเด็กเล่นที่ไม่สามารถทำลายรถถังได้ เมื่อเป็นเช่นนี้ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของ “ไพร่” ผู้เข้าร่วมชุมนุมทางการเมืองภายใต้รัฐธรรมนูญจึงไม่ผูกพันการตีความของศาล เพราะมโนทัศน์การศึกษากฎหมายของพระบิดานั้นเป็นการแบ่งแยกการรับรู้ (the partition of the sensible) ระหว่างกฎหมายและความยุติธรรม ซึ่งมีความสุ่มเสี่ยงที่จะวิจารณ์อำนาจภายใต้ "พระปรมาภิไธย” คำพิพากษาจึงเป็นพื้นที่ของกฎหมาย/การเมือง ตลอดจนเป็นพื้นที่ของวัฒนธรรมการเมืองที่แข็งแกร่งที่สังคมไม่กล้าตั้งคำถาม/สงสัยกับความยุติธรรมในคำพิพากษาของศาล ดังนั้น คำพิพากษาจึงเปรียบดัง “รถถัง” ที่เต็มไปด้วยเทคโนโลยี่แห่งอำนาจที่ทำให้รัฐธรรมนูญกลายเป็น “ปืนเด็กเล่น” และเป็นเพียงจินตนาการถึงสิทธิอันสวยหรูที่ไม่เป็นจริง ดังนั้น ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของ “ไพร่” ผู้เข้าร่วมชุมนุมทางการเมืองในปี พ.ศ.2553 จึงไม่ได้รับการคุ้มครอง ในทางตรงกันข้ามกลับถูกละเมิดอย่างถูกกฎหมาย
This paper is a study of human dignity of the people who participated in political rallies of the National United Front of Democracy Against Dictatorship - NUFDD or "Phrai" (commoners). The rallies were dissolved under the Act of Administration under the State ofEmergency B.E.2548. The study founded that the results of the rally dissolution were wounded people or death and arrested people with the charge of terrorists. They were connected to 2 state services: public health and justice services. The non-respect for human dignity in the public health service arose from the different attitudes of the medical personnel from the protestors' attitudes. This was the cause of the wounded "Phrai" people to distrust in receiving the treatment. Besides, the non-respect for human dignity also appeared in the law enforcement. For example, the arrested people in the case of burning thecity hallofUbon Ratchathaniprovince on 19 May 2010. Their arrests violated the rule of law and the constitution. The Act of Administration under the State of Emergency B.E. 2548 had suspended some sections of the constitution, so the rights stated in the constitution were against the Act. Thus, law enforcement may be compared to toy guns that could not destroy the tank. The human dignity of "Phrai" who participated political rallies under the constitution did not relate to the court's interpretation, because the study of law inThailandis the partition of the sensible between law and justice. This made it is a risk to criticize the authority under the "royal title". Verdict is the space of law and politics, and the space of a strong political culture that the society dare not ask or suspect the justice in the court's verdict. So, the verdict is compared to "the tank" full of technology of power that made the constitution to be "toy guns", and only the imagination to the non-exist beautiful rights. Thus, human dignity of "Phrai" who participated in the political rallies of 2010 did not fall under the protection of law but violated by law.
Article Details
O ความคิดเห็นใดๆ ที่ลงตีพิมพ์ในวารสารนิติสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นของผู้เขียน (ความคิดเห็นใดๆ ของผู้เขียน กองบรรณาธิการวารสารนิติสังคมศาสตร์ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย)
O กองบรรณาธิการ CMU Journal of Law and Social Sciences ไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอกแต่ให้อ้างอิงแหล่งที่มาด้วย
References
ภาษาไทย
กฎหมายตราสามดวง. (2548). กรุงเทพฯ: สุขภาพใจ.
กมลวรรณ ชื่นชูใจ . (2553). "นิติรัฐ" ที่รุนแรง : วาทกรรมกฎหมายภายใต้สถานการณ์ "ฉุกเฉิน" การประชุมวิชาการรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์แห่งชาติ ครั้งที่ 11 มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มหาสารคาม: คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.เล่มที่ 1 หน้าที่ 115-132.
กมลวรรณ ชื่นชูใจ . (2556). "การเมืองใน(กฎ)หมายจับ : การบังคับใชกั้บคนชายขอบ". วารสารกฎหมายคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 6(2), หน้า61-86.
กมลวรรณ ชื่นชูใจ. (2549). การจับกุม "ชาวเขา" บ้านปางแดง อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท สาขาวิชาปกครอง คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
การสลายการชุมนุมที่สี่แยกราชประสงค์. (2555). แหล่งที่มา http://www.th.wikipedia.org (10 กรกฎาคม 2555)
คำประกาศแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี. (2554). ราชกิจจานุเบกษา, 128(87 ง),1.
คุณบุญธรรม ทองผุย ถูกยิงศรีษะเสียชีวิต 10 เมษายน 2553. (2557). แหล่งที่มาhttp://redmay19.wordpress.com/ (13 กรกฎาคม 2557).
จรัญ โฆษณานันท์. (2531). นิติปรัชญา. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
จรัญ โฆษณานันท์. สิทธิมนุษยชนไร้พรมแดน. กรุงเทพมหานคร: นิติธรรม.
ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร . (2554). สุนทรียศาสตร์กับการเมืองภาคประชาชน. กรุงเทพมหานคร: โครงการจัดพิมพ์และเผยแพร่ผลงานวิจัย คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร. (2550). Jacques Ranciere. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์สมมติ.
ทหารติดป้ายราชปรารภเขตกระสุนจริง. (2555). แหล่งที่มา http:/www.oknation.net/ blog (10 กรกฎาคม 2555).
ธงชัยย้ำอย่าตั้งความหวังสูงกับไอซีซี. (2557).แหล่งที่มา http://www.prachatai.com/journal/2012/0741342 (20 เมษายน 2557).
ปล่อยตัว 'เสี่ยปุ๊' หุ้นส่วนผับดัง-ศาลฎีกายกฟ้องคดีฆ่าฯ. (2557). แหล่งที่มา
http://www.thairath.co.th/content/432641 (25 กรกฎาคม 2557).
พระราชบัญญัติบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พุทธศักราช 2548 มาร์ค ตอบ คอป. กว่า 3 ชวั่ โมง ปัดสั่งใช้อาวุธสลายการชุมนุม แจงป้ายเขตกระสุนจริง แค่เตือนปปช.ไม่ให้ร่วม. (2555). แหล่งที่มา http://
www.matichon.com (10 กรกฎาคม 2555).
ย้อนคดีเผา 4 ศาลากลางอีสาน : ขยายปมร้อนโดย ศูนย์ข่าวภาคอีสาน. (2557). แหล่งที่มา http://www.komchadluek.net.
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
รำลึก 2 ปี น้องเฌอ ในเขตใช้กระสุนจริง. (2555). แหล่งที่มา http://www.active.voicetv.com (10 กรกฎาคม 2555).
รูปภาพสำหรับแพทย์พยาบาลร่วมชุมนุมกับ กปปส.(2557). แหล่งที่มา www.google.co.th (10 กรกฎาคม 2557).
วาด รวี (2554). วิกฤต 19-Crisis Nineteen. กรุงเทพฯ : ศรีปัญญา.
ศอฉ. ยอมรับ สลายกลุ่มผู้ชุมนุมตลาดไทและอนุสรณ์สถานฯว่าใช้กระสุนจริง. (2553). แหล่งที่มา http://www.news.sanook.com (10 กรกฎาคม 2553).
ศาลจังหวัดอุบลราชธานี. (2554). คำพิพากษา คดีหมายเลขแดงที่ 2321,2322/2554. อุบลราชธานี.
ศาลฎีกายกฟ้อง ปุ๊ วอร์มอัพ คดีฆ่ารัดคอแฟนสาว หลังถูกจำคุก 6 ปี. (2557). แหล่งที่มา http://pantip.com/topic/ (25 กรกฎาคม 2557).
ศาลอาญา พิพากษา 3 กกต. จำคุก 4 ปี โดยไม่รอลงอาญา และไม่ให้ประกันตัว. (2549, 25 กรกฎาคม). คมชัดลึก. แหล่งที่มา http://news.sanook.com/politic/0/politic_10841.php (10 กรกฎาคม 2557).
สุเทพ นำกองทัพเสื้อกาวน์ เดินขบวนชัตดาวน์กรุงเทพฯ. (2557). แหล่งที่มาhttp://news.truelife.com/detail/3070196 (10 กรกฎาคม 2557).
สุริยา สมุทคุปติ์. (2537). แม่หญิงต้องต่ำหูก: พัฒนาการของกระบวนการทอผ้าและการเปลี่ยนแปลงบทบาทของผู้หญิงในหมู่บ้านอีสานปัจจุบัน. นครราชสีมา: ห้องไทยศึกษานิทัศน์ สำนักวิชาเทคโนโลยีสังคม มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีสุรนารี.
เหวง ย้ำรัฐต้องเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน และสั่งหยุดยิง. (2553).แหล่งที่มา http://www.hilight.kapook.com (10 กรกฎาคม 2553).
อมรา พงศาพิชญ์. (2543). ระบบอุปถัมภ์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ภาษาอังกฤษ
Adelman, S. (2006). Critical Legal Study : The Power of Law. from http://www.nclg.mcmail.org.uk Retrieved January 20, 2006.
Altman, A. (1990). Critical Legal Study. New Jersy: Princeton University.
Derrida, J. (1992). Force of Low : The Mystical Foundation of Authority. 3-67 In Drucilla, Miche; 1992 Rosenfeld and Gray Carlson,eds.,
Deconstruction and the Possibility of Justice New York : Routledge, Chapman and Hill.
Dictionary ดู http://dictionary.sanook.com/ (10 กรกฎาคม 2557)
HRW เตือนรัฐบาลไทยอาจละเมิดสิทธิมนุษยชน. (2553). แหล่งที่มา http://
www.hilight.kapook.com (10 กรกฎาคม 2553).
สัมภาษณ์
คำปุ่น ศาลางาม. เหตุการณ์ที่เข้าร่วมชุมนุมกับแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ. กิ่งอำเภอศรีณรงค์ จังหวัดสุรินทร์;พฤษภาคม พ.ศ. 2555
ดวง วังสาลุน. เหตุการณ์ที่เข้าร่วมชุมนุมกับแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ.บ้านหนองสิม ตำบลหนองไฮ อำเภอสำโรง จังหวัด
อุบลราชธานี; วันที่ 13 พฤษภาคม 2557
ตำ เบ็ญมาศ. เหตุการณ์ที่เข้าร่วมชุมนุมกับแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ. บ้านไพรพัฒนา อำเภอภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ;วันที่ 12 พฤษภาคม 2555
ถวิล ขมสันเทียะ. เหตุการณ์ที่เข้าร่วมชุมนุมกับแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ. ตำบลหนองหอย กิ่งอำเภอพระทองคำ จังหวัดนครราชสีมา;วันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2555
ธนูศิลป์ ธนูทอง. เหตุการณ์ที่เข้าร่วมชุมนุมกับแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ. อำเภอศรีเมืองใหม่ จังหวัดอุบลราชธานี;วันที่ 15 พฤษภาคม 2555
นิด ธนูทอง (เด็กชาย,นามสมมติ). เหตุการณ์ที่เข้าร่วมชุมนุมกับแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ. อำ เภอศรีเมืองใหม่ จังหวัดอุบลราชธานี; วันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ.2555
บุญเหรียญ ลิลา. เหตุการณ์ที่เข้าร่วมชุมนุมกับแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ. บ้านโพธิ์ใหญ่ ตำบลโพธิ์ใหญ่ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี;วันที่ 15 พฤษภาคม 2555
ปรารถนา นะมี.เหตุการณ์ที่เข้าร่วมชุมนุมกับแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ. อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี;วันที่ 15 พฤษภาคม 2555
พา พรหมโสภา. เหตุการณ์ที่เข้าร่วมชุมนุมกับแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ.อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี;วันที่ 23 มีนาคม 2555
พิชัย (นามสมมติ). เหตุการณ์ที่เข้าร่วมชุมนุมกับแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ. สมาชิกกลุ่มชักธงรบ บ้านเลขที่ 1 ถนนพิชิตรังสรรค์ อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี;พฤษภาคม พ.ศ.2557
พิเชษฐ์ ทาบุดดา.เหตุการณ์ที่เข้าร่วมชุมนุมกับแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ. แกนนำกลุ่มชักธงรบ บ้านเลขที่ 1 ถนนพิชิตรังสรรค์ อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี;วันที่ 23 พฤษภาคม 2555 และ วันที่ 8 เมษายน 2557
ยุพนิ ศรียะกุล. เหตุการณ์ที่เข้าร่วมชุมนุมกับแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ.กรุงเทพมหานคร: สัมภาษณ์เมื่อ 13 พฤษภาคม 2555
ราตรี (นามสมมติ).เหตุการณ์ที่เข้าร่วมชุมนุมกับแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ.สมาชิกกลุ่มชักธงรบ อำเภอตาลสุม จังหวัดอุบลราชธานี; วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2557
ลา ศาลางาม.เหตุการณ์ที่เข้าร่วมชุมนุมกับแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ.กิ่งอำเภอศรีณรงค์ จังหวัดสุรินทร์;พฤษภาคม พ.ศ. 2555
วาสนา มาบุตร.เหตุการณ์ที่เข้าร่วมชุมนุมกับแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ. สมาชิกกลุ่มชักธงรบ บ้านเลขที่ 1 ถนนพิชิตรังสรรค์ อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี;พฤษภาคม 2555
สมจิตร สุทธิพันธ์.เหตุการณ์ที่เข้าร่วมชุมนุมกับแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ.อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี;วันที่ 2 พฤษภาคม 2555
สมหมาย (นามสมมติ).เหตุการณ์ที่เข้าร่วมชุมนุมกับแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ.นปช.สิรินธร อำเภอสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี; วันที่ 25 พฤษภาคม 2555
สมาชิก นปช.ผู้ไม่ประสงค์เปิดเผยนาม,เหตุการณ์ที่เข้าร่วมชุมนุมกับแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ.อำ เภอสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี;วันที่ 24 พฤษภาคม 2555
สัมพันธ์ สิงห์นอก.เหตุการณ์ที่เข้าร่วมชุมนุมกับแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ.ตำบลหินโงม อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ; วันที่ 20 มิถุนายน 2555
สุภาวณีย์ อมรจิตสุวรรณ.เหตุการณ์ที่เข้าร่วมชุมนุมกับแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ.อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี;วันที่ 25 กรกฎาคม 2557
สุวรรณี พุฒล่า เหตุการณ์ที่เข้าร่วมชุมนุมกับแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ.อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์;วันที่ 2 พฤษภาคม 2555