บทวิเคราะห์เปรียบเทียบระบบกฎหมายและเสรีภาพในการชุมนุมของ 5 ประเทศ

Main Article Content

สมชาย ปรีชาศิลปกุล

บทคัดย่อ

เสรีภาพในการชุมนุมถือเป็นหลักการพื้นฐานที่สำคัญประการหนึ่งสำหรับการปกครองในรูปแบบประชาธิปไตย โดยแต่ละประเทศที่ยึดถือแนวคิดเสรีประชาธิปไตยต่างก็ได้ยอมรับให้การชุมนุมให้เป็นเสรีภาพประการหนึ่งในระบบกฎหมายของตน ซึ่งอาจมีการรับรองอยู่ในรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ หรือกฎหมายอื่นๆ รวมทั้งในกฎหมายระหว่างประเทศที่สำคัญหลายฉบับก็ได้รับรองถึงเสรีภาพในการชุมนุมไว้อย่างชัดเจนว่าเป็นสิ่งที่ต้องได้รับการเคารพ อย่างไรก็ตาม เสรีภาพในการชุมนุมก็ย่อมมีขอบเขตและข้อจำกัดเช่นเดียวกันกับเสรีภาพด้านอื่นๆ แต่การจะจัดวางเสรีภาพในการชุมนุมกับสังคมส่วนรวมนั้นก็เป็นประเด็นที่มีความยากลำบากไม่น้อย เนื่องจากการนิยามความหมาย ขอบเขตและการจำกัดเสรีภาพของการชุมนุมเป็นประเด็นที่มีแง่มุมต่างๆ เข้ามาพิจารณาประกอบอย่างกว้างขวาง เพื่อให้เกิดการรับรองเสรีภาพในการชุมนุมเกิดขึ้นโดยที่ยังคงคำนึงถึงสิทธิและเสรีภาพของประชาชนกลุ่มอื่นๆ และผลประโยชน์ของสังคมโดยรวมควบคู่กันไป

บทความนี้จะทำการวิเคราะห์เปรียบเทียบถึงรูปแบบการรับรองและการจำกัดเสรีภาพในการชุมนุมของ 5 ประเทศ คือ ฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น เกาหลีใต้และไทย

 

            Freedom of assembly is one of the fundamental principles in democracy. In democratic countries, freedom of assembly is guaranteed either by Constitution or law as well as by international agreements. However, exercise of freedom of assembly is also subject to condition and limitation. Designing the regime of freedom of assembly, either in term of definition, sphere of application and limitation, does not go without difficulty. Many factors have to be taken into account in order to conciliate freedom of assembly with rights and liberties of others as well as public interest.

            This article will examine the regime of freedom of assembly in five countries which are France, Unites States of America, Japan, South Korea and Thailand.

Article Details

บท
บทความวิจัย